กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
17 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความรู้ที่ประสงค์ในพุทธศาสนา(จบ)




   พระพุทธศาสนาถือว่า สุดยอดของความรู้คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นทุกข์ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรหนึ่งว่า   "พรหมจรรย์นี้ ... มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์...มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์... แต่มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบเป็นประโยชน์เป็นสาระเป็นผลสุดท้าย" (ม.มู. 12/352/373)

   และในอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวไว้ตรงๆว่า

   สุดยอดของปัญญา คือ ความรู้ในความสิ้นทุกข์ (ปรมา อริยา ปญฺญา ยทิทํ สพฺพทุกฺขขเย ญาณํ)(ม.อุ.14/692/445)

   ตามความในพุทธพจน์ที่กล่าวข้างต้น   แสดงให้เห็นว่า แม้การรู้ความจริงตามเป็นจริง หรือ อย่างถูกต้อง ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ขั้นวิสามัญ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ นั้น พระพุทธศาสนาก็ยังถือว่ามิใช่ความรู้ขั้นสุดท้าย หรือ ความรู้สูงสุด แต่ก็เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่ความรู้ขั้นสุดท้าย คือ สัพพทุกขขยญาณ ซึ่งถือว่าเป็นความรู้สุดยอด คือ ปรมอริยปัญญา


  ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ รู้ถึงสภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติ มิใช่เป็นเพียงการรู้ปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นเสมือนเงาหรือภาพลวงตาของธรรมชาติเท่านั้น  ฉะนั้น การรู้สภาวะอันแท้จริงของธรรมชาติจึงต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษไปกว่าประสาทสัมผัสธรรมดาของมนุษย์ นั่นคือ ญาณ และญาณที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้สภาวะธรรมชาติได้อย่างถูกต้องนั้น ก็มิใช่เพียงญาณทัสสนะเท่านั้น  แต่ต้องเป็นญาณประเภท ยถาภูตญาณทัสสะ จึงจะนำไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายของความรู้ คือ สัพพทุกขขยญาณ หรือ วิมุตติญาณทัสสะ ได้

   จึงเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของความรู้ที่แท้จริง หรือ ความรู้ที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา ก็คือ เมื่อเกิดความรู้ขึ้น ความชั่วย่อมลดลง หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ยิ่งรู้มากเท่าไร ความชั่วยิ่งลดลงมากเท่านั้น   ฉะนั้น   ความรู้ตามนัยของพระพุทธศาสนา  จึงมิใช่เพียงการรู้เพื่อรู้  แต่เป็นการรู้เพื่อลดละกิเลส นั่นคือ เกิดความรู้ที่แท้จริงในสิ่งใด   ย่อมลดละกิเลสในสิ่งนั้นได้

   ฉะนั้น "ความลดละกิเลสได้" จึงอาจถือได้ว่าเป็นมาตรการสูงสุดสำหรับพิสูจน์ "ความจริง" หรือ "ความถูกต้อง" ของความรู้ในเรื่องนั้นๆ

 




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 17 พฤษภาคม 2565 17:52:37 น.
Counter : 214 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space