กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
18 พฤษภาคม 2565
space
space
space

พระพุทธศาสนา กับ อภิปรัชญา


170พระพุทธศาสนา กับ อภิปรัชญา


   มักถกเถียงกันว่า พระพุทธศาสนามีอภิปรัชญาหรือไม่  บางท่านก็ว่ามี  บางท่านก็ว่าไม่มี ผู้ที่เห็นว่าพระพุทธศาสนาไม่มีอภิปรัชญาก็ด้วยเหตุผลที่ว่า พระพุทธศาสนาไม่สนใจปัญหาทางอภิปรัชญา ดังเช่น พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบปัญหาทางอภิปรัชญา ๑๐ ข้อ มีเรื่องเบื้องต้นและที่สุดของโลก เป็นต้น ที่เรียกว่า อัพยากตปัญหา เพราะถือว่าเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ไม่อาจนำไปสู่ความดับทุกข์ได้
ส่วนผู้ที่เห็นว่า พระพุทธศาสนาก็มีคำสอนทางอภิปรัชญาอยู่ด้วยอย่างพร้อมมูล ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า อภิธรรมปิฎกได้แสดงคำสอนเรื่องสิ่งแท้จริงสูงสุด หรือ สิ่งที่มีจริงไว้ ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่เรียกว่า ปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรมเหล่านี้ ก็ตรงกับสิ่งที่อภิปรัชญาถือว่าเป็นสิ่งแท้จริง หรือ อันติมสัจจะ คือ จิต สสาร และ อมฤตภาพนั่นเอง


  เป้าหมายสำคัญของอภิปรัชญา คือการค้นหาหาจุดกำเนิด หรือ จุดเริ่มต้นของจักรวาล พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งว่า คือ อะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยที่คิดว่า เมื่อเรารู้ถึงจุดกำเนิด และกระบวนการของการเกิดขึ้นของจักรวาลแล้ว เราก็สามารถอธิบายความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ได้ รวมทั้งความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ด้วย


   จากการคิดค้นเชิงอภิปรัชญา  ทำให้นักปรัชญาเชื่อว่าตนได้พบความจริงอันเป็นรากฐานสำคัญของจักรวาล ๒ อย่าง คือ ปฐมธาตุ หรือ ปฐมเหตุของจักรวาล คือ อะไร และปฐมธาตุหรือปฐมเหตุนั้นก่อให้เกิดจักรวาลขึ้นมาได้อย่างไร  ปฐมธาตุหรือปฐมเหตุนั่นเองที่เรียกว่า  สิ่งแท้จริง หรือ สิ่งที่มีอยู่จริง (reality) หรือ เรียกง่ายๆว่า ความจริงทางอภิปรัชญา ซึ่งบางลัทธิก็ยืนยันว่า คือ จิต บางลัทธิก็ยืนยันว่า คือ สสาร บางลัทธิก็ยืนยันว่า คือ จิตและสสาร และบางลัทธิก็ยืนยันว่า ไม่ใช่ทั้งจิตและไม่ใช่ทั้งสสาร คือ มีสภาพเป็นกลาง


  หากมองพระพุทธศาสนาด้วยท่าทีของอภิปรัชญาในความหมายดังกล่าวนี้  พระพุทธศาสนาก็ไม่มีอภิปรัชญา   แต่การกล่าวว่า  พระพุทธศาสนาไม่มีอภิปรัชญานั้นไม่น่าจะหมายความว่า พระพุทธศาสนาไม่มีคำสอนเกี่ยวกับสิ่งแท้จริง หรือ ไม่สนใจเกี่ยวกับความจริงของโลกและชีวิต
แต่ตรงข้าม  ความจริงนั้นเป้าหมายในการสอนและการปฏิบัติของพระพุทธศาสนา และเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติพระพุทธศาสนา คือ การบรรลุถึงความจริงสูงสุด


  การกล่าวถึงความจริง หรือ สิ่งแท้จริงตามนัยของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าธาตุนั้น มีลักษณะเป็นภววิทยา (ontology) มากกว่าอภิปรัชญา กล่าวคือ เป็นการแสดงให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่มีอยู่จริงและมีอยู่อย่างไร มิใช่เป็นการแสดงให้เห็นว่า อะไรคือจุดกำเนิดของจักรวาล อะไรคือผู้สร้างจักรวาล หรือว่า จักรวาลเกิดจากอะไร การที่พระพุทธศาสนากล่าวถึงวิญญาณธาตุ และธาตุสี่นั้น มิได้หมายความว่าวิญญาณธาตุ และธาตุสี่คือปฐมเหตุของโลก หรือ เป็นผู้สร้างโลก แต่กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ในความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันเอง และพระพุทธเจ้าทรงพบว่า สรรพสิ่งประกอบด้วยธาตุเหล่านี้ ซึ่งรวมกันเข้าตามกระบวนการของธรรมชาติ แล้วปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ ขึ้น


 


Create Date : 18 พฤษภาคม 2565
Last Update : 18 พฤษภาคม 2565 12:37:11 น. 0 comments
Counter : 195 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space