กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
17 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความรู้ กับ ความเชื่อ



170ความรู้ กับ ความเชื่อ

  ในพระพุทธศาสนาใช้คำหลายคำที่หมายถึง "ความรู้" เช่น ปัญญา ญาณ วิชชา เป็นต้น ในความหมายกว้างๆ คำเหล่านี้ใช้แทนกันได้ แต่ว่า แต่ละคำก็มีความหมายเฉพาะของตนเองด้วย ในเมื่อนำมาใช้เฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี  พระพุทธศาสนาแบ่งความรู้เป็นหลายระดับดังกล่าวมาแล้ว แต่ละระดับมีความแตกต่างกันในรายละเอียดหรือความประณีตลึกซึ้งของการรู้ แต่ว่าความรู้ทุกระดับมีลักษณะร่วมอย่างหนึ่ง คือ เป็นประสบการณ์ตรงของผู้ที่รู้เอง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทางกาย หรือ ทางประสาทสัมผัสทางใจ ดังที่ท่านใช้สำนวนว่า "เอวํ ชานนฺโต เอวํ ปสฺสนฺโต"  คือ  รู้เอง เห็นเอง  เช่นข้อความในพระสูตรหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้   จึงไม่จำต้องเชื่อตามสมณพราหมณ์อื่นใด"  (น โส ขฺวาหํ ภนฺเต เอวํ ชานนฺโต เอวํ ปสฺสนฺโต กสฺสญฺญสฺส สมณสฺส วา พฺราหฺมณสฺส วา สทฺธาย คมิสฺสามิ - สํ.สฬา.18/578/368)

   ข้อความตามข้างต้นนี้  แสดงให้เห็นว่า ความรู้ กับ ความเชื่อ นั้น ต่างกัน ความรู้มีลักษณะอ้างตนเองหรืออิงอาศัยตนเองเป็นหลัก ดังที่ท่านเรียกว่า รู้เองเห็นเอง ความรู้เป็นเรื่องของประสบการณ์ตรง ไม่ต้องอ้างอิงหรืออาศัยใครในเรื่องที่รู้แล้ว ดังข้อความในอีกพระสูตรหนึ่ง ซึ่งให้ลักษณะของผู้ที่รู้หรือลักษณะของความรู้ไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ วิคตกถํกโถ เวสารชฺชปฺโต อปรปฺปจฺจโย สตฺถุสาสเน. (ม.มู. 12/401/433)  ความว่า  ไม่สงสัย  ไม่มีคำถาม แกล้วกล้า และไม่เชื่อใครในคำสอนของพระศาสดา


   ลักษณะสำคัญของผู้รู้คือ "อปรปฺปจฺจโย" ซึ่งมีความหมายว่า "ไม่ต้องการอาศัยผู้อื่น" หรือ ไม่ต้องเชื่อใคร ในเรื่องที่ตนรู้แล้ว


   ส่วนความเชื่อหรือศรัทธานั้น เป็นเรื่องของการอ้าง หรืออิงอาศัยสิ่งอื่น บุคคลอื่น ฉะนั้น ความเชื่อจึงเป็นเรื่องของการยอมรับหรืออิงอาศัยคนอื่นเป็นหลักนั่นเอง

   ตามลักษณะของความรู้และศรัทธาดังกล่าวมา แสดงว่า สิ่งที่อยู่ในลักษณะเป็นความเชื่อนั้นยังไม่ใช่ความรู้ หรือ ว่าเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้นั่นเอง แม้สิ่งที่เราเชื่ออยู่ หากเราได้รู้เองเห็นเองเมื่อใด สิ่งนั้น ก็จะพ้นจากสภาพของความเชื่อมาเป็นความรู้ ดังตัวอย่างในพระบาลี ต่อไปนี้

  "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อ  ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส...แล้วนั้น ข้าพระองค์เชื่อตามพระผู้มีพระภาคเจ้าหามิได้ เพราะข้าพระองค์ก็ทราบข้อเหล่านั้นดี ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง   ข้อที่ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกว่า   ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไป ย่อมถึงสุคติ โลกสวรรค์ นั้น ข้าพระองค์ยังไม่ทราบ  ข้าพระองค์จึงเชื่อตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้" (องฺ.ปญฺจก.22/34/42)


   พระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นว่า ความเชื่อ กับ ความรู้ มีกระบวนการที่ต่างกัน กล่าวคือ ความเชื่อมาจากการรับรู้โดยไม่ผ่านการไตร่ตรองหรือโยนิโสมนสิการอันเป็นกระบวนการจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ สิ่งที่รับรู้มาจึงถูกเก็บไว้ทั้งดุ้นหรือเก็บไว้อย่างไม่มีการเลือกสรร ฉะนั้น ความเชื่อจึงมีลักษณะเป็นความรู้แบบหยาบๆ หรือเป็นความคิดที่ไม่เป็นระบบ


   ตัวอย่างของการรับรู้ที่นำไปสู่ความเชื่อ หรือ ก่อให้เกิดเป็นความเชื่อแก่คนทั่วไปก็คือ การรับรู้ ๑๐ ลักษณะ ดังที่แสดงไว้ในกาลามสูตร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของความเชื่อของคนทั่วไป และจากลักษณะของที่มาของความเชื่อ ๑๐ อย่างดังกล่าวแล้ว ก็สรุปได้ว่า ความเชื่อของคนโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา ๒ อย่าง คือ วัตถุ หรือ บุคคลภายนอก และความคิดเห็นของคนเอง


  ในบางพระสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ว่า สัทธา รุจิ (ความพอใจ) อนุสสวะ (การฟังตามๆกันมา) อาการปริวิตักกะ (การใช้เหตุผล) ทิฏฐินิชฌานักขันติ ( ความถูกใจ) ให้ผลเป็น ๒ อย่าง คือ

- สิ่งที่เชื่อ (ว่ามี) กลับว่างเปล่า ไม่จริงก็มี สิ่งที่ไม่เชื่อ (ว่ามี) กลับมีจริง แน่นอนก็มี

- สิ่งที่พอใจ กลับว่างเปล่า ไม่จริงก็มี สิ่งที่ไม่พอใจ กลับจริงแท้ แน่นอนก็มี

- สิ่งที่ฟังตามกันมา ฯลฯ

- สิ่งที่คิดอย่างดีแล้ว ฯลฯ

- สิ่งที่ถูกใจ ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน   (จังกีสูตร- ม.ม.13/655/601)


   ข้อความใพระสูตรดังกล่าวดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าเรื่องของความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามๆ กันมา การคิดเอาตามเหตุผล และความถูกใจ หรือ ความเข้ากันได้กับความเห็นของตนนั้น มีลักษณะเหมือนกัน คือ มีลักษณะเป็นการถือเอาความรู้สึก หรือ ความนึกคิดของตนเป็นใหญ่ และเรื่องราวที่ได้มาด้วยวิธีการเหล่านี้ สุดท้ายก็ถูกเก็บไว้ในลักษณะที่เรียกว่า สัทธา นั่นเอง และเรื่องของสัทธานั้นอาจผิดหรือถูกก็ได้ ทั้งนี้ เพราะยังไม่ใช่ความรู้หรือยังไม่รู้ เป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเท่านั้น


   แม้ความเชื่อที่ผ่านการไตร่ตรองมาอย่างดีแล้ว  ก็ยังคงไม่ใช่ความรู้  แต่เป็นเพียง "ความน่าจะเป็น" เท่านั้น และสิ่งที่เราเชื่อนั้น อาจจะจริงหรืออาจจะเท็จก็ได้ เพราะเป็นเพียงการคาดคะเนเอาตามเหตุผลว่า "น่าจะจริง" หรือ "น่าจะเท็จ" เท่านั้น  มิใช่รู้ว่าจริงหรือรู้ว่าเท็จ

   จากประเด็นเรื่องความเชื่อนี้  ยังชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญในพุทธปรัชญาอีกประการหนึ่ง คือ ความเชื่อกับความจริงนั้นเป็นคนละเรื่องกัน   ฉะนั้น   จึงไม่อาจเอาความเชื่อมาเป็นเกณฑ์ตัดสินความจริงได้ เพราะสิ่งที่คนเชื่ออาจจะไม่มีหรือไม่จริงก็ได้ และสิ่งที่มีและจริงคนก็อาจจะไม่เชื่อก็ได้ และเมื่อความเชื่อกับความคิดด้วยเหตุผลมีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดเหมือนกัน ฉะนั้น แม้การคิดด้วยเหตุผลก็ถือเอาเป็นเกณฑ์สำหรับตัดสินความจริงไม่ได้ เพราะสิ่งที่คิดอย่างดีแล้ว อาจจะไม่มีและไม่จริงก็ได้ แต่สิ่งที่แม้ไม่ได้คิดอย่างดีก็อาจมีหรืออาจจริงก็ได้เช่นกัน


   เนื่องจากความเชื่อ กับ ความรู้เป็นคนละเรื่องกัน พระพุทธศาสนาจึงถือว่า ผู้รู้จริงเป็นผู้ที่ไม่มีศรัทธาในใคร หรือ ในสิ่งใด มีหลักฐานในพระสูตรเป็นอันมากที่แสดงว่า พระอรหันต์ หรือ ผู้รู้จริงนั้น ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เช่น พุทธพจน์ที่ว่า

   อสฺสทฺโธ อกตญฺญู จ    สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร 
   หตาวกาโส วนฺตาโส     ส เว อุตฺตมโปริโส.  (ุขุ.ธ.25/17/28)

   ภิกฺขุ อญฺญตฺร สทฺธาย อญฺญตฺร รุจิยา อญฺญตฺร อนุสฺสวา อญฺญตฺร อาการปริวิตกฺกา อญฺญตฺร ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อญฺญตฺร พฺยากเรยฺยํ   (สํ.สฬา.18/239/173)

175 170 175

ความเชื่ออาจไม่จริง  ความจริงคนอาจไม่เชื่อ  9


Create Date : 17 พฤษภาคม 2565
Last Update : 17 พฤษภาคม 2565 10:48:46 น. 0 comments
Counter : 600 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space