Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 พฤษภาคม 2565
 
All Blogs
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (๑)

๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เดินเที่ยวงาน "ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์" ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ไหน ๆ ก็มาแล้ว เราตั้งใจจะไปดูห้องจัดแสดงที่อาคารมหาสุรสิงหนาทอยู่แล้ว จัดไปในคราวเดียวเลยค่ะ

๑๐.๐๕ น. เช้าวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน



ติดต่อช่องจำหน่ายบัตรเข้าชม / ๒๐-๒๔ เมษายน ๒๔๖๕ เข้าชมฟรีค่ะ
ได้แผ่นพับพิมพ์ใหม่ สวยงามเลยค่ะ จัดการฝากเป้ที่ล็อคเกอร์แล้ว...



พระที่นั่งพุทไธสวรรย์


เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราช เจ้ามหาสุรสิงหนาท เดิมมีนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เดิมสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงมี พระราชด าริให้สร้างขึ้นเพื่อท าการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ เป็นต้น หลังจากนั้น เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๓๐ พระองค์เสด็จไปยังเชียงใหม่ และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมา พระองค์จึงทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหา ศักดิพลเสพ ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ อาจด้วยเหตุผล ๓ ประการ ได้แก่ ประการแรก เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีชื่อที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ดังนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้เพื่อให้แตกต่างไป ประการที่ ๒ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้ สร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่ ดังนั้นจึงได้เปลี่ยนชื่อให้คล้องจองกัน ประการสุดท้าย หลังจากการสร้าง พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์ทรงย้ายพระแท่นเศวตฉัตร ซึ่งเดิมอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์คงมีพระราชดำริให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เคยเป็น จึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งใหม่เป็น “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์”



ถ้าเลื่อนลงดูกรุ๊ปบล็อกนี้ เราอัปบล็อกพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร หลายครั้งมาก...อย่างที่บอก พยายามจะเก็บภาพลงบล็อกให้มากที่สุดค่ะ



ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์



พระพุทธสิหิงค์
เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิสูง ๗๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๗๐๐ ต่อมาเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงรายตามลำดับ เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงราย จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปไว้ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา เป็นเวลานานถึง ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ก็ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปยังเชียงใหม่อีกครั้ง ต่อมาเมื่อมณฑลพายัพได้กลับมารวมเป็นส่วนหนึ่งของสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้เสด็จไปราชการทัพยังเชียงใหม่ จึง ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมายังกรุงเทพมหานครฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ และขอพระราชทานประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์อยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่นั้นมา





ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ โดยเฉพาะผนังที่เขียนเรื่องพุทธประวัติ มีทั้งหมด ๓๒ ผนัง







ถอดรองเท้าก่อนเข้าชม...พื้นเงาวับ สะอาดมาก





พระตำหนักแดง 



ศาลาสำราญมุขมาตย์



สวยมากค่ะ



พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ท้องพระโรงวังหน้า







พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เดิมเป็นพระที่นั่งท้องพระโรงของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า สำหรับพระมหาอุปราช เสด็จออกว่าราชการ หรือเสด็จออกรับแขกเมือง ซึ่งเป็นการเสด็จออกอย่างเต็มยศในการพระราชพิธีอันเป็นมหาสมาคม รวมทั้งใช้เพื่อการพระราชพิธีและการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ



พระราชบัลลังก์บุษบกมาลา ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งเป็นประธานอยู่ในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระราชบัลลังก์บุษบกมาลาวังหน้าองค์นี้ สร้างด้วยไม้เป็นฐานลดหลั่นรองรับกัน ๓ ชั้น จำหลักลายปิดทองประดับกระจก ที่ฐานเชิงบาตรทั้ง ๓ ชั้น มีรูปแกะสลักเป็นยักษ์ ครุฑ และเทพพนม ติดประดับเรียงรายโดยรอบ ที่ปลาย ๒ ข้างของฐานชั้นบนสุดมีที่ปักฉัตร ปลายฐานแต่ละชั้นมีเกรินแกะสลักอย่างงดงามประดับอยู่ทั้ง ๒ ข้าง







พระแท่นบวรเศวตฉัตร ตั้งแสดงอยู่ในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เคียงคู่กับพระราชบัลลังก์บุษบกมาลา สำหรับเสด็จออกอย่างเต็มยศในการพระราชพิธี ยังใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พระบรมอัฐิ และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์นั่งแสดงพระธรรมเทศนาในพระราชพิธีต่าง ๆ ทำด้วยเครื่องไม้แกะสลัก จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก มีฐาน ๒ ชั้น ที่ฐานเชิงบาตร์ชั้นล่างแกะสลักรูปครุฑ ชั้นบนเป็นเทพพนม ติดประดับโดยรอบพระแท่นบวรเศวตฉัตร ที่กระดานพิงประดับตราจุฑามณีบนพานแว่นฟ้า พระบวรราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว





แผนผัง พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยและหมู่พระวิมาน



อาจจะไม่ได้เดินครบทุกห้องจัดแสดงนะคะ บางห้องเราเคยอัปบล็อกไปแล้วด้วยล่ะค่ะ







เบื้องหน้าพระแท่นบวรเศวตฉัตร คือ พระแท่นออกขุนนางโดยปกติ พระแท่นไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจกสำหรับประทับออกว่าราชการโดยปกติ ณ พระที่นั่งอิศราวินิฉัย




















พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ จัดแสดงเครื่องสูง พระแท่นและพระโธรน







พยายามจะถ่ายให้ติดป้ายจัดแสดงมาด้วย แต่ไม่ครบทุกภาพค่ะ













พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร จัดแสดงราชยาน คานหาม



พระที่นั่งทักษิณาภิมุข จัดแสดงมหรสพและการละเล่น













ภาพเขียนด้านหลังประตู





เดินออกมาแล้วค่ะ เดี๋ยวไปอาคารมหาสุรสิงหนาท



ห้องน้ำอยู่หลังพระตำหนักแดง สะอาดมากค่ะ



ศาลาสำราญมุขมาตย์ สถาปัตยกรรมไทย



อาคารมหาสุรสิงหนาท



การจัดแสดงภายในอาคาร อาคารมหาสุรสิงหนาท แบ่งเป็น ห้องศิลปะเอเชีย เพื่อแสดงความหลากหลายของรูปแบบศิลปกรรมในภูมิภาคเอเชีย ห้องก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการพัฒนาตามลำดับ ห้องทวารวดี เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ห้องลพบุรี เล่าเรื่องศิลปกรรมที่มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมเขมรในราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ และปิดท้ายด้วย ห้องศิลปะศรีวิชัย นำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีของวัฒนธรรมศรีวิชัยโดยเฉพาะในทางตอนใต้ของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๘







แปะภาพยาว ๆ เลยนะคะ ในห้องจัดแสดงมีป้ายอธิบายทุกชิ้นค่ะ



















“งานมาสเตอร์พีซอีกชิ้นคือ
พระพุทธรูปปางประทานพรแบบศิลปะคุปตะของอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยสกุลช่างสารนาถซึ่งนักวิชาการกล่าวว่าเป็นยุคทองของศิลปะอินเดียเหมือนกับสมัยสุโขทัยของเรา พระพุทธรูปในยุคนี้มีความเป็นมหาบุรุษมากกว่าแบบสกุลคันธาระ เช่น ผมขมวดเป็นก้นหอย กะโหลกศีรษะปูด หูยาว แขนยาวเกือบเสมอหัวเข่า เครื่องเพศเก็บอยู่ในฝักและไม่ได้เปลือยแต่ห่มจีวรบางแนบลำตัวแบบผ้าไหมกาสีของแคว้นกาสี” คุณศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อธิบาย





































































สแกนจากแผ่นพับเลยค่ะ 




Create Date : 17 พฤษภาคม 2565
Last Update : 17 พฤษภาคม 2565 15:45:40 น. 0 comments
Counter : 1327 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปัญญา Dh, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณtoor36, คุณหอมกร, คุณmariabamboo, คุณpeaceplay, คุณปรศุราม, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณhaiku, คุณกะว่าก๋า, คุณKavanich96, คุณSweet_pills, คุณThe Kop Civil, คุณtuk-tuk@korat, คุณทนายอ้วน, คุณชีริว, คุณเริงฤดีนะ, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณทูน่าค่ะ, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.