กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2565
space
space
space

หลักความดี



170หลักความดี


   พระพุทธศาสนาถือว่า การกระทำที่ก่อให้เกิดผลทางศีลธรรม คือ ความดีความชั่วนั้นมี ทั้งกาย ทางวาจา และทางใจ หรือความคิด โดยที่ถือว่า

- การกระทำทางกาย เกิดจากแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจ คือ กิเลสขั้นหยาบหรือรุนแรงมาก จนกระทั่งแสดงออกมาภายนอกหรือแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางกาย

- การกระทำทางวาจา เกิดจากแรงกระตุ้นหรือกิเลสขั้นหยาบเช่นเดียวกับการกระทำทางกาย

- การกระทำทางใจ หรือ ความคิด เกิดจากแรงกระตุ้นหรือกิเลสขั้นละเอียด คือ ไม่หยาบ หรือ ไม่รุนแรงจนกระทั่งแสดงออกมาภายนอก คือ ทางกายหรือทางวาจา

  ฉะนั้น การคิดและการทำที่ก่อให้เกิดผลทางศีลธรรมคือเกิดเป็นบุญ บาป หรือ ดี ชั่วตามหลักของพระพุทธศาสนา ล้วนเกิดจากแรงกระตุ้นที่สำคัญคือความอยาก หรือตัณหาทั้งนั้น ซึ่งกล่าวโดยสรุปก็มี ๒ อย่าง คือ อยากในทางดี กับ อยากในทางชั่ว อยากในทางดีก็เป็นเหตุให้ทำดี อยากในทางชั่วก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว

  แต่ความอยาก ๒ อย่างนี้ ให้ผลต่างกัน คือ ความอยากในทางดี เช่น อยากทำบุญ ก็เป็นเหตุให้คนทำบุญ และก็ย่อมได้รับผลคือบุญ หรือความดี ความอยากดี จึงทำให้คนทำดียิ่งๆขึ้น กระทั่งหากทำดีได้ถึงที่สุด หรือทำดีครบถ้วนสมบูรณ์จะให้ผลเป็นความหมดอยาก คือ หมดทั้งความอยากดี และความอยากชั่ว นั่นคือภาวะสิ้นตัณหา หรือ หมดตัณหา ที่พุทธศาสนา เรียกว่า ภาวะนิพพานนั่นเอง ที่เรียกว่าหมดความอยากดี ก็เพราะไม่มีดีอะไรจะต้องทำอีกต่อไป เพราะทำมาครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และที่เรียกว่า หมดความอยากชั่วด้วย ก็เพราะเมื่อมีความดีเพิ่มขึ้น ความชั่วก็ลดลง เมื่อความดีสมบูรณ์ความชั่วก็สูญหมดไปพร้อมกัน ความอยากชั่วจึงหมดไปพร้อมๆกับหมดความอยากดี

  ส่วนความอยากในทางชั่ว หรือ ความอยากชั่วนั้น เป็นเหตุให้คนทำชั่ว เมื่อทำชั่ว ก็ยิ่งเพิ่มความชั่วมากขึ้น และความชั่วที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะไปช่วยเสริมแรงกระตุ้นฝ่ายชั่ว หรือ ความอยากชั่วให้แรงยิ่งขึ้นด้วย ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงถือว่าความชั่วนั้น ยิ่งทำยิ่งอยากทำยิ่งๆ ขึ้นไม่มีที่สุด

  ธรรมในพระพุทธศาสนา ทั้งธรรมในระดับศีล และในระดับธรรม ล้วนเป็นเครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อการละกิเลสและดับทุกข์  ดังที่พระพุทธเจ้าทรงอุปมาไว้ว่า  ธรรมเปรียบเหมือนแพสำหรับข้ามฟาก (ม.มู.12/280/271) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ธรรม คือ อุปกรณ์หรือเครื่องมือเพื่อการละกิเลส หรือแก้ทุกข์ของชีวิต

 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2565
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 11:13:30 น. 0 comments
Counter : 220 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space