กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความดี คืออะไร(จบ)



   คำว่า กุศล นอกจากจะมีความหมายว่าดี หรือ ความดีแล้ว ยังมีความหมายว่า งาม ฉลาด ตัด กำจัด ระวัง ด้วย

- ที่มีความหมายว่า รู้ฉลาด ก็คือเป็นการกระทำด้วยความรู้ ความฉลาด และเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความรู้ความฉลาด ซึ่งหมายความว่า เรื่องความดีและการทำความดีนั้น เป็นเรื่องของความรู้ความฉลาด และต้องทำด้วยความรู้ความฉลาด มิใช่ทำด้วยความโง่งมงาย และยิ่งทำดี ก็ยิ่งรู้ยิ่งฉลาดในเรื่องความดีมากยิ่งขึ้น

- ที่มีความหมายว่า ตัด กำจัด ก็หมายความว่า ความดีนั้น มีลักษณะเป็นการตัด หรือ กำจัดความชั่วให้ลดน้อยลง จนกระทั่งหมดสิ้นไปในที่สุด ฉะนั้น ยิ่งทำดี ความชั่วก็ยิ่งลดลง

- ที่หมายความว่า ระวัง ก็คือ ความดีมีลักษณะเป็นการระวัง หรือเป็นเครื่องป้องกันความชั่วมิให้เข้ามากล้ำกลายชีวิตหรือจิตใจของเรา


  คำว่า ธัมมจริยา ที่ให้ความหมายแก่เราว่า ความดีนั้น มีลักษณะเป็นความประพฤติที่ดี หรือความประพฤติที่ถูกต้องยุติธรรม ซึ่งหมายความว่าความดีนั้น หากแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำ ก็ต้องมีลักษณะเป็น ธัมมจริยา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การกระทำที่จะเรียกว่าได้ว่าดีนั้น เราก็พิจารณาได้จากลักษณะที่ว่าถูกต้องหรือไม่ ยุติธรรมหรือไม่ ประกอบด้วยธรรมหรือศีลธรรมหรือไม่


  คำว่า สมจริยา มีความหมายว่า ประพฤติหรือกระทำเพื่อสงบระงับกิเลส ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องความดีนั้นต้องเป็นไปเพื่อการสงบกิเลส หรือ ระงับกิเลส หรือ ว่าทำกิเลสให้ลดน้อยลงนั่นเอง สิ่งใดเป็นไปเพื่อกิเลสหรือความชั่วให้มากขึ้น สิ่งนั้น มิใช่ความดี หรือมิใช่สิ่งที่ดี


   คำว่า กรณียะ ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งที่ควรทำนั้น แสดงให้เห็นว่า เรื่องความดีนั้น มีความหมายรวมไปถึง ความควร ด้วย ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ดีหรือความดีนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ หรือเป็นหน้าที่ของทุกคนในฐานะที่เป็นคน เพราะเรื่องของความดีหรือการทำดีเป็นเรื่องที่มนุษย์มีโอกาสที่จะทำได้มากกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ ไม่ควรปล่อยให้โอกาสอันดีนั้นผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์

   จากแง่มุมต่างๆ ดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าเรื่องของความดีนั้น เป็นคนละด้าน กับ ความชั่ว ซึ่งทั้งความดี และความชั่วนั้นเท่ากับเป็น ๒ ด้านของชีวิตมนุษย์ เพราะในชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น หากไม่ทำดี ก็ทำชั่ว หรือหากไม่ทำชั่ว ก็ทำดี การที่มนุษย์จะอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำดีหรือไม่ทำชั่วเลยนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฉะนั้น เรื่องของความดี ความชั่ว หรือเรียกรวมๆ ว่า เรื่องของศีลธรรม จึงเป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะรู้หรือไม่รู้เรื่องความดีความชั่ว มนุษย์ก็ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง อยู่เป็นประจำทุกวัน เพราะฉะนั้น เรื่องของความดีความชั่วจึงเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนควรรู้ และควรทำ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สวัสดิภาพและสันติสุขของชีวิตและสังคมของตนโดยตรง

 


Create Date : 23 พฤษภาคม 2565
Last Update : 23 พฤษภาคม 2565 12:09:40 น. 0 comments
Counter : 129 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space