กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
6 พฤษภาคม 2565
space
space
space

กำเนิดชีวิต(ต่อ)




   อรรถกถาของสังยุตตนิกาย (สารัตถปกาสินี) ได้ขยายความเกี่ยวกับขั้นตอนของพัฒนาการของชีวิตในช่วงแรกเกิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า

   ชีวิตเมื่อแรกปฏิสนธิ หรือแรกก่อกำเนิดขึ้น มีลักษณะเหมือนหยาดน้ำมันใสๆ ที่ติดอยู่ที่ปลายขนแกะแรกเกิด เรียกว่า กลละ

สัปดาห์ที่ ๒ กลละนั้น เปลี่ยนสภาพเป็นข้นขึ้น และมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า อัพพุทะ

สัปดาห์ที่ ๓ อัพพุทะนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นข้นยิ่งขึ้นและมีสีคล้ายดีบุกเหลว เรียกว่า เปสิ

สัปดาห์ที่ ๔ เปสินั้นเปลี่ยนสภาพเป็นก้อนเนื้อที่มีขนาดเท่าไข่ไก่ เรียกว่า ฆนะ

สัปดาห์ที่ ๕ ฆนะนั้นเกิดเป็นปุ่มขึ้น ๕ ปุ่ม เรียกว่า ปัญจสาขา และปุ่มทั้ง ๕ นี้เองที่พัฒนามาเป็น ศีรษะ และ ๒ มือ ๒ เท้า (สารตฺถ. ปฐม. 406-407)

   ในคัมภีร์อภิธรรมได้ให้รายละเอียดของพัฒนาการของชีวิตในครรภ์มารดา ต่อไปว่า

สัปดาห์ที่ ๗ เกิดจักษุประสาท   (จักขุทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๘ เกิดโสตประสาท    (โสตทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๙ เกิดฆานะประสาท  (ฆานทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๑๐ เกิดชิวหาประสาท  (ชิวหาทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๑๑ เกิดกายประสาท    (กายทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๑๒ เกิดเพศ    (ภาวทสกะ)
สัปดาห์ที่ ๑๓ เกิดหัวใจ   (วัตถุทสกะ)  (วิภาวินี.302)

  พัฒนาการของชีวิตในครรภ์มารดานับแต่แรกปฏิสนธินั้น   พระพุทธศาสนาแสดงว่า เป็นไปตามอิทธิพลของกรรมบ้าง จิตบ้าง ฤดู (อุตุ) บ้าง อาหารบ้าง (วิภาวินี. 265) ที่เรียกว่า สมุฏฐานของรูป กล่าวคือ

  องค์ประกอบของชีวิต
- บางอย่างเกิดจากอิทธิพลของกรรม
- บางอย่างเกิดจากอิทธิพลของจิต
- บางอย่างเกิดจากอิทธิพลของอุตุ
- บางอย่างเกิดจากอิทธิพลของอาหาร

  กระบวนการของพัฒนาการดังกล่าวนี้ ดำเนินไปตลอดอายุของมนุษย์ เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปไม่ขาดสาย หรือเปลวไฟที่ลุกติดต่อกันเรื่อยไป

  ที่ท่านเปรียบชีวิตมนุษย์ว่าเหมือนกระแสน้ำ หรือเปลวไฟก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเจริญเติบโตของชีวิตทั้งในทางรูปธรรม และทางนามธรรมนั้น คือ กระบวนการเกิด - ดับ ๆ ของรูปธรรม และนามธรรมต่อเนื่องกันไป   ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงที่สุดคือ ตาย นั่นเอง

  ในคัมภีร์อภิธรรมได้แสดงไว้อย่างละเอียดว่า   ส่วนใดของชีวิตเกิดจากอิทธิพลของกรรม ของจิต ของอุตุ และของอาหาร (วิภาวินี.262) ดังนี้

- อินทรียรูป (๘) และหทัยรูป เกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของกรรม

- วิญญัตติรูป (๒) เกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของอุตุ

- สัททรูป (เสียง) เกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของจิตและอุตุ

- วิการรูป (๓) เกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของจิต อุตุ และอากาศ

- อวินิพโภครูป (๘) และอาหารรูป เกิดขึ้นด้วยอิทธิพลของ กรรม จิต อุตุ และ อาหาร

- ลักขณะรูป ไม่เกิดจากสมุฏฐานใดๆ

 227ที่เรียกว่า   อินทรียรูป   ได้แก่
- จักขุนทรีย์
- โสตินทรีย์
- ฆานินทรีย์
- ชิวหินทรีย์
- กายินทรีย์
- อิตถินทรีย์
- ปุริสินทรีย์
- ชีวิตินทรีย์

231วิญญัตติรูป
- กายวิญญัตติ
- วจีวิญญัตติ

231วิการรูป
- ลหุตา
- มุทุตา
- กัมมัญญตา  (ทั้ง ๕ นี้ รวมเรียกว่า วิการรูป)

231อวินิพโภครูป (รูปที่ไม่แยกจากกัน) มี ๘
- ปฐวีธาตุ
- อาโปธาตุ
- เตโชธาตุ
- วาโยธาตุ
- วัณณะ
- คันธะ
- รสะ
- โอชะ

 


Create Date : 06 พฤษภาคม 2565
Last Update : 6 พฤษภาคม 2565 17:37:58 น. 0 comments
Counter : 139 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space