กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
19 พฤษภาคม 2565
space
space
space

รูป หรือสสาร คือ อะไร(ต่อ)



   สถานะแรกของสสาร   คัมภีร์พระพุทธศาสนาได้แสดงลักษณะของธาตุ ๔ ให้ละเอียดออกไปว่า

- ปฐวีธาตุ   มีลักษณะหยาบหรือแข็ง เป็นที่อาศัยของธาตุอื่น  เป็นที่รองรับธาตุอื่นไว้

- อาโปธาตุ   มีลักษณะเหลว ไหล ซึมซาบ ช่วยทำให้ธาตุอื่นพอกพูนขึ้น และเป็นตัวยึดเกาะธาตุอื่นไว้ด้วยกัน

- เตโชธาตุ   มีลักษณะร้อน  ทำให้เกิดการย่อยสลาย และรักษาสภาพของวัตถุนั้นๆ มิให้เสีย

- วาโยธาตุ  มีลักษณะอุ้มหรือพยุงธาตุอื่นไว้  ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว และทำให้ปรากฏอาการต่างๆ ในวัตถุ (วิสุทธิ.ทุติย.189)

   จากความหมายของธาตุทั้ง ๔ ดังกล่าวนี้  แสดงให้เห็นว่า ธาตุเหล่านี้  มิใช่ตัววัตถุเช่นดินหรือน้ำ  แต่เป็นภาวะซึ่งเทียบได้กับพลังหรือพลังงานที่ก่อให้เกิดเป็นวัตถุเช่นดินหรือน้ำขึ้นอีกทีหนึ่ง ฉะนั้น พระพุทธศาสนา จึงเรียกธาตุเหล่านี้ว่าภาวะ (วิสุทธิ.ทุติย.169)  คือ

ปฐวีธาตุ
ถัทธภาวะ   (ภาวะแข็ง)
ชรภาวะ     (ภาวะกระด้าง)

อาโปธาตุ
อาพันธนภาวะ   (ภาวะยึดเกาะ)
ทรวภาวะ    (ภาวะซึมซาบ)

เตโชธาตุ
ปริปาจนภาวะ   (ภาวะเผาไหม้)
อุณหภาวะ    (ภาวะร้อน)

วาโยธาตุ
วิตถัมภนภาวะ   (ภาวะพยุงไว้)
สมุทีรณภาวะ    (ภาวะเพิ่มพูนขึ้น)

  และภาวะเหล่านี้ เรียกได้ว่า เป็นสถานะแรกของสสาร ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา

  ธาตุเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาธรรมดา   เนื่องจากธาตุเหล่านี้เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก จึงมองไม่เห็นด้วยตาธรรมดา   พระพุทธศาสนาแสดงว่า เรารู้จักธาตุเหล่านี้ได้ก็ด้วยตาทิพย์หรือญาณเท่านั้น (ปรมตฺถมญฺชุสา ตติย. 181)   จากข้อความนี้   ก็หมายความว่า สสารในภาวะแรกสุดนั้น อยู่ในรูปของพลังหรือพลังงาน ซึ่งเราไม่สามารถจะเห็นได้ด้วยตาธรรมดา  พระพุทธศาสนาได้ความรู้เรื่องสสารดังกล่าวนี้มาด้วยญาณหรือตาทิพย์   ผู้ที่มีญาณหรือตาทิพย์เท่านั้น  จึงจะรู้เรื่องสสารได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง (ยถาภูตํ ปชานาติ)


   ในบางคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างธาตุทั้ง ๔ หรือสสารขั้นมูลฐานทั้ง ๔ ชนิดนี้อีกว่า ธาตุ ๓ ชนิด คือ ปฐวี เตโช วาโย เราสามารถสัมผัสได้ หรือรับรู้ได้ด้วยสัมผัส   แต่อาโปธาตุเราไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยสัมผัส   แต่รู้ได้ด้วยเหตุผล หรือด้วยการอนุมานเอา (วิภาวินี. 272)  ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมอธิบายว่า อาโปธาตุเป็นธาตุประเภทธรรมธาตุ และจัดเป็นรูปประเภทสุขุมรูป คือ สสารละเอียด (อภิ.แปล.77/253,262)  ปฐวี เตโช วาโย เป็นธาตุที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
 


Create Date : 19 พฤษภาคม 2565
Last Update : 20 พฤษภาคม 2565 8:12:45 น. 0 comments
Counter : 144 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space