กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
24 พฤษภาคม 2565
space
space
space

พื้นฐานของศีลธรรม(จบ)



    นอกจากหลักกรรม หรือกฎแห่งกรรมแล้ว  เรื่องศีลธรรมในพระพุทธศาสนายังขึ้นอยู่กับความจริงของคำสอนเรื่องจิตด้วย เพราะในกระบวนการของศีลธรรมนั้น พระพุทธศาสนาถือว่าจิตมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน กล่าวคือ

- จิต เป็นจุดเริ่มต้นของการทำดีทำชั่ว

- จิต เป็นตัวรับผลของความดีความชั่วโดยตรง เช่น บริสุทธิ์ สกปรก สุข ทุกข์

- จิต เป็นตัวเก็บความดีความชั่วไว้ และสิ่งที่จิตเก็บไว้นี้ได้กลายมาเป็นพื้นฐานของชีวิต ที่เรียกว่า สันดาน ความดีก็เป็นพื้นฐานทางดี เรียกว่า สันดานดี ความชั่วก็เป็นพื้นฐานทางชั่ว เรียกว่า สันดานชั่ว ความดีที่เก็บไว้ในจิตนั้น เรียกว่า บารมี ส่วนความชั่วที่เก็บไว้ในจิต เรียกว่า อาสวะ

- จิต เป็นตัวสืบทอดความดีความชั่วจากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง หรือจากมิติหนึ่งไปสู่อีกมิติหนึ่ง เช่น จากชีวิตในโลกนี้ไปสู่ชีวิตในโลกหน้า จากมิติแห่งมนุษย์ไปสู่มิติแห่งเทวดา จากมิติแห่งเทวดามาสู่มิติแห่งมนุษย์ เป็นต้น

- จิต เป็นตัวแปรที่สำคัญของการให้ผลของกรรม หรือผลของการทำดีทำชั่ว นั่นคือ สภาพจิตในขณะที่ทำดีทำชั่วนั้น และเจตนาในการทำดีทำชั่วนั้น  ย่อมทำให้ผลของการทำนั้นๆ แตกต่างกัน

  พื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของศีลธรรมในพระพุทธศาสนา ก็คือ เรื่องการตาย เกิด หรือสันตติแห่งชีวิต พระพุทธศาสนาเชื่อว่า ชีวิตของมนุษย์และสัตว์มิได้มีเพียงชาตินี้ชาติเดียว หรือสิ้นสุดกันเพียงชาตินี้เท่านั้น แต่ว่ายังคงสืบต่อไปอีกหลังจากการตายจากชีวิตนี้ และการสืบต่อของชีวิตอนาคตก็จะเป็นไปในรูปใดหรือในมิติใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลกรรมหรือความดีความชั่วที่แต่ละคนทำไว้ในชีวิตนี้ ฉะนั้น สันตติแห่งชีวิตจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของหลักศีลธรรม เพราะหากเรื่องสันตติแห่งชีวิตไม่เป็นจริง เรื่องศีลธรรมก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะไม่ว่าจะทำดีทำชั่วก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน เพราะสุดท้ายแล้วทุกอย่างก็สูญหมด หรือจบกันที่ความตายเท่านั้น


   เพราะฉะนั้น เรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องจิต และเรื่องสันตติแห่งชีวิต จึงเรียกได้ว่า เป็นพื้นฐานทางอภิปรัชญาของหลักศีลธรรมในพุทธศาสนา


   ความเป็นจริงของเรื่องบุญ บาป หรือ เรื่องความดี ความชั่ว นั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสยืนยันไว้โดยตรงด้วยว่า การละชั่วทำดีนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่เป็นจริง พระองค์ไม่ทรงสั่งสอน และการละชั่วทำดีนั้น หากไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือว่าไม่มีผลดีจริงแล้ว พระองค์ก็จะไม่ทรงสอนเช่นกัน (องฺ.ทุก.20/265/74)

   พระพุทธพจน์นี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า เรื่องความดีความชั่วนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่าเป็นจริง และเป็นสิ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขของชีวิต

172 170 172

ลึกซึ้งซับซ้อน.   สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม, เป็นเจ้าของแห่งกรรม, มีกรรมเป็นของตน,  มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, เขากรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม  เป็นทายาทแห่งกรรมนั้น 




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 24 พฤษภาคม 2565 13:07:50 น.
Counter : 261 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space