กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
13 พฤษภาคม 2565
space
space
space

กระบวนการคิดของคน(จบ)




   ในทวยสูตรที่ ๒ (สํ.สฬา.18/124-7/85) ก็ได้อธิบายไว้ทำนองเดียวกันว่า ความรู้ (วิญญาณ) ของคนเกิดจากปัจจัย ๒ ส่วนกระทบกัน คือ ประสาทสัมผัส กับ วัตถุภายนอก  เมื่อปัจจัย ๒ ส่วนนั้นกระทบกันก็เกิดผัสสะ   จากผัสสะจึงก่อให้เกิดความรู้แบบเวทนา   ความรู้แบบเจตนา (คิด) และความรู้แบบสัญญา (จำ) ตามมา   ฉะนั้น   ผัสสะจึงเป็นฐานของความรู้ทุกรูปแบบ

                      เวทนา
ผัสสะ => มนะ >เจตนา ความรู้
                      สัญญา

    จึงสรุปได้ว่า ตามหลักของพระพุทธศาสนา อายตนะหรือประสาทสัมผัสก่อให้เกิดความคิด หรือความรู้สึกขั้นต้น คือ ผัสสะ  ผัสสะเป็นข้อมูลขั้นต้นให้จิตคิด   จากการคิดผัสสะนั้นเอง จิตก็สร้างความคิดหรือความรู้ในลักษณะต่างๆ ขึ้นอย่างสลับซับซ้อน  กระบวนการคิดของจิตต่อจากผัสสะนั้น เป็นกระบวนที่ซับซ้อน และรวดเร็วจนแยกจากกันไม่ได้  พระพุทธศาสนาจึงอธิบายกระบวนการคิดของจิตช่วงนี้ว่า   สิ่งเหล่านี้เกิดพร้อมกันหรือเป็นไปด้วยกันเสมอ  คือ  ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (มิลิน.18)

               
   ฉะนั้น   ผัสสะ   จึงเป็นพื้นฐานของความคิดทั้งปวงในระดับสามัญทั่วไป ความหมายของความคิดแต่ละขั้นตอน   ที่เกิดขึ้นกับจิต หรือที่จิตรับรู้  อธิบายโดยสังเขป  ได้  ดังนี้

ผัสสะ    รู้สึกกระทบ  เป็นความรู้สึกที่ยังไม่เป็นความรู้  แต่เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะก่อเป็นความรู้ขั้นต่างๆ ต่อไป  นี้

เวทนา   รู้สึกแยกแยะเชิงคุณภาพ หรือ เป็นความคิดเชิงคุณภาพ เช่น ดี เลว หอม เหม็น พร้อมกับเกิดความรู้สึกหรือความคิดเชิงรับ หรือ เชิงปฏิเสธตามมา (คือ ชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ)

สัญญา   รู้สึกแยกแยะเชิงประเภท หรือ กำหนดชนิด เช่น ดำ ขาว คน สัตว์ พร้อมกับเกิดความรู้สึกเก็บ หรือ จำลักษณะต่างๆ เหล่านั้นไว้

เจตนา    รู้สึกเชิงสังเคราะห์หรอืตกแต่งเรื่องที่รับรู้หรือคิดนั้นให้กลมกลืนคล้ายกับการปรุงแต่งอาหารให้มีรสต่างๆ อย่างกลมกล่อม

วิญญาณ   รู้สึกแจ้งชัด หรือ รู้ชัดเจนในสิ่งที่คิดหรือรับรู้นั้น

วิตักกะ    รู้สึกหรือคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างไม่หยุด แบบจับไม่ปล่อยจนกว่าจะเปลี่ยนเรื่องคิดใหม่

วิจาร    รู้สึกหรือคิดเชิงตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึก หรือ ความเข้าใจอย่างชัดเจนในเรื่องนั้นๆ

เอกัคคตา   รู้สึกและคิดอย่างมีเอกภาพ ความรู้สึกทุกแง่ทุกมุมของสิ่งที่คิดผสมผสานกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว คล้ายกับกลมกล่อมของรสแกงที่อร่อย

มนสิการ   เอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง หรือ คิดอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่คิดนั้นในลักษณะมีความรู้สึกจดจ่อติดตามจนกว่าจะจบ (มิลิน.86-92)

ชีวิตินทรีย์   ความมีชีวิต พลังชีวิต (สารา.169) อันเป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่ของประสาทสัมผัสทั้งปวง หากขาดความมีชีวิต ประสาทสัมผัสก็ทำหน้าที่ไม่ได้ ร่างกายก็จะเป็นเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากความรู้สึกใดๆ




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 13 พฤษภาคม 2565 18:10:01 น.
Counter : 242 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space