Group Blog
 
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 เมษายน 2564
 
All Blogs
 
ปัตตานี เบตง นราธิวาส : วัดช้างให้ วังยะหริ่ง

กรุ๊ปบล็อกเที่ยวภาคใต้ ครั้งล่าสุด คือ เที่ยวระนอง ช่วงสงกรานต์ปี 2561
อย่างที่บอกหลายรอบล่ะค่ะ ภูเขากับทะเล เราชอบภูเขามากกว่า จริง ๆ ทะเลบ้านเราสวยมาก 
ไม่ว่าจะเป็นฝั่งอ่าวไทย หรือฝั่งอันดามัน แต่เราไม่ค่อยชอบ อาจจะเพราะเมาเรือด้วย
พวกทริปดำน้ำทั้งหลายแหล่ เลยไม่ค่อยอิน ชอบดูรูปที่เค้าถ่ายมามากกว่าค่ะ
  
...ทริปนี้เป็น 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ไปเที่ยว แพลนไว้ก่อนช่วงโควิด-19 ระลอกใหม่ (ไม่เน้นทะเลเด้อพี่น้อง)  
ตามข่าวสถานการณ์โควิด นึกว่าจะไม่ได้มาแล้วด้วยซ้ำ ตัดใจแล้วว่า อย่างมากก็แค่ทิ้งตั๋ว
(พี่สาวเราจองตั๋วไว้ตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 ขาไปลงสนามบินหาดใหญ่ 550 บาท ขากลับจากสนามบินนราธิวาส 1,190 บาท)
พอช่วงเดือนกุมภา สถานการณ์เริ่มดีขึ้น เลยเพิ่งจองห้องพัก (เช็คแล้วว่าปลายทางไม่มีกักตัว)
ขาไปลงสนามบินหาดใหญ่ มีลงทะเบียนเข้าเมืองก่อนออกจากสนามบิน (ต่างคนต่างป้องกันตัวเองเนาะ) 



สนามบินดอนเมือง เช้าวันที่ 3 มีนาคม 2564 ทริปนี้ เรามาสองคนกับพี่สาวค่ะ



จองไว้ไฟลท์ 07.10 - 08.55 น. แอร์เอเชียแจ้งเลื่อนไฟลท์เป็น 08.30 - 10.05 น. (แต่ผู้โดยสารเต็มลำนะคะ)



09.50 น. ถึงก่อนเวลาค่ะ



คุณมะเฟือง - ไกด์พาเที่ยวปัตตานี มารับที่สนามบินหาดใหญ่เลยค่ะ



คุณมะเฟือง ปกติเป็นทัวร์ลีดเดอร์ต่างประเทศค่ะ ช่วงโควิด-19 ไม่ได้ไปไหนเลย
เธอออกตัวว่า ไม่เคยพาลูกทัวร์เที่ยวเมืองไทยเหมือนกัน
อาจจะไม่มีข้อมูลท่องเที่ยวมากนัก เลยบอกว่า ไม่เป็นไร พี่ไม่ซีเรียส ไม่ได้เน้นข้อมูลอะไรขนาดนั้น



คุณมะเฟืองนี่  ที่มาที่ไปคือ เราวานน้องที่ทำงานเก่า ให้น้องช่วยติดต่อหาไกด์พาเที่ยวปัตตานีให้หน่อย น้องก็ไปวานน้องชายอีกคนอีกต่อ... 
จากนั้นก็ให้เราคุยกับไกด์เอง ทั้งเรื่องราคาและแพลนเที่ยวคร่าว ๆ 
เหมือนจะหลายต่อหลายขั้นตอน แต่เราโชคดี ได้ไกด์ดีมาก ประทับใจเลยค่ะ
สรุปคือ ต่างคนต่างถูกชะตากัน น้องไกด์ก็บอกว่า เรากับพี่สาวไม่เรื่องมาก
พาไปกินอะไรก็อร่อย พาไปเที่ยวไหนก็ไป 5555 

ถามคุณมะเฟืองว่า จริง ๆ แล้ว ปัตตานีน่ากลัวมั้ย น้องบอกว่า อย่างที่เห็นมีบังเกอร์มีจุดตรวจมีซุ้มอยู่เป็นระยะ ทุกคนอยู่กับความไม่ปกติแบบนี้จนเป็นปกติแล้ว



11.57 น. จุดแรกที่แวะเที่ยวกัน "วัดช้างให้" ค่ะ



มีรางรถไฟอยู่ตรงกลาง ระหว่างบริเวณวัด และอีกฝั่งเป็นลานจอดรถ และร้านค้าขายของ



ร้านค้าเงียบเหงาหน่อย วันธรรมดาด้วย ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ด้วยมัง







ข้ามทางรถไฟมา ด้านหน้าทางเข้าวัด


 
วัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วกว่า 300 ปี ตามตำนานกล่าวว่า พระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี ต้องการหาชัยภูมิสำหรับสร้างเมืองใหม่ให้กับน้องสาว จึงได้เสี่ยงอธิฐาน ปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป จนมาถึงวันหนึ่ง ช้างได้หยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง พระยาแก้มดำจึงได้ถือเป็นนิมิตที่ดี จะใช้บริเวณนั้นสร้างเมือง แต่น้องสาวไม่ชอบ พระยาแก้มคำจึงให้สร้างวัด ณ บริเวณดังกล่าวแทน แล้วให้ชื่อว่า วัดช้างให้ แล้วนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านลังกา หรือ สมเด็จพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ท่านได้เดินธุดงค์ไปมาระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ และได้สั่งลูกศิษย์ไว้ว่า ถ้าท่านมรณะภาพ ขอให้นำศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ ซึ่งเมื่อท่านมรณะภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ก็ได้นำศพท่านมา ทำการฌาปนกิจที่วัดช้างให้ อัฐิของท่านส่วนหนึ่งฝังไว้ที่วัดช้างให้ อีกส่วนหนึ่งนำกลับไปเมืองไทรบุรี ต่อมาได้สร้างสถูปบรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดช้างให้





มาถึงปัตตานี ไม่ได้มาวัดช้างให้ ถือว่ามาไม่ถึง



วิหารสมเด็จหลวงพ่อทวด











อุโบสถ และวิหารพระครูวิสัยโสภณ หรือวิหารยอด




ลักษณะของพระอุโบสถหลังนี้ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 3 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ 3 ตับ มีมุขลดทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ห้อง โดยมีเสาสี่เหลี่ยม 4 ต้น รองรับโครงหลังคา ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก






หน้าบันปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาประธานภาพตรงกลางเป็นพระอิศวรทรงช้างเอราวัณด้านล่างจารึก พ.ศ. ๒๔๙๙  อีกด้านเป็นรูปพญาครุฑ ฐานพระอุโบสถยกพื้น 2 ชั้น ชั้นแรกอยู่ในแนวเดียวกับเสารองรับชายคา







สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด



มณฑปหรือสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวด ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด ติดกับทางรถไฟ ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนมีลวดลายสวยงาม ประดับด้วยสีทองเหลืองอร่ามสวยงาม เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป  



ด้านหลังวิหารสมเด็จหลวงพ่อทวด











ป้ายแนะนำบอกว่า เป็นวัดเก่าแก่กว่า 400 ปี 



หอระฆังสวยมากค่ะ





เช่าพระเครื่องกลับไปด้วยค่ะ



ขนมเปี๊ยะนาประดู่ ของขึ้นชื่อของที่นี่ ส่วนมากเค้าซื้อกล่องใหญ่ ก้อนใหญ่ เรากินไม่หมด เลยซื้อแบบก้อนเล็กมา 5 บาท ซื้อมาลอง 4 ก้อน (2 คน) ไส้เหมือนไส้เค็มของขนมเทียน หอม เผ็ด พริกไทย ตัวแป้งก็ดีไม่ติดฟันติดเหงือก อร่อยกว่าที่คิด มาถึงที่แล้วต้องลอง 



บ่ายโมงกว่า คุณมะเฟืองพามากินอาหารพื้นเมือง นาซิอีแดกำปง





ตอนเรามา ยำผักกูดหมดค่ะ เลยทำผัดผักบุ้งมาแทน



ได้ที่นั่งเรียบร้อยแล้ว น้องเค้าจะเอาใบตองมาวางก่อนค่ะ  เสิร์ฟน้ำชามาในขัน จากนั้นก็คีบผักลวกวาง จิ้มกับน้ำบูดู, น้ำพริก



แกงเหลืองปลามูโด๊ะใส่ส้มแขก รสชาติไม่เผ็ด กลมกล่อมดีค่ะ / ปลาทูสดย่าง คนละตัว 



ผัดผักบุ้ง แทนยำผักกูด รสชาติออกหวานหน่อย



จริง ๆ ต้องเปิบมือ แต่เค้าก็มีช้อนส้อมมาให้ค่ะ เซ็ตนี้หัวละ 99 บาท เติมได้ทุกอย่าง ยกเว้นปลาทูย่าง ได้คนละตัว



ของหวานเป็นขนมมันสำปะหลัง หรือ บอกออุบีกายู หน้ากะทิเค็มนิด ๆ อร่อยดีค่ะ



มื้อแรกที่ปัตตานีอร่อย ประทับใจเลยค่ะ...ผู้คนชาวบ้านชาวช่องเค้าอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสดีค่ะ 



จุดหมายต่อมา วังยะหริ่ง มาถึงเห็นประตูปิดใจแป้วเลยค่ะ  มองเข้าไปในด้านใน บ้านสวยมาก คุณมะเฟือง คุยโทรศัพท์กับใครไม่ทราบ สักพักบอกเปิดประตูเล็กเข้าไปได้ค่ะ



เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ไม่มีนำชมนะคะ ปกติที่นี่ยังมีทายาทอาศัยอยู่ด้วยค่ะ ด้านหน้ามีป้ายบอก ห้ามปักหมุด



เอาคลิปพาชมสถาปัตยกรรมวังยะหริ่งมาฝากด้วยค่ะ





สถาปัตยกรรมของวัง ได้รับแนวคิด 3 สไตล์รวมกัน ประกอบไปด้วย มลายู ชวา และยุโรป ตัววังจะสร้างด้วยไม้ตะเคียนทองทั้งหลัง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นปูน ชั้นบนเป็นไม้



ชั้นบนจะเป็นที่ทำการของเจ้าเมืองไว้ตัดสินคดีความและรับแขกบ้านแขกเมือง โดยเจ้าเมืองกับลูกหลานจะอาศัยอยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างจะเป็นที่อยู่อาศัยของทาสหรือเครือญาติ ภายในวังจะสร้างเป็นรูปตัวยู





ปัจจุบันวังแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของลูกหลานไม่ใช่พิพิธภัณฑ์


















บ่ายสองกว่า ยังเที่ยวกันต่อ ยังไม่ถึงที่พักเลยค่ะ



เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เสียดาย ไม่ได้นั่งเรือเที่ยว... ปัตตานี ดีกว่าที่คิด มาเที่ยวกันนะคะ ไม่น่ากลัวเลย



ท่าเทียบเรือ บูนาดารา เป็นอีกหนึ่งท่าเทียบเรือที่เป็นท่าประจำของชาวบ้านหมู่ที่1 ต.ตะโล๊ะกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี





ชาวประมงพื้นบ้านจะเข้าเข้า ๆ ออก ๆ บริเวณท่าเรือแห่งนี้ในการหาปลา รวมไปถึงการให้บริการล่องเรือท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หลังจากว่างเว้นจากการหาปลา นับเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในการรวมกลุ่มของชาวบ้าน เป็นการสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย





ขออนุญาตถ่ายภาพแล้วนะคะ














Create Date : 04 เมษายน 2564
Last Update : 4 เมษายน 2564 17:06:45 น. 0 comments
Counter : 2601 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณtoor36, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณmultiple, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณhaiku, คุณเริงฤดีนะ, คุณKavanich96, คุณอุ้มสี, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณปรศุราม, คุณตะลีกีปัส, คุณkae+aoe, คุณInsignia_Museum, คุณ**mp5**, คุณJenNy & Tristan @ The UK, คุณผีเสื้อยิปซี, คุณออโอ, คุณกะว่าก๋า, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณทนายอ้วน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSleepless Sea, คุณSai Eeuu, คุณnewyorknurse, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณกาบริเอล, คุณThe Kop Civil, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณnonnoiGiwGiw, คุณRinsa Yoyolive


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 166 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.