HR Management and Self Leadership
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
16 ตุลาคม 2555

แนวทางการแก้ไขปัญหาพนักงานเอาเวลาทำงานไปทำอย่างอื่น

เมื่อวานนี้ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องของพนักงานเอาเวลาทำงานไปทำอะไรอย่างอื่นบ้างในขณะที่ทำงานอยู่ ซึ่งก็เป็นผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากทาง Salary.com และจากบทความนี้เอง ก็มีท่านผู้อ่านหลายท่านได้ให้ความเห็นว่าเหมือนกับที่เป็นอยู่ในบริษัทเลย และสอบถามกันมาว่าจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรกันบ้าง ซึ่งผมจะสรุปให้อ่านกันในบทความวันนี้ครับ

แนวทางในการแก้ไขเรื่องของการใช้เวลาการทำงานไปกับการทำอย่างอื่นของพนักงานนั้น งานวิจัยจากสำนักเดียวกันได้ทำการศึกษาและสอบถามจากผู้บริหารในองค์กรว่า ถ้าปัญหาเกิดขึ้นแบบนี้จะมีวิธีการและแนวทางในการแก้ไขอย่างไร ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก็อาจจะไม่สามารถนำไปใช้กับทุกองค์กรได้นะครับ เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และลักษณะของคนทำงานในแต่ละองค์กรด้วย และที่สำคัญก็คือ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เพราะเราจ้างคนเข้ามาทำงาน ไม่ใช่ใช้เครื่องจักรทำงานนั่นเองครับ แต่ก็คงต้องทำให้ลดน้อยลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

  • มอบหมายงานให้มากขึ้น ถ้าพอรู้ว่าพนักงานเอาเวลาไปทำอย่างอื่นมากกว่า แสดงว่าเขามีเวลาว่างมาก สิ่งที่จะต้องทำก็คือ มอบหมายงานให้กับพนักงานคนนั้นให้มากขึ้น
  • ลดความสมบูรณ์แบบลง หัวหน้าบางคนอาจจะต้องการความสมบูรณ์แบบในการทำงานอย่างมาก ซึ่งก็จะเป็นผลทำให้พนักงานรู้สึกเครียดและถูกกดดันอยู่ตลอด ก็เลยเป็นผลทำให้พนักงานไม่มีใจจะทำงาน เลยเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เพื่อให้หายเครียด ดังนั้น ถ้าปัญหาเกิดจากสาเหตุนี้ หัวหน้าเองก็คงต้องลดความสมบูรณ์แบบในการทำงานลงบ้าง ยอมรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง
  • กำหนดจุดตรวจสอบเป็นระยะๆ หัวหน้าจะต้องกำหนดจุดควบคุมและตรวจสอบเป็นระยะๆ คือทิ้งให้พนักงานทำงานอย่างอิสระมากเกินไปก็ไม่ได้ หรือในทางตรงกันข้ามจะควบคุมใกล้ชิดเกินไป ก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ทางที่ดีก็คือ คุยกันว่างานที่ทำอยู่นั้น จะต้องส่งรายงานความคืบหน้าอะไรบ้างเมื่อไหร่
  • กำหนดเส้นตายของงาน หัวหน้าจะต้องกำหนดเส้นตาย และวันกำหนดเสร็จของงานแต่ละงานไว้อย่างชัดเจน และหมั่นคอยตรวจสอบความคืบหน้าของพนักงานอยู่เป็นระยะๆ เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่าหัวหน้ายังคงติดตาม และดูแลการทำงานอยู่เสมอ จะได้ไม่เอาเวลาไปใช้ทำอย่างอื่นเยอะนัก
  • กำหนดผลสำเร็จของงานให้ชัดเจน หัวหน้าบางคนไม่สนใจว่าพนักงานจะใช้เวลาอย่างไรในแต่ละวัน แต่จะกำหนดผลสำเร็จของงานร่วมกับพนักงานอย่างชัดเจน รวมทั้งกำหนดเส้นตายไว้ว่าจะต้องเสร็จเมื่อไหร่ จากนั้นก็ปล่อยอิสระให้พนักงานไปทำงานเอง ควบคุมดูแลการทำงานของตนเอง ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี การที่หัวหน้าปล่อยมากเกินไป ก็อาจจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าหัวหน้าไม่สนใจ ไม่ใส่ใจก็เป็นได้ครับ
  • สร้างการแข่งขัน ความสนุกสนานในการทำงาน เพื่อให้เกิด Productivity ในการทำงานของพนักงานแต่ละคน สิ่งที่องค์กรและหัวหน้างานจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นก็คือ การแข่งขันกันในการสร้างผลงาน และสร้างบรรยากาศในการทำงานที่มีความสนุกสนานกับงานที่ทำ เพื่อไม่ให้พนักงานไปสนุกกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่งานนั่นเองครับ

สิ่งที่ผมเขียนมาข้างต้นนั้น ไม่ใช่ความคิดของผมเองทั้งหมดนะครับ เป็นผลมาจากงานวิจัยด้วยครับ ดังนั้นการที่จะนำแนวทางการแก้ไขเหล่านี้ไปใช้ ก็คงจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรของเราด้วย สไตล์ในการทำงานของหัวหน้าแต่ละคน รวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กรของเราว่าเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ดีแนวทางเพื่อไม่ให้พนักงานเอาเวลาของบริษัทไปใช้ทำอย่างอื่นมากเกินไปนั้น ก็คงต้องให้การทำงานเน้นไปที่ผลงานมากขึ้น และอีกเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือ การพิจารณาอัตรากำลังให้เหมาะสม เพราะบางองค์กรจ้างพนักงานเข้ามาทำงานไม่กี่งานเอง แต่จ้างมามากมาย ผลก็คือ เกิดการจับกลุ่มคุยกัน เพราะไม่มีงานให้ทำนั่นเองครับ




 

Create Date : 16 ตุลาคม 2555
0 comments
Last Update : 16 ตุลาคม 2555 6:51:11 น.
Counter : 1922 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]