กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
6 พฤษภาคม 2565
space
space
space

กำเนิดชีวิต(ต่อ)

   จากคำอธิบายเกี่ยวกับการก่อกำเนิดของชีวิตในด้านต่างๆ ดังกล่าวมา จึงสรุปได้ว่า ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา   ชีวิตมนุษย์ก่อกำเนิดขึ้นภายใต้สาเหตุสำคัญ หรือสมุฏฐาน ๔ อย่าง คือ
- กรรม
- จิต
- อุตุ
- อาหาร

   ซึ่งโดยใจความก็คือ สาเหตุทางวัตถุหรือสสาร และสาเหตุทางจิต หรืออสสาร  สมุฏฐานเหล่านี้ พุทธศาสนาก็มิได้ถือว่า เป็นปฐมเหตุ หรือ เป็นผู้สร้างชีวิต แต่เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่งๆ ที่มารวมกันเข้า แล้วก่อให้เกิดเป็นชีวิตขึ้นเท่านั้น และบรรรดาองค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติของมัน   แต่เมื่อมารวมกันด้วยจำนวน หรือปริมาณต่างๆ กัน ก็ปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ ขึ้นเท่านั้น เมื่อองค์ประกอบเหล่านั้นแยกกัน  ก็กลับไปเป็นสภาพเดิมขององค์ประกอบนั้นๆ อีก  ความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ในโลกรวมทั้งชีวิตด้วย  จึงเป็นเพียงกระบวนการของการรวมกัน และการแยกกันของสิ่งที่มีอยู่แล้ว (ที่เรียกว่าธาตุ) เท่านั้น  ฉะนั้น   สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ จึงไม่มีอะไรใหม่ และไม่มีอะไรเก่า มีแต่สิ่งที่รวมตัวขึ้นใหม่แล้วก็แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ที่สุดก็แยกตัวกัน หรือ สลาย แล้วก็กลับรวมตัวกันขึ้นใหม่อีกตามอิทธิพลของสมุฏฐาน หรือ เหตุปัจจัยเท่านั้น


   สำหรับชีวิตมนุษย์นั้น   ก็กล่าวได้ว่า คือ กลุ่มธาตุ ๖ ที่เป็นไปตามอิทธิพลของสมุฏฐาน ๔ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร   ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ คือ ก่อกำเนิดจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต คือ ตายเท่านั้น ดังคัมภีร์อภิธรรมอธิบาย ไว้ว่า

- รูปกลาปะ (กลุ่มรูป / กลุ่มสสาร) ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิ

- กลุ่มรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน   เริ่มตั้งแต่จิตดวงที่ ๒ (คือ ต่อจากปฏิสนธิจิต)

- กลุ่มรูปที่มีอุตุ (ฤดู) เป็นสมุฏฐานเริ่มตั้งแต่ฐิติกาล

- กลุ่มรูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน   เริ่มต้นตั้งแต่โอชะของอาหารแผ่ไปสู่ร่างกาย

- การทำงานของสมุฏฐานทั้ง ๔ นี้ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายตลอดอายุของชีวิต ดุจเปลวไฟหรือกระแสน้ำ ฉะนั้น  (วิภาวินี. 265)

   จากคำอธิบายในอรรถกถาอภิธรรมแสดงให้เห็นว่า   ส่วนประกอบของมนุษย์คือ ขันธ์ ๕ นั้น เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะปฏิสนธิ (สมฺโมห.47/34)   ฉะนั้น    มนุษย์จึงเป็นสัตว์หรือชีวิตที่สมบูรณ์ ตั้งแต่แรกเกิดด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว   ในทางพระวินัยจึงถือว่า ภิกษุทำลายชีวิตตั้งแต่ยังเป็นกลละอยู่ในครรภ์มารดา ถือว่า เป็นการฆ่ามนุษย์เหมือนกัน (สมนฺต. ปฐม.642)
 


Create Date : 06 พฤษภาคม 2565
Last Update : 6 พฤษภาคม 2565 18:35:43 น. 0 comments
Counter : 182 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space