กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2565
space
space
space

การให้ผลของความดี-ชั่ว



170ความแตกต่างและการให้ผลของความดี


   พระพุทธศาสนาถือว่า ความดีความชั่วนั้น มีหลายระดับแตกต่างกัน ความแตกต่างของความดีความชั่วขึ้นอยู่กับน้ำหนักหรือความมากน้อยของผล หรือ การให้ผลของความดีความชั่วแต่ละอย่างนั้นเอง

  - ดีชั่วอันใดให้ผลหนักหรือมากที่สุด ก็เรียกว่า เป็นความดีระดับสูงหรือความชั่วขั้นรุนแรง

  - ดีชั่วอันใดให้ผลปานกลาง ก็เรียกว่า เป็นความดีระดับกลางหรือความชั่วขั้นกลาง และ

  - ดีชั่วอันใดให้ผลเบาหรือมีผลไม่มาก ก็เรียกว่า ความดีขั้นต้นหรือความชั่วขั้นต่ำ

  กล่าวสั้นๆ ก็คือ การจ้ดระดับสูงต่ำของความดีความชั่วนั้นจัดตามผลดีผลเสียที่มีต่อชีวิตมนุษย์มากน้อยเพียงไร

  เกณฑ์ในการพิจารณาหรือกำหนดความหนักเบาของความดีความชั่ว สรุปลงได้ใน ๓ ประเด็นสำคัญ คือ

- วัตถุ
- เจตนา
- ประโยค

   วัตถุ หมายถึงสิ่งที่ถูกกระทำ  ถ้าสิ่งที่ถูกกระทำเป็นสิ่งที่มีคุณมากก็ให้ผลมากแก่ผู้กระทำทั้งในเรื่องที่ดีและเรื่องที่ชั่ว ตัวอย่าง เช่น ถ้าฆ่าคนที่มีคุณความดีมาก ก็บาปมาก หรือ ได้รับผลชั่วมาก ถ้าฆ่าคนที่มีคุณความดีน้อย ก็บาปน้อย ในการทำดีก็เช่นกัน ถ้าทำดีในเรื่องเล็กน้อย เช่น ให้ทาน ช่วยเหลือคนอื่น ก็ได้บุญน้อย ถ้าทำดีในเรื่องที่ยากขึ้นไปสูงขึ้นไป เช่น รักษาศีล ทำสมาธิ ก็ได้ผลมาก หรือ ได้ผลดีมาก

   การทำชั่วที่พระพุทธศาสนาถือว่าได้บาปหนัก เป็นความชั่วขั้นรุนแรงหรือหนักที่สุดก็คือ การฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกันและทำร้ายพระพุทธเจ้า ซึ่งรวมเรียกว่า อนันตริยกรรม

  ส่วนการทำดีที่ให้ผลดีหรือบุญมากที่สุดก็คือ การทำสมาธิถึงขั้นฌาน ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงในพระพุทธศาสนา

  เจตนา   หมายถึงความจงใจในการกระทำ   พระพุทธศาสนาถือว่าการกระทำด้วยเจตนา หรือด้วยความจงใจ นั้น เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเต็มที่หรือสมบูรณ์  ทั้งในทางดีและในทางชั่ว และการกระทำด้วยเจตนานี้เองที่พุทธศาสนา เรียกว่า กรรม เพราะเป็นการกระทำที่ให้ผลเต็มที่สมบูรณ์ (เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ - องฺ.ฉกฺก.22/334/464)  ฉะนั้น  ความมากน้อยของผลของการกระทำ จึงเป็นไปตามความมากน้อยของเจตนาหรือความรู้สึกของเราในการกระทำนั้นๆ ด้วย กล่าวคือ ถ้าทำด้วยเจตนารุนแรงก็มีผลมาก ถ้าทำด้วยเจตนาไม่รุนแรงก็มีผลน้อย ถ้าทำโดยไม่มีเจตนาก็มีผลน้อยมากจนเกือบจะไม่มีเลย

   ประโยค   หมายถึงวิธีการหรือลักษณะของการทำ พระพุทธศาสนาก็ถือว่า เป็นเงื่อนไขอีกอย่างหนึ่งต่อความหนักเบาของผลการกระทำ กล่าวคือ ทำด้วยวิธีการที่รุนแรง เช่นการฆ่า ก็มีผลคือบาปมาก ถ้าทำด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรง ก็มีผลไม่รุนแรง เป็นต้น ในการทำดีก็เช่นเดียวกัน ถ้าทำด้วยความเคารพนอบน้อมก็มีผลมาก ถ้าทำอย่างเสียไม่ได้ก็มีผลน้อย ถ้าทำด้วยความโกรธ ความเกลียด ก็ยิ่งมีผลน้อยลงไปอีก เป็นต้น เรื่องประโยคนี้รวมไปถึงวิธีการที่ถูกต้อง หรือ วิธีการที่ผิดด้วย เช่น ทำดีอย่างถูกวิธี ก็ย่อมจะได้รับผลดีอย่างครบถ้วน ถ้าทำดีไม่ถูกวิธี ก็มีผลให้ได้รับความดีน้อยลง (เบญจ.วญ)

 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2565
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 7:24:00 น. 0 comments
Counter : 221 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space