กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
14 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความรู้และที่มาของความรู้(ต่อ)




   ในบางพระสูตร  พระพุทธศาสนาก็ได้แสดงที่มาของความรู้แบบต่างๆ ออกไปอีกหลายอย่าง เช่น ในกาลามสูตร (องฺ.ติก.20/505/243) ได้แสดงถึงแหล่งที่มาของความรู้ ๑๐ อย่าง คือ

๑) อนุสสวะ    โดยการฟัง  หรือ เล่าเรียนต่อๆกันมา

๒) ปรัมปรา   โดยการถือปฏิบัติ ถือเป็นประเพณีสืบๆกันมา

๓) อิติกิรา   โดยการบอกเล่าหรือคำเล่าลือ

๔) ปิฎกสัมปทานะ   โดยการอ้างตำรา

๕) ตักกะ   โดยการคิดเอาเอง

๖) นยะ    โดยการอนุมาน หรือคาดคะเนเอา

๗) อาการปริวิตักกะ    โดยการไตร่ตรองตามเหตุผล หรือ การใช้เหตุผล

๘) ทิฏฐินิชฌานนักขันติ    ยอมรับเฉพาะตรงกับความคิดเห็นของตน

๙) ภัพพรูปตา    บุคคลผู้น่าเชื่อถือ หรือ ผู้เชียวชาญ

๑๐) สมโณ โน  ครุ    ครูอาจารย์ของตน


   แหล่งความรู้ทั้ง ๑๐ อย่างดังกล่าวนี้ อาจสรุปได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ ข้อ อนุสสวะ ปรัมปรา อิติกิรา ปิฎกสัมปทานะ ภัพพรูปตา สมโณ โน ครุ  รวม ๖  ข้อนี้  จัดเป็นประเภท authority คือ แหล่งความรู้ที่เป็นบุคคลหรือวัตถุที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้องเชื่อถือได้ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบหรือหาเหตุผลอีก เพราะสิ่งเหล่านั้นมีลักษณะหรือคุณสมบัติบางอย่างรับรองหรือรับประกันตัวเองอยู่แล้ว

   ข้อ ตักกะ นยะ อาการปริวิตักกะ ทิฏฐินิชฌานักขันติ รวม ๔ ข้อนี้ จัดเป็นประเภท reason คือ เป็นเรื่องของการใช้ความคิด หรือใช้เหตุผล


   ความรู้จากแหล่งความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะนี้อาจเรียกได้ว่า ความรู้จากแหล่งภายนอก คือ ๖ ข้อแรก กับ ความรู้จากแหล่งภายใน (คือ จากตัวเอง)  คือ ๔ ข้อหลัง และความรู้จากแหล่งภายนอก คือ ๖ ข้อแรกนั้น  ก็จัดเป็นความรู้ประเภท สุตะ นั่นเอง   ส่วนความรู้จากแหล่งภายใน ๔ ข้อหลังนั้น ก็จัดเป็นความรู้ประเภทจินตา เพราะเป็นผลจากการคิดในลักษณะต่างๆ ของตนเอง


   ความรู้จากแหล่งความรู้ทั้ง ๑๐ อย่างนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าควรสงสัยไว้ก่อน (อลํ กงฺขิตํุ อลํ วิจิกิจฺฉิตํุ - องฺ.ติก.20/505/243)  ไม่ควรด่วนรับหรือด่วนเชื่อ  แต่ควรจะใช้ปัญญาของตนพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อน จึงค่อยรับหรือเชื่อ ตามความหมายที่ทรงแสดงในพระสูตร (กาลามสูตร) นี้ จึงมิได้หมายความว่า  ห้ามเชื่อ หรือไม่ยอมรับความรู้จากแหล่งความรู้ทั้ง ๑๐ นี้โดยเด็ดขาด แต่หมายความว่า   แหล่งที่มาของความรู้ทั้ง ๑๐ อย่างนั้น  ไม่อาจเอามาเป็นเครื่องรับรองหรือถือเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน   "ความถูกต้อง"  ของความรู้ได้  เพราะอาจจะถูกหรืออาจจะผิดก็ได้ ทางที่ดีคือเราจะต้องใช้ปัญญาของคนเองพิจารณาตรวจสอบให้รู้อย่างแน่ชัดเสียก่อนแล้วจึงค่อยรับ หรือปฏิเสธ  แนวทางในการพิจารณา ก็คือ ควรตรวจสอบดูว่าความรู้ หรือความเชื่อดังกล่าวนั้น  เมื่อมีผู้นำไปปฏิบัติ ให้ผลเป็นอย่างไร คือ ดี หรือ เลว มีโทษ หรือ ไม่มีโทษ ผู้รู้ติเตียน หรือสรรเสริญ ไร้ประโยชน์ หรือ ให้ประโยชน์ ให้ทุกข์ หรือ ให้สุข


   เมื่อพิจารณาเป็นที่ประจักษ์ชัดด้วยตนเองดังกล่าวแล้ว ก็สามารถตัดสินได้ด้วยตนเองว่า ความรู้ หรือ เรื่องราวที่เราได้รับมาจากแหล่งต่างๆ ดังกล่าวนั้น ถูกหรือผิด ควรรับหรือควรปฏิเสธ

    จากหลักการที่ทรงแสดงไว้ในกาลามสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า  ความรู้ที่ถูกต้องควรเชื่อถือได้นั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบเป็นอย่างดีเสียก่อน และความรู้ที่ควรได้รับการตรวจสอบนั้น ก็คือความรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ทั้ง ๒ ลักษณะ คือ แหล่งอ้างอิงภายนอก (authority) และการใช้เหตุผล (reason) หรือ ความคิดของตนเอง

227แหล่งความรู้
อนุสสวะ

ปรัมปรา

อิติกิรา

ปิฎกสัมปทานะ

ภัพพรูปตา

สมโณ โน ครุ => ๖ นี้ authority = สุตะ

ตักกะ

นยะ

อาการปริวิตักกะ

ทิฏฐินิชฌานักขันติ => ๔ นี้ reason = จินตา

   ทั้ง ๑๐ ข้อ ที่เป็น สุตะ และ จินตา = ควรสงสัย และตรวจสอบ

227ความรู้ > ควรสงสัย > ตรวจสอบ > ผลของการปฏิบัติ < = >เลว-ดี   มีโทษ - ไม่มีโทษ  ผู้รู้ติเตียน - สรรเสริญ  ไร้ประโยช น์- ให้ประโยชน์   ให้ทุกข์ - ให้สุข

    ความรู้จากแหล่งความรู้คือ สุตะ และจินตา หรือ authority และ reason นั้น เรียกได้ว่า เป็นความรู้ขั้นสามัญ

    ส่วนความรู้จากญาณ หรือ จากภาวนานั้น    พระพุทธศาสนาเรียกว่า อภิญญา ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นความรู้ขั้นวิสามัญหรือเหนือธรรมดาสามัญ   ท่านแสดงไว้หลายนัย เช่น อภิญญา ๖ คือ

๑.อิทธิวิธิ     แสดงฤทธิ์ได้

๒.ทิพพโสต    หูทิพย์

๓.เจโตปริยญาณ    รู้ใจผู้อื่น

๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ    ระลึกชาติได้

๕.ทิพพจักขุ    ตาทิพย์

๖.อาสวักขยญาณ    รู้ทำให้กิเลสหมดสิ้น   (องฺ.ฉกฺก.20/273/312)

  ลักษณะของการรู้ในระดับนี้  ท่านแสดงไว้ ๒ ลักษณะ คือ

   ๑.เมื่อจิตเป็นสมาธิ  บริสุทธิ์  ผ่องแผ้วแล้ว  ย่อมน้อมจิตไปเพื่อระลึก...เพื่อเห็น...เพื่อขจัด...ก็ระลึกได้...เห็นได้...ขจัดได้...(ม.ม.13/506/460)  ผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้ตามจริง (สํ.ข.17/27/18)

   ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิ   ธรรมย่อมปรากฏ (สมาหิเต จิตฺเต ธมฺมา ปาตุภวนฺติ. - สํ.สฬา. 8/144/98)

   ลักษณะแรกเป็นการรู้เมื่อต้องการรู้ และรู้อย่างถูกต้องตามจริง  ส่วนลักษณะที่สอง  เป็นการรู้ตามกลไกของจิต หรือตามธรรมชาติของจิต คือ เมื่อจิตสงบ ความจริงย่อมปรากฏต่อจิต คล้ายกับ เมื่อน้ำใสสิ่งที่อยู่ในน้ำย่อมปรากฏต่อสายตาฉะนั้น   แล้วแต่ว่าเราจะวางสายตาไว้ตรงไหน

 




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 14 พฤษภาคม 2565 21:05:02 น.
Counter : 223 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space