กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
26 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามของธรรม



170ความงามของธรรม


   ในคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มต้นด้วยสิ่งที่งาม คือ ธรรม ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า "พระสุคตนั้น ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง" (องฺ.จตุกฺก.21/160/197)

   พระพุทธพจน์เช่นนี้ ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอในพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎก ในคัมภีร์ปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาต ขุททกนิกาย ได้ขยายความของคำว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดไว้อย่างพิสดารว่า

   นัยที่ ๑ งามในเบื้องต้นด้วยบทที่ ๑ ของธรรม งามในท่ามกลางด้วยบทที่ ๒ ของธรรม งามในที่สุดด้วยบทสุดท้ายของธรรม

   นัยที่ ๒ งามในเบื้องต้นด้วยนิทาน งามในที่สุดด้วยบทสรุป งามในท่ามกลางด้วยบทที่เหลือ

   นัยที่ ๓ งามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ งามในท่ามกลางด้วยสมถะ วิปัสสนา มรรค และผล งามในที่สุดด้วยนิพพาน

   นัยที่ ๔ งามในเบื้องต้นเพราะการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า งามในท่ามกลางเพราะพระธรรมเป็นธรรมที่ดี งามในที่สุดด้วยการปฏิบัติชอบของพระสงฆ์

   นัยที่ ๕ งามในเบื้องต้นเพราะการตรัสรู้ยิ่ง งามในท่ามกลาง เพราะการตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า งามในที่สุดด้วยการตรัสรู้ของพระสาวก

   นัยที่ ๖ งามในเบื้องต้น เพราะการฟังธรรม งามในท่ามกลาง เพราะการปฏิบัติธรรม งามในที่สุดเพราะผลของการปฏิบัติธรรม

   นัยที่ ๗ งามในเบื้องต้นเพราะเป็นแดนเกิดแห่งที่พึ่ง งามในท่ามกลางเพราะบริสุทธิ์ด้วยประโยชน์ งามในที่สุดเพราะบริสุทธิ์ด้วยกิจ

   พระพุทธองค์ ไม่ว่าจะทรงแสดงธรรมมากหรือน้อย ย่อมแสดงธรรมที่มีลักษณะงามดังกล่าวแล้ว (ป.โช.2/270)

  คัมภีร์ปรมัตถโชติกาดังกล่าวข้างต้น   สรุปไว้ชัดเจนว่า อรรถาธิบายทั้ง ๗ นัยดัง  กล่าวนี้ คือ ความงามของธรรม หรือ ความงามของความจริง ในลักษณะต่างๆ 

  ในสุคตสูตรได้กล่าวถึงความงามของธรรม  ซึ่งเรียกว่า สุคตวินัย  ว่า "เป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของคนมาก   เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"  (องฺ.จตุกฺก.21/160/197)  คัมภีร์มโนรถปูรณี  อรรถกถาติกนิบาต อังคุตรนิกาย ได้ขยายความของคำว่า งามในเบื้องต้น เป็นต้นว่า "ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่ ไม่ให้มีโทษ ทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด" (มโน.ปู.2/187) และในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้อธิบายว่า ศีล สมาธิ และวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นเบื้องต้น  เพราะศีลที่บริสุทธิ์ดี  และทิฏฐิที่ตรง เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย  อริยมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง ผลและนิพพาน ชื่อว่าเป็นที่สุด  กล่าวอย่างสั้นๆ  ก็คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงศีลในเบื้องต้น ทรงแสดงมรรคในท่ามกลาง ทรงแสดงนิพพานในที่สุด (มโน.ปู.1/188)

 


Create Date : 26 พฤษภาคม 2565
Last Update : 26 พฤษภาคม 2565 11:00:29 น. 0 comments
Counter : 269 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space