กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2565
space
space
space

การให้ผลของความดี-ชั่ว(จบ)



   ในภูมิขสูตร (ม.อุ.14/405/273) แสดงว่าการกระทำดีที่จะทำให้บรรลุผลดีนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ๒ ประการ คือ

- โยนิโสมนสิการ

- วิธีการที่ถูกต้อง

  โยนิโสมนสิการ หมายถึงการพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอย่างรอบคอบ อันจะทำให้รู้ได้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่งก็คือ ทำด้วยความฉลาดรอบคอบหรือทำด้วยปัญญานั่นเอง

  ส่วนวิธีการที่ถูกต้องนั้น ได้แก่ วิธีการที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา  ซึ่งเป็นวิธีการที่ประกอบด้วยความรู้ที่ถูกต้อง  เจตนาที่ถูกต้องและการทำที่ถูกต้อง ฉะนั้น ตามความหมายของมัชฌิมาปฏิปทา  คำว่า  วิธีการ (ปฏิปทา) จึงมิได้มีความหมายเพียงแค่การกระทำ หรือลงมือกระทำเท่านั้น แต่หมายถึงการกระทำที่เกิดจากความรู้ที่ถูกต้อง มีเจตนาที่จะกระทำให้ถูกต้อง และกระทำในสิ่งที่่ถูกต้องด้วย จึงรวมเป็นวิธีการที่ถูกต้อง คือ ตรงต่อความเป็นจริง หรือ ตรงต่อผลที่เป็นจริง ผลที่ดี

  ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงแสดงว่า การกระทำสิ่งที่ดี (พรหมจรรย์) หากทำด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ย่อมบรรลุผลดีแน่นอน แม้จะทำด้วยความหวังหรือไม่หวัง ก็ย่อมจะได้รับผลดี ในทางตรงข้าม ถ้าทำสิ่งที่ไม่ดี แม้จะทำด้วยความหวังผลดีอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้รับผลดี เปรียบเสมือนการแสวงหาน้ำมันจากเม็ดทราย แสวงหาน้ำนมจากเขาโค แสวงหาไฟจากการเอาไม้สดมาสีกัน ฉะนั้น จากข้อความในพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นประเด็นที่สำคัญ ๒ ประการ คือ

  ๑.การให้ผลของความดีความชั่วนั้น ไม่ขึ้นอยู่กับความหวัง หรือ ไม่หวังของผู้ทำ ถ้าเราทำดีย่อมได้รับผลดีเอง ถ้าทำชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่วเอง เพราะเรื่องความดีความชั่วเป็นสิ่งที่เป็นไป หรือ ให้ผลตามกระบวนการของของธรรมชาติ หรือ ตามกระบวนการของมันเอง มิได้ขึ้นอยู่กับความคิดหรือความต้องการของผู้ทำ เพราะเป็นเรื่องของกฏแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล หรือกฎธรรมชาติ (ธรรมดา)

  ๒.แสดงให้เห็นว่า   เหตุเป็นตัวกำหนดผล  วิธีการเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย  กระบวนการให้ผลของความดีความชั่วเป็นวัตถุวิสัย

มัชฌิมาปฏิปทา.
-ปัญญา = ความรู้ถูกต้อง.
-ศีล     = การทำถูกต้อง.
-สมาธิ  = เจตนาถูกต้อง.  =  วิธีการที่ถูกต้อง - ผลที่ถูกต้อง  =  ผลดี. ความดี


  ในธนัญชานิสูตร (ม.ม.13/676/625) พระอานนท์แสดงว่าผู้ที่ทำชั่ว (อธมฺมจารี วิสมจารี) โดยอ้างว่า เลี้ยงพ่อแม่ เป็นต้น ย่อมไม่พ้นจากนรก ข้อนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าเรื่องของความดีความชั่วนั้นเป็นกฎตายตัว ไม่มีข้อยกเว้นไม่ว่ากรณีใดๆ ฉะนั้น เราจะอ้างความจำเป็นทำชั่ว เพื่อจะได้ไม่ต้องรับผลชั่ว หรือเพื่อให้ความผิดกลายเป็นถูกนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ผลของความดีความชั่วนั้น เป็นกระบวนการของธรรมชาติ และความผิดความถูก ก็เป็นลักษณะหรือธรรมชาติของการกระทำนั้นๆ เอง มิใช่ผิดถูกตามความนึกคิด หรือ ตามความต้องการของผู้ทำ

  พระพุทธศาสนาถือว่า ผลทางศีลธรรม หรือความดีความชั่วที่แต่ละคนทำนั่นเองเป็นเครื่องวัด หรือ เป็นเกณฑ์ในการจัดระดับชีวิตของมนุษย์ว่า สูงต่ำดีเลวกว่ากันอย่างไร ความสูงต่ำดีเลวของมนุษย์มิได้เกิดจากเชื้อชาติวรรณะ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในหลายพระพระสูตร มีวาเสฏฐสูตร (ม.ม.13/707/648)  เป็นต้น

  ประเด็นนี้จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือว่าศีลธรรมหรือความดีนั้นแหละ คือ เนื้อหาหรือสารัตถะอันแท้จริงของชีวิต  ชีวิตที่ว่างเปล่าจากความดี  จึงเป็นชีวิตที่ว่างเปล่าจากสารัตถะหรือไร้สาระ  ดังที่ท่านเรียกว่า โมฆะชีวิต
 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2565
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 7:53:08 น. 0 comments
Counter : 191 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space