กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
11 พฤษภาคม 2565
space
space
space

สุข ทุกข์ของชีวิต



170ความทุกข์ ความสุขของชีวิต

  คำสอนเรื่องอริยสัจสี่นั้น   แสดงให้เห็นภาพของชีวิตแบบรวมๆ หรือ เป็นการพูดถึงความทุกข์ของชีวิตในภาพรวม   ในบางพระสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงจำแนกให้เห็นความทุกข์ รวมทั้งความสุขของชีวิตในระดับต่างๆ อย่างละเอียด เช่น ในอิณสูตร (องฺ.ฉ.22/316/393) ทรงแสดงว่า ความทุกข์ของชาวโลก (กามโภคี) มี ๖ อย่าง คือ

- ความจน

- การเป็นหนี้

- การเสียดอกเบี้ย

- การถูกทวงดอกเบี้ย

- การถูกทวงหนี้

- การถูกจองจำ

  ในพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตในทางโลกนั้น พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ ปัญหาเรื่องปากท้องเป็นอันดับแรก และถือว่าเรื่องเศรษฐกิจนั้นเป็นที่มาของความทุกข์สำหรับชีวิตทางโลกอันดับแรก   กล่าวโดยย่อก็คือ  ความจน คือความยากไร้ด้วยปัจจัย ๔ เป็นความทุกข์สำหรับชาวโลก

  เมื่อทรงชี้ให้เห็นว่า   ความจนเป็นทุกข์   พระพุทธองค์ก็แสดงให้เห็นว่า ความจนนั้นแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ

- อุฏฐานสัมปทา    ขยันทำงาน

- อารักขสัมปทา    รู้จักเก็บออม

- กัลยาณมิตตตา    คบแต่เพื่อนดี

- สมชีวิตา     เป็นอยู่พอควรแก่ฐานะ

   สำหรับชีวิตในทางธรรม  หรือนักบวชนั้น   พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงว่า   ความไม่มีคุณธรรม ถือว่า เป็นความจนในทางธรรม    ผู้มีชีวิตอยู่ในทางธรรมด้วยความจน   ก็ย่อมจะมีชีวิตอยู่อย่างเป็นทุกข์เช่นกัน ผู้ที่ไม่มี สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ชื่อว่าเป็นคนจนในทางธรรม  และคนจนในทางธรรมนั้น

- ย่อมจะกู้หนี้  คือ ทำชั่วทางกาย  วาจา ใจ

- ต้องเสียดอก  คือ คอยปกปิดความชั่วของตนเอง

- ต้องถูกทวงดอก  คือ  ถูกคนติเตียน

- ต้องถูกทวงหนี้  คือ อกุศลวิตกครอบงำ

- ต้องถูกจองจำ  คือ  ตายแล้วไปอบายภูมิ   (อิณสูตร. องฺ.ฉกฺก. 22/316/394)

231คำสอนในพระสูตรนี้  ให้นัยแก่เราว่า

- ความจนทางโลก คือ ยากไร้วัตถุ

- ความจนทางธรรม คือ ยากไร้คุณธรรม

- ความจนทุกอย่าง คือ ทุกข์ของชีวิต หรือ มีชีวิตอย่างเป็นทุกข์

  สาเหตุของทุกข์อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การวิวาท ซึ่งพระพุทธศาสนาเรียกว่า วิวาทมูลกทุกข์ คือทุกข์ที่มีสาเหตุมาจากการวิวาท และการวิวาทนั้น มี ๒ ลักษณะ คือ

- ชาวโลก  วิวาทกันเพราะกาม

- นักบวช   วิวาทกันเพราะทิฏฐิ   (องฺ.ทุก.20/282/84)

  และเรื่องของกามนั้น   นอกจากจะเป็นเหตุให้ชาวโลกวิวาทกันแล้ว  ตัวกามเองก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่ชีวิตด้วย   โดยพระพุทธศาสนาเปรียบเทียบให้เห็นโทษ หรือ ความทุกข์ที่เกิดจากกามไว้ ๗ อย่าง คือ

๑. กามเปรียบเหมือนกระดูกเปื้อนเลือด  ที่สุนัขแทะเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่ม

๒. กามเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ที่นกชนิดต่างๆ พากันยื้อแย่งจนถึงตัวตายก็มี

๓. กามเปรียบด้วยคบไฟ   ที่คนถือเดินทวนลมเป็นเหตุให้ไหม้มือ ไหม้แขน จนบางทีเจ็บปวดถึงตาย

๔. กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง  เมื่อใครตกลงไปก็มีแต่เจ็บปวดจนอาจถึงตาย

๕. กามเปรียบด้วยความฝัน   ซึ่งดูสวยงามขณะฝัน   แต่พอตื่นขึ้นมาก็ไม่มีอะไรสักอย่าง

๖. กามเปรียบด้วยสมบัติที่ยืมเขามา  ชื่นชมได้ชั่วคราว แล้วเจ้าของก็มาเอาคืนไป

๗. กามเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก   ย่อมเป็นที่หมายปอง   แย่งชิงของคนทั้งหลาย  ซึ่งต่างก็พยายามตัด โค่น แย่งชิงเอาผลมาเพื่อตนเองเป็นเหตุให้ฆ่าฟันกัน  (โปตลิยสูตร - ม.ม. 13/47-53/41)


   สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ประมวลเรื่องทุกข์ของชีวิตตามที่มีแสดงไว้ในพระสูตรต่างๆ เป็น ๑๐ ประเภท คือ

๑.สภาวทุกข์   ได้แก่  ชาติ ชรา มรณะ

๒.ปกิณณกทุกข์    ได้แก่   โสกะ ปริเทวะ ฯลฯ

๓.นิพัทธทุกข์   ได้แก่   หนาว ร้อน หิวกระหาย ฯลฯ

๔.พยาธิทุกข์    ได้แก่   ความเจ็บไข้   (๒ ข้อ นี้ แสดงไว้ในสิริมานนทสูตร)

๕.สันตาปทุกข์   ได้แก่   ความเร่าร้อนจากกิเลส   (อาทิตตปริยายสูตร)

๖.วิปากทุกข์   ได้แก่   ทุกข์จากผลกรรม    (แสดงไว้ในหลายแห่ง)

๗.สหคตทุกข์   ได้แก่   วิปริณาทุกข์ ได้แก่ ทุกข์ที่แฝงมากับสุข    (โลกธรรมสูตร)

๘.อาหารปริเยฏฐิทุกข์   ได้แก่   ทุกข์จากการทำมาหากิน    (สังเวควัตถุ)

๙.วิวาทมูลทุกข์   ได้แก่   ทุกข์จากการวิวาทกัน   (กามาทีนพ)

๑๐.ทุกขขันธ์   ได้แก่   ทุกข์รวบยอด คือ สังขาร หรือ เบญจขันธ์  (ธจ. 11-18)

 


Create Date : 11 พฤษภาคม 2565
Last Update : 11 พฤษภาคม 2565 17:11:52 น. 0 comments
Counter : 369 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space