กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
13 พฤษภาคม 2565
space
space
space

กระบวนการคิดของคน


170กระบวนการคิดของมนุษย์


   คำสอนเรื่อง อายตนะ หรือ ทวาร ๖ ของพระพุทธศาสนา  แสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดของมนุษย์ ว่า  เป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากกระบวนการรับรู้ของประสาทสัมผัสทางกายที่รวมเรียกขั้นตอนช่วงนี้ว่า "ผัสสะ" หรือ เป็นขั้นตอนของผัสสะ   ฉะนั้น   หากพิจารณาจากจุดนี้ ก็อาจทำให้เราเข้าใจว่า มนุษย์เริ่มคิด หรือว่าจิตมนุษย์เริ่มคิดต่อเมื่อประสาททางกายเริ่มทำงาน   หากประสาททางกายไม่ทำงาน   จิตมนุษย์ไม่คิดหรือคิดไม่ได้   หากเข้าใจดังนี้ คำสอนเรื่องการทำงานของอายตนะ ๖ ของพระพุทธศาสนาก็ตรงกับทฤษฎีประจักษ์นิยมของล็อค แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เหมือนกัน

   ในปปัญจสูทนี   อรรถกถาสมณมุณฑิกสูตรกล่าวว่า   จิตของเด็กอ่อนหรือทารกนั้น คิดอารมณ์หรือเรื่องราวที่เป็นอดีต   เด็กที่มาจากพวกนรก  เมื่อคิดถึงทุกข์ในอดีตแล้วก็ร้องไห้  เด็กที่มาจากสวรรค์   เมื่อคิดถึงสมบัติในวรรค์แล้วก็หัวเราะ (ป.สู.9/301) คำอธิบายดังกล่าวนี้มุ่งแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่อวัยวะ และประสาททางกายยังไม่พร้อมที่จะให้อารมณ์ หรือ ส่งข้อมูลจากภายนอกเข้าไปให้จิตคิด จิตก็คิดอารมณ์ หรือข้อมูลเก่าๆ ในอดีตที่ติดค้างมากับตัวเอง

   เพราะพระพุทธศาสนาถือว่าจิตมีธรรมชาติหรือมีคุณสมบัติคือคิดอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติ คือ ความสามารถรู้ (วิญญาณ)

   ฉะนั้น   ไม่ว่าประสาททางกายจะทำงาน หรือไม่ทำงาน จิตก็ทำหน้าที่คิดอยู่ตลอดเวลา จะต่างกันตรงที่ ถ้ามีข้อมูลจากประสาททางกาย หรือ ผัสสะจากภายนอกเข้ามาสู่จิต จิตก็จะคิดข้อมูลนั้น หรือ ทำความรู้ในในข้อมูลนั้น   แต่ถ้าไม่มีข้อมูล หรือ ผัสสะจากภายนอกเข้ามาสู่จิต จิตก็จะคิดข้อมูลเก่า (สัญญา) หรือ อารมณ์อดีตที่เคยได้รับรู้ตั้งแต่อดีตชาติก็ได้  ซึ่งจิตในภาวะเช่นนี้ ก็คล้ายกับภาวะของจิตที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า จิตในภวังค์ หรือ อยู่ในภวังค์ ซึ่งมักเข้าใจกันว่าจิตหยุดคิด หรือไม่คิด   แต่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น   เพราะธรรมชาติของจิต คือ คิดอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ในภาวะภวังค์ หรืออยู่ในภวังค์นั้น   จิตมิได้คิดหรือรับรู้เรื่องภายนอก หรือ คิดออกไปข้างนอก แต่คิดอยู่ภายในตัวเอง (ตกภวังค)

  เพราะฉะนั้น การคิดของจิตจึงมี ๒ ลักษณะ คือ (๑) การคิดเรื่องราวหรือข้อมูลที่มา จากภายนอก (ผัสสะ) และ (๒) การคิดเรื่องราวของตัวเอง หรือ เรื่องราวที่มีอยู่ในตัวเอง (อยู่ในภวังค์)

   การคิดของจิตที่จะก่อให้เกิดการรับรู้โลกภายนอก คือ การคิดข้อมูลที่เข้ามาจากภายนอก หรือ จิตทำงานร่วมกับการทำงานของประสาททางกาย  ส่วนการคิดในลักษณะที่ ๒ เป็นการคิดที่ไม่ก่อให้เกิดการรับรู้หรือก่อให้เกิดเป็นความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก แต่เป็นการคิดอย่างหนึ่งของจิต ตามธรรมชาติของจิตเอง เพราะจิตมีหน้าที่คิด   ฉะนั้น   เมื่อไม่มีหน้าที่ต้องออกไปคิดข้างนอก (เปรียบเสมือนคนออกไปทำงานนอกบ้าน) ก็คิดอยู่ภายใน  (เปรียบเสมือนคนทำงานอยู่ในบ้านโดยไม่สนใจสิ่งภายนอก)

   จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาถือว่าจิตสามารถคิด หรือ ทำงานได้ทั้ง ๒ ลักษณะ คือ (๑) ทำงานร่วมกับกระบวนการทางประสาทสัมผัสทางกายก็ได้ (๒) ทำงานอย่างเป็นอิสระเฉพาะตัว คือ ไม่ร่วมกับ หรือ ไม่อาศัยข้อมูลจากประสาททางกาย ก็ได้

   พระพุทธศาสนาแสดงว่า  การทำหน้าที่คิดหรือทำหน้าที่รู้ของจิต มี ๔ อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลัก หรือ ธรรมชาติของจิต คือ

- เวทนา   รู้สึก   (แยกแยะ)

- สัญญา   รู้จำ   (จัดเก็บ)

- สังขาร   รู้คิด   (ผสมผสาน)

- วิญญาณ   รู้ชัด  (ใช้งาน)

 


Create Date : 13 พฤษภาคม 2565
Last Update : 13 พฤษภาคม 2565 10:23:33 น. 0 comments
Counter : 164 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space