กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
24 พฤษภาคม 2565
space
space
space

พื้นฐานของศีลธรรม


170พื้นฐานของศีลธรรม


   ในอนุมานสูตร (ม.มู.12/224/194) พระมหาโมคคัลลานะ ได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องของความดีความชั่วนั้นเป็นเรื่องของความสำนึก โดยเอาตัวเองเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ก็สามารถจะรู้สึกได้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร กล่าวคือ คนอื่นทำสิ่งที่ไม่ดีแก่เรา เราก็ไม่ชอบใจ ฉะนั้น หากเราทำสิ่งที่ไม่ดีแก่ผู้อื่น เขาก็ย่อมจะไม่ชอบใจเช่นกัน ฉะนั้น เราจึงไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ดีแก่ผู้อื่น และในพระสูตรยกตัวอย่างของความไม่ดีที่ไม่ควรทำ คือ ความลุอำนาจแก่กิเลสตัณหา การยกตนข่มท่าน ความมักโกรธ ความผูกโกรธ ความขี้ระแวง พูดจาแข็งกร้าว ชอบหาความ กลบเกลื่อน ลบหลู่ ดีเสมอ ความตระหนี่ โอ้อวด เจ้ามายา กระด้าง ดูหมิ่นคนอื่น หัวรั้น


   ข้อนี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาของศีลธรรม นั่นคือทุกคนในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน ย่อมมีความพอใจในสิ่งที่ดี และไม่พอใจในสิ่งที่ไม่ดีเหมือนกัน ซึ่งเป็นเหตุผลทางศีลธรรมที่ว่า ทำไมเราจึงควรทำดี เว้นชั่ว ทั้งนี้ก็เพราะว่า โดยธรรมชาติของชีวิตจิตใจมนุษย์แล้วทุกคนพอใจในสิ่งที่ดี และไม่พอใจในสิ่งที่ชั่ว ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่สอดคล้องกับธรรมชาติของชีวิตที่ว่า "สุขกามะ ทุกขปฏิกกูละ" (อยากสุข ไม่ต้องทนทุกข์) นั่นเอง


   ในพระสูตรเดียวกันนี้ (ม.มู.12/225/197) ก็ได้แสดงว่า เรื่องของความดีความชั่วนั้น หากเราใช้ปัญญาพิจารณา  (อตฺตนาว อตฺตนํ ปจฺจเวกขิตพฺพํ ก็ย่อมจะรู้ได้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร คือ คิดดี หรือ คิดชั่ว ทำดีหรือทำชั่ว ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า  เรื่องของความดีความชั่วระดับสามัญธรรมดา หรือขั้นพื้นฐานนั้น ทุกคนสามารถรู้หรือเข้าใจได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง หากได้ "พินิจพิจารณา" พอสมควร เพราะความดีเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการขั้นมูลฐานของชีวิต (คือ สุขกามะ ทุกขปฏิกกูละ) และเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ชีวิตดำเนินไปตามธรรมชาติของชีวิต (คือ ชีวิตุกามะ อมริตุกามะ)

  ฉะนั้น ข้อนี้ จึงถือได้ว่าเป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาอีกประการหนึ่งของศีลธรรม

  ความเป็นไปได้ของหลักศีลธรรมในพุทธศาสนานั้น  ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงของกฎแห่งกรรม หรือหลักกรรม ได้แก่  หลักที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ - สํ.ส.15/903/333) เพราะเรื่องของศีลธรรมก็คือเรื่องการทำดีทำชั่ว ฉะนั้น หากกฎแห่งกรรมเป็นจริง เรื่องศีลธรรมก็เป็นจริง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เรื่องศีลธรรมก็คือภาคปฏิบัติของหลักกรรมนั่นเอง


Create Date : 24 พฤษภาคม 2565
Last Update : 24 พฤษภาคม 2565 18:20:46 น. 0 comments
Counter : 146 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space