กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
12 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ชีวิตกับความตาย





170ชีวิตกับความตาย

   ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในคำสอนเรื่องของชีวิตของพุทธศาสนา คือ เรื่องความตาย ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับมนุษย์ และมนุษย์ส่วนใหญ่มองความตายว่าเป็นสิ่งน่ากลัว กระทั่งถือว่าความตายเป็นสิ่งที่ไม่ควรคิดไม่ควรพูดถึง เพราะความตายหมายถึงจุดจบหรือความสิ้นสุดของชีวิต   แต่พระพุทธศาสนากลับสอนให้รู้จักความตาย   สอนให้คิดถึงความตายไว้เสมอ และที่สำคัญคือสอนให้รู้จักวิธีที่จะทำให้ไม่ต้องตายอีกต่อไป

   พระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นว่า ความตายเป็นความจริงอย่างหนึ่งของชีวิต เรียกว่า ทุกขอริยสัจจ์ ความตายเป็นการเปลี่ยนแปลงช่วงหนึ่งของชีวิต เรียกว่า อนิจจัง และความตายไม่ใช่ความสิ้นสุดหรือจุดจบของชีวิต แต่เป็นเพียงจุดต่อระหว่างชีวิตหนึ่ง กับ อีกชีวิตหนึ่งเท่านั้น โดยชายแดนของชีวิตปัจจุบันคือจุติจิต และชายแดนของชีวิตใหม่คือปฏิสนธิจิต แล้วชีวิตก็เดินหน้าต่อไปเช่นเดิม นั่นคือมนุษย์ตายแล้วก็เกิดอีก จนกว่ามนุษย์จะทำให้ตัณหาอันเป็นเหมือนสายใยที่ทำให้กระแสชีวิตไม่รู้จบขาดสะบั้น หรือ หมดสิ้นไปเท่านั้น  ชีวิตจึงจะสิ้นสุดหรือดับ จุดจบหรือจุดดับของชีวิตก็คือ ภาวะนิพพาน (อนุปาทิเสสนิพพาน) ซึ่งจะเรียกว่าจุดจบของความตายก็น่าจะได้ เพราะเมื่อถึงภาวะนิพพานแล้ว  พระพุทธศาสนา เรียกว่า ถึงอมตธรรมหรือถึงภาวะอมตะ หรือ ภาวะที่ไม่ต้องตายอีกต่อไป ทั้งนี้ เพราะไม่มีการเกิดอีก


   พระพุทธศาสนากล่าวถึงความตายด้วยคำหลายคือ คือ

- จุติ   ความเคลื่อน (จากโลกนี้)

- เภทะ   ความทำลาย

- อันตรธานะ   ความอันตรธาน (คือหายไป)

- มัจจุ   ความตาย

- มรณะ   ความตาย

- กาลกิริยา   ทำกาละ

- ชีวิตินทรียอุปัจเฉทะ   ความขาดไปของชีวิตินทรีย์

- กเฬวรนิกเขปะ   การทิ้งร่างไปหรือการทิ้งร่างให้เป็นศพ  (สํ.นิ.16/120/68)

   คำเหล่านี้ แสดงความหมายของปรากฏการณ์ของชีวิตที่เรียกว่า ตาย ว่าเราเรียกได้หลายอย่าง หรือมองได้หลายแง่มุม

   ส่วนคำที่แสดงถึงความตายพร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความตายที่ชัดเจนในคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ

- ขนฺธานํ เภโท   ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายซึ่งหมายถึงขันธ์ ๕

- กายสฺส เภทา   ความแตกของกาย (คือที่รวมหรือประชุมแห่งธาตุ ๖)   (สํ.นิ.16/120/68. ที.ม.20/295/341)

   จากพุทธพจน์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความตาย เป็นเพียงการแยกกันหรือความแตกออกจากกันของสิ่ง (คือ ธาตุ ๖ = ปฐวี อาโป เตโช วาโย อากาส วิญญาณ) ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน (คือกาย) หรือเป็นกอง (คือขันธ์) เท่านั้น   ทั้งนี้   เพราะพระพุทธองค์พบว่า สิ่งที่เราเรียกว่า สัตว์ ก็ดี มนุษย์ ก็ดี นั้น เป็นเพียงกลุ่มก้อนหรือกองธาตุ (คือสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา หรือ ตามธรรมชาติของมัน) ๖ อย่างเท่านั้น   เมื่อธาตุเหล่านี้มารวมกันในลักษณะที่เรียกว่า กาย หรือ ขันธ์ ๕ ก็ปรากฏเป็นมนุษย์หรือสัตว์ขึ้น   เมื่อกายหรือขันธ์ ๕ นี้   แยกหรือแตกจากกัน มนุษย์หรือสัตว์ก็หายไป เพราะฉะนั้น การตาย การเกิดของสัตว์หรือมนุษย์ จึงเป็นเพียงการกระบวนแยกกัน และรวมกันของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดาหรือธรรมชาติหรือธาตุทั้งหลายเท่านั้น  ดังที่ท่านแสดงไว้ในบางพระสูตรว่า "นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ"  (สํ.ส.15/554/199)


   ฉะนั้น   ในคำสอนของพระพุทธศาสนา  คำว่า  สัตว์เกิดสัตว์ตาย หรือว่ามนุษย์เกิด มนุษย์ตาย จึงเป็นเพียงคำสมมติ หรือภาษาของชาวโลกเท่านั้น   ในความเป็นจริงการเกิดการตายเป็นเพียงกระบวนการรวมกันกระบวนการแยกกัน ของธาตุทั้งหลายเท่านั้น   แต่พระพุทธองค์ก็จำเป็นต้องใช้คำว่า เกิด - ตาย ตามภาษาของชาวโลก  เพื่อสื่อความหมายในเบื้องต้นกับชาวโลก และเพื่อเป็นฐานของการพัฒนาไปสู่ปัญญา หรือ ความรู้ขั้นสูงต่อไป


   ในมหาเวทัลลสูตรได้แสดงกระบวนการตายหรือกระบวนการแตกดับของกายไว้ว่า เริ่มจากกายสังขารดับ วจีสังขารดับ จิตตสังขารดับ อายุสิ้น ไออุ่นระงับ อินทรีย์ทั้งหลายแตกกระจาย (ม.มู.12/502/542)

   ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้ขยายความต่อไปว่า  คนที่จวนจะตาย  ร่างกายจะซูบซีดไปโดยลำดับ อินทรีย์ทั้งหลาย คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา จะดับไปตามลำดับ  กายินทรีย์  มนินทรีย์ และชีวิตินทรีย์จะคงเหลืออยู่เฉพาะในหทัยวัตถุ  วิญญาณที่อาศัยอยู่ในหทัยวัตถุนั้นจะปรารภถึงครุกรรมบ้าง อาสันนกรรมบ้าง บุพพกตกรรมบ้าง  อย่างไรอย่างหนึ่ง และกรรมนิมิต คือ คดีนิมิตก็จะมาปรากฏต่อวิญญาณนั้น   จากนั้น   สังขารและตัณหาก็จะช่วยกันซัดหรือโยนวิญญาณนั้นจากที่อาศัย (คือหทัยวัตถุ)   ในโลกนี้  ไปสู่ที่อาศัยใหม่ที่กรรมสร้างขึ้นใหม่   ดุจคนที่โหนเชือก  ซึ่งผูกกับต้นไม้ไว้ที่ฝั่งนี้โยนตัวข้ามคลองไปสู่ฝั่งโน้น  ฉะนั้น  (วิสุทธิ. แปล.3/1/315)


  ตราบใดที่ปัจจัยหรือสาเหตุคือ สังขาร ได้แก่ บุญ บาป และกิเลส คือ ตัณหายังมีอยู่ กระบวนการตาย - เกิด ของชีวิตหรือสัตว์ หรือ กระบวนการแยกกัน - รวมกัน ของธาตุทั้งหลายก็ยังคงดำเนินไปเช่นนี้เรื่อยไปไม่มีที่สุด   ต่อเมื่อมนุษย์พัฒนาตนเองไปตามกระแสธรรมจนรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต หรือ ขันธ์ ๕ วิชชา หรือ ความรู้เห็นตามจริงเกิดขึ้น อวิชชา คือ ความรู้ผิดรู้ไม่จริง หรือ ความไม่รู้หายไป    กิเลสอันเป็นผลิตผลของอวิชชาก็หมดไปจากจิต   เรียกว่า   บรรลุถึงภาวะนิพพาน หรือ เรียกว่า เป็นพระอรหันต์  กระบวนการตาย - เกิดจึงยุติเพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะทำให้มีการเกิดอีก   เมื่ออัตภาพหรือชีวิตนี้สิ้นสุดลง   ที่เรียกว่า ตาย   ซึ่งหมายถึงจิตดวงสุดท้าย คือ จุติจิตดับ จิตก็ดับ ชีวิตก็ดับ (วิสุทธิ.แปล.3/1/65)
 





 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 12 พฤษภาคม 2565 18:47:47 น.
Counter : 281 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space