กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
27 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามของคน และธรรมชาติ



170ความงามของคนและธรรมชาติ


   ในคำสอนของพระพุทธศาสนามิได้กล่าวถึงเฉพาะความงามของธรรมเท่านั้น ยังได้กล่าวถึงความงามของคน และวัตถุสิ่งของ รวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย

   ในอรรถกถาเตลปัตตชาดก เอกนิบาต อังคุตรนิกายได้กล่าวถึงความของหญิงไว้ว่า หญิงงามที่ได้ชื่อว่า ชนบทกัลยาณี เพราะงามเยี่ยมปราศจากโทษแห่งร่างกาย ๖ ประการ คือ ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป ยิ่งกว่าผิวมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวเทวดาและประกอบด้วยความงาม ๕ ประการคือ ผิวงาม เนื้องาม เอ็นงาม กระดูกงาม วัยงาม (ชาดก.อ.2/274)

   ในอรรถกถาธรรมบทมีกล่าวถึงความงามของหญิงไว้คล้ายกัน ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม กระดูกงาม ผิวงาม วัยงาม (ขุ.ธ.อ. 1/401) และได้กล่าวถึงความงามของคนในฐานะต่างๆ อีก ๔ อย่าง คือ พระราชาวิ่งไม่งาม ค่อยเสด็จไปจึงงาม ช้างมงคลวิ่งไม่งาม เดินไปด้วยลีลาแห่งช้างจึงงาม บรรพชิตวิ่งไม่งาม เดินไปอย่างสำรวมจึงงาม สตรีวิ่งไม่งาม เดินอย่างธรรมชาติจึงงาม (ขุ.ธ.1/404)

   นอกจากนี้  พระพุทธศาสนายังกล่าวถึงความงามของสรีระร่างกายของมนุษย์ว่าเป็นผลของบุญ ในลักษณะต่างๆ ไว้ว่า  "ความมีผิวงาม  เสียงเพราะ ทรวดทรงดี รูปร่างสวย ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนี้ ได้ด้วยบุญนิธิ"   (นิธิกัณฑ์ ขุ.ธ.25/9/12)

   ในเรื่องความงามของมนุษย์ดังกล่าวมาข้างต้น สรุปได้เป็น ๒ ประเด็นคือ ความงามของร่างกาย และความงามของกิริยาท่าทาง

   ในด้านธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสัตว์และธรรมชาติแวดล้อม พระพุทธศาสนาก็กล่าวถึงความงามของสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยเช่นกัน แม้จะไม่มากนักแต่ก็พอที่จะทำให้เห็นได้ว่า พระพุทธศาสนามองสิ่งเหล่านี้ในแง่ของความงามอย่างไรบ้าง

   ในปฐมอัสสสูตรกล่าวถึงม้ากระจอก ๓ ประเภท เทียบกับคน ๓ ประเภทว่า "ม้ากระจอกบางตัว ฝีเท้าดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม บางตัวฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงไม่งาม แต่บางตัวฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม คนกระจอกบางคน มีเชาว์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงก็ไม่งาม บางคนเชาว์ดี สีก็งาม แต่ทรวดทรงไม่งาม บางคนเชาวน์ก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม" (องฺ.ติก.20/580/370) ในอรรถกถาธรรมบทกล่าวถึงช้างว่า "ช้างมงคล วิ่งไม่งาม เดินไปด้วยลีลาแห่งช้างจึงงาม" (ขุ.ธ.อ.1/404)

   ในเรื่องความงามของสัตว์ดังกล่าวมาข้างต้นก็สรุปได้ว่า มีกล่าวถึงความงามของร่างกาย และความงามของกิริยาท่าทาง

   ในเรื่องธรรมชาติแวดล้อม หรือสิ่งไร้ชีวิต พระพุทธศาสน์ก็กล่าวถึงความของสิ่งต่างๆ ไว้พอสมควร เช่น ในนวสุตรที่ ๘ กล่าวถึงผ้ากาสีว่า "ผ้ากาสี   แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง แม้กลางใหม่กลางเก่า ก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็มีสีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง ผ้ากาสีถึงคร่ำคร่าแล้ว เขาก็ยังใช้ห่อรัตนะ (คือของมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในหีบอบหอมบ้าง ส่วนผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ แม้กลางใหม่กลางเก่า แม้เก่า สีก็ไม่งาม สัมผัสก็หยาบ ราคาก็ถูก ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อบ้าง ทิ้งกองขยะบ้าง" (องฺ.ติก.20/539/317)


    แม้ในธรรมชาติแวดล้อมโดยเฉพาะคือป่า  ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้านับแต่เริ่มต้นจนจบ พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงความงามของป่าไว้ด้วยเช่นกัน เช่น ในมหาโคสิงคสาลสูตร พระพุทธองค์ตรัสถึงความงามของป่าโคสิงคสาละใจความว่า   ป่าโคสิงคสาละนี้  พึงงามด้วยภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย (ม.ม.12/382/409)




 
   สรุปว่า ในด้านความงามของธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งไร้ชีวิตนั้น พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงทั้งความงามในเชิงสีสัน และทรวดทรงและความงามในเชิงคุณค่าหรือเชิงคุณธรรม



Create Date : 27 พฤษภาคม 2565
Last Update : 27 พฤษภาคม 2565 16:27:26 น. 1 comments
Counter : 407 Pageviews.

 
สาธุ


โดย: อุ้มสี วันที่: 27 พฤษภาคม 2565 เวลา:7:51:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space