กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
10 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ปรากฎการณ์ของชีวิต(จบ)




    ในทางพระพุทธศาสนาแสดงว่า ความเป็นไปของชีวิตทั้งในทางลบและในทางบวก คือ ทั้งทุกข์และสุขของชีวิตเกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัย  และพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุปัจจัยของทุกข์และสุขของชีวิตมนุษย์ให้เห็นทั้งกระบวนการ เริ่มแต่องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ ไปจนกระทั่งถึงกระบวนการของการดับทุกข์ของชีวิต ธาตุวิภังคสูตร (ม.อุ. 14/678 - 681/436) ดังนี้

๑) มนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖
๒) มนุษย์มีอายตนะ ๖
๓) มนุษย์มีแดนคิด (มโนปวิจาร) ๑๘
๔) กระบวนการเกิดและดับทุกข์ของชีวิต คือ อริยสัจ ๔


227 มนุษย์ประกอบด้วยธาตุ ๖ คือ
- ปฐวีธาตุ
- อาโปธาตุ
- เตโชธาตุ
- วาโยธาตุ
- อากาสธาตุ
- วิญญาณธาตุ


231 มนุษย์มีอายตนะ คือ ประสาทสัมผัส ๖ คือ
- จักขวายตนะ
- โสตายตนะ
- ฆานายตนะ
- ชิวหายตนะ
- กายายตนะ
- มนายตนะ


231มนุษย์มีแดนคิด ๑๘ คือ

คิดเรื่อง
- รูป
- สัททะ
- คันธะ
- รสะ
- โผฏฐัพพะ
- ธัมมะ.    ด้วย = > โสมนัส    โทมนัส    อุเบกขา     6x3 = 18


227ทุกข์ของชีวิต (ทุกขอริยสัจ) คือ
- ชาติ
- ชรา
- มรณะ
- โสกะ
- ปริเทวะ
- ทุกข์
- โทมนัส
- อุปายาส
- อัปปิยสัมปโยค
- ปิยวิปโยค
- นลภติทุกข์
- โดยรวบยอด คือ ปัญจุปาทานขันธทุกข์

231กระบวนการเกิดขึ้นของทุกทั้งมวล (ทุกขสมุทัยอริยสัจ) คือ
- อวิชชา
- สังขาร
- วิญญาณ
- นามรูป
- สฬายตนะ
- ผัสสะ
- เวทนา
- ตัณหา
- อุปาทาน
- ภพ (ภว)
- ชาติ
- ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

227กระบวนการดับทุกข์ทั้งมวล (ทุกขนิโรธอริยสัจ) คือ
- อวิชชาดับ
- สังขารดับ
- วิญญาณดับ
- นามรูปดับ
- สฬายตนะดับ
- ผัสสะดับ
- เวทนาดับ
- ตัณหาดับ
- อุปาทานดับ
- ภพดับ
- ชาติดับ
- ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ดับ

227แนวทางเพื่อความดับทุกข์   (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)   คือ มรรคมีองค์ ๘
- สัมมาทิฏฐิ
- สัมมาสังกัปปะ
- สัมมาวาจา
- สัมมากัมมันตะ
- สัมมาอาชีวะ
- สัมมาวายามะ
- สัมมาสติ
- สัมมาสมาธิ   (ติตถสูตร - องฺ.ติก.20/501/228)


  และในติตถสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นความเกี่ยวโยงกันขององค์ประกอบของชีวิตทั้ง ๔ อย่างว่า เป็นกระบวนการให้เกิดทุกข์ขึ้นได้อย่างไร ดังนี้

   เมื่อธาตุ ๖ ประกอบกันเข้า จึงมีการตั้งครรภ์ (คือการเริ่มต้นของชีวิต)
เมื่อมีการตั้งครรภ์   นามรูป   (หน่วยชีวิต)   ย่อมมี
เพราะมีนามรูป   จึงมีอายตนะ ๖
เพราะมีอายตนะ ๖ จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะ   จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนา  จึงมีกระบวนการอริยสัจสี่  (คือการเกิด การดับ ของทุกข์)  (องฺ.ติก.20/501/227)


    จากพุทธพจน์ในติตถสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า สุขทุกข์ของชีวิตนั้น มิได้เป็นผลของกรรมเก่า หรือ การบันดาลของพระเจ้า หรือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร้เหตุปัจจัย ดังที่ลัทธิศาสนาต่างๆ เชื่อถือกันดังกล่าวมาแล้ว   แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุปัจจัยที่อาศัยกัน หรือ เกี่ยวโยงกันอย่างเป็นกระบวนการ และกระบวนการก็เริ่มขึ้นและจบลงที่ชีวิตของแต่ละคนนั้นเอง  กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์ดังกล่าวนี้   พระพุทธศาสนาเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีความหมายเป็นกลางๆ ว่า การอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น และการอาศัยซึ่งกันและกันดับไปของสิ่งทั้งปวง  เมื่อนำเอากระบวนการปฏิจจสมุปบาทไปอธิบายกระบวนการเกิด และกระบวนการดับของทุกข์ ท่านเรียกว่า อริยสัจสี่ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เห็นในติตถสูตรนี้เป็นตัวอย่าง

   กล่าวโดยสรุปก็คือ    พระพุทธศาสนาถือว่า   ที่มาของความสุขหรือความทุกข์ของชีวิตนั้นก็คือตัวชีวิตนั้นเอง   ไม่ใช่มาจากการกำหนด หรือ การบันดาลจากสิ่งภายนอกใด ๆ เพราะชีวิตมีลักษณะของทุกข์ติดมาตั้งแต่เกิดแล้ว   ฉะนั้น    ถ้าไม่รู้จักบริหารชีวิตให้ดี ไม่รู้จักวิธีแก้ทุกข์อย่างถูกต้องแล้ว ชีวิตก็จะมีทุกข์มากยิ่งขึ้น   แต่ถ้ารู้จักบริหารชีวิตให้ดี   รู้จักวิธีแก้ทุกข์อย่างถูกต้อง ก็สามารถมีชีวิตอยู่อย่างมีทุกข์น้อยลงจนถึงไม่มีทุกข์เลยก็ได้

 


 
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท   ผู้นั้น  เห็นธรรม  ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้น  เห็นปฏิจจสมุปบาท  (ม.มู.12/346/359)




สงสัย  450
 
ทำไมศาสนาพุทธต้องให้ความสำคัญกับความทุกข์ด้วยครับ เพราะมันก็เป็นสิ่งชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ผ่านไป

ความทุกข์ก็ต้องตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือมันเป็นของชั่วคราว คงอยู่ถาวรไม่ได้ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แต่ทำไมศาสนาพุทธถึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความทุกข์ครับ ว่าทำอย่างไรจึงต้องพ้นทุกข์

การที่ธรรมชาติ ออกแบบความทุกข์ให้มันตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ผมว่าเป็นการออกแบบที่ฉลาดมากๆเลย ทำให้เกิดสมดุลย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตรวมถึงสัตว์มนุษย์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ธรรมชาติออกแบบมาแบบนี้มันยังไม่ดีพอหรอครับ?


https://pantip.com/topic/41421142

ที่มนุษย์เป็นทุกข์จากกฎธรรมชาติ  เพราะเขาไม่รู้จักธรรมชาติ   ต่อเมื่อเขาเข้าใจรู้จักมันแล้วก็รู้จักวางใจก็จึงไม่ทุกข์ไปกับมัน  พูดสั้นๆด้วยภาษาสมมติก็ว่า "มนุษย์ไม่รู้จักตัวของตัวเอง"

แนวความรู้ความเข้าใจกฎธรรมชาติ

 
   สังขารุเปกขาญาณ     ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป  ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า  มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย    แต่นั้น   ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน   เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย
ญาณข้อนี้   จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค  อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร


https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=06&group=1&gblog=12


 




 

Create Date : 10 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2565 19:02:59 น.
Counter : 434 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space