HR Management and Self Leadership
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
24 มกราคม 2554

แรงจูงใจพนักงานกับการสร้างผลงานที่ดี – Freedom

วันนี้ก็มาถึงปัจจัยสุดท้ายแล้วที่หนังสือเรื่อง Aha Performance เขียนไว้เกี่ยวกับแรงจูงใจพนักงานที่จะทำให้ผลงานพนักงานดีขึ้น ซึ่งน่าเอาไปปรับใช้มากเลยทีเดียว ปัจจัยสุดท้ายที่พูดถึงก็คือเรื่องของ Freedom ซึ่งก็คือความต้องการอิสระในการทำงานนั่นเองครับ

เรื่องของ Freedom นี้ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน พวกเราต้องการความอิสระ ไม่ว่าจะเป็นอิสระทางกายภาพ ทางความคิด ในการพูดจาต่างๆ เราไม่ชอบที่จะถูกบังคับ กักขัง หน่วงเหนี่ยว นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เวลาคนทำผิด ก็มักจะถูกจับไปขังคุก เพื่อไม่ให้อิสระภาพในการดำรงชีวิต คนที่ถูกขังก็จะเริ่มหมดแรงจูงใจ วันๆ ก็จะไม่มีอะไรทำ รู้สึกชีวิตไม่มีคุณค่าใดๆ

ในการทำงานก็เช่นกันครับ พนักงานทุกคนล้วนอยากมีอิสระภาพในการทำงานของตนเอง ไม่อยากอยู่ภายใต้การควบคุมการทำงานทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิดความอ่านเยอะๆ หน่อย ผมเองเคยเจอหัวหน้างานประเภทที่ว่าคุมไม่ปล่อยเลย ก็คือ มอบหมายงานไปแล้ว ก็เดินมาดูเราทำงาน มานั่งอยู่ข้างๆ คอยบอกว่าแบบนี้ใช่ แบบนี้ไม่เอานะ แบบนี้ผมไม่ชอบ คุณต้องทำแบบนี้จะดีกว่า ถ้าท่านเจอหัวหน้าแบบนี้ท่านจะรู้สึกอย่างไรครับ ผมเองรู้สึกไม่มีอิสระในการทำงานเลย คิดในใจว่า “ถ้าอยากได้แบบที่ตนเองต้องการเป๊ะๆ ก็ทำเองจะดีกว่ามั้ย”

พนักงานที่ระดับที่ทำงานแบบวิชาชีพเฉพาะทางนั้น เราเองจะต้องปล่อยให้เขามีอิสระในการทำงานของตนเอง โดยที่หัวหน้างานอาจจะตรวจสอบแค่เพียงขั้นตอนคร่าวๆ ความคืบหน้า และผลของงานที่ออกมานั้นว่ามันเป็นไปตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ โดยปล่อยให้เขาไปหาแนวทางในการทำงานเอาเอง แบบนี้ก็จะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้พนักงานได้อีกทางหนึ่ง

ในการเอาเรื่องของ Freedom ไปใช้ในการทำงานจริงนั้น หัวหน้างานจะต้องยอมให้อิสระ ยอมให้ลูกน้องได้คิด ได้พูด ได้โต้แย้งในมุมมองของเขามากขึ้น ไม่ใช่ยึดแต่ความคิดของตนเองเป็นหลัก เหตุการณ์เหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนในระหว่างการประชุมทีมงาน หัวหน้างานก็จะพูด พูด พูด พูด อยู่ฝ่ายเดียว พนักงานก็ทำหน้าที่ ฟัง ฟัง ฟัง ฟัง ฟัง บางคนก็นั่งวาดการ์ตูน นั่งเล่น BB บรรยากาศมันไม่ใช่การประชุมเลย เหมือนมานั่งฟังเทศน์มากกว่า

ดังนั้นการที่หัวหน้างานจะให้ Freedom แก่พนักงานได้นั้น ง่ายๆ ก็คือ การสอบถามในที่ประชุมว่า ใครมีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องที่กำลังคุยกัน และปล่อยให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ อีกทั้งพยายามนำเอาความเห็นของพนักงานมาใช้ต่อ ถ้าความเห็นนั้นเป็นความเห็นที่ดี (Power and recognition) ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกมีอิสระที่ได้คิด และถ้าคิดดีแล้ว นายก็ยังส่งเสริมให้เขารู้สึกมีอำนาจ และได้รับการยอมรับในทีมงาน เท่ากับว่าเราสามารถเข้าหลักแรงจูงใจที่กำลังคุยกันอยู่ถึง 2 เรื่องเลย ก็คือ Freedom และ Power and recognition และถ้ายิ่งไปกว่านั้นในการประชุมยังมีการแซวเล่นกันบ้าง เล่าเรื่องตลกๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ บ้าง ก็จะไปเพิ่มเรื่องของ Fun เข้าไปอีกด้วย เมื่อทุกอย่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน การทำงานก็จะดีขึ้น แรงจูงใจพนักงานก็จะมาเรื่อยๆ ผลงานก็จะดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อเราได้ทราบถึง 5 ปัจจัยความต้องการของคนเราในการทำงานให้ดีแล้ว สิ่งต่อไปที่หัวหน้างานทุกคนจะต้องทำไปใช้ต่อก็คือ จะหยิบเอาสิ่งเหล่านี้ไปใช้กับการทำงานของตนเองได้อย่างไร ความต้องการเหล่านี้มันไม่มีการเรียงลำดับใดๆ นะครับ ไม่มีอะไรมาก่อนมาหลัง อยู่ที่พนักงานของเขาแต่ละคน และอยู่ที่เราดูแลพนักงานแต่ละคนอย่างไรด้วยเช่นกัน บางคนเราคุมเข้มมากเกินไป และทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัด จะคุยจะพูดอะไรก็ไม่ค่อยได้ แบบนี้ก็คงต้องเปลี่ยนมาใช้ Freedom และ Fun ให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานใหม่ บางคนเราเห็นเขาทำงานเครียดมาตลอด ก็อาจจะอนุญาตให้เขาไปเที่ยว (Fun) และบอกว่าอนุญาตให้พักร้อนไปเลยเพราะทำงานมาเยอะแล้ว (Freedom) และบอกไปว่าที่เหลือเดี๋ยวผมทำต่อให้เอง แค่นี้ผลงานที่ออกมาก็เยี่ยมยอดเกินคาดแล้ว (Power and recognition)

พอจะเห็นวิธีการนำไปประยุกต์ใช้บ้างนะครับ ก่อนจบก็อยากจะเน้นว่า เรื่องของแรงจูงใจระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องนั้นต้องอย่าลืมว่ามันเริ่มจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ดังนั้นถ้าเรายังไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกน้องมากนักก็ต้องเริ่มในข้อ Love and belonging ก่อนเลยนะครับ เพราะถ้าไม่มีเรื่องนี้ เราไปทำตลกเพื่อให้พนักงานสนุก พนักงานจะไม่มองแบบนั้นสิครับ เขาจะมองว่า “นายบ้าหรือเปล่า เล่นอะไรก็ไม่รู้ ไม่ได้เรื่องเลย เป็นถึงผู้บริหารแต่ทำตัวเหมือนเด็กๆ !!” ก็เพียงแค่สาเหตุจากความสัมพันธ์ที่ยังไม่ดีนั่นเองครับ

สรุปสุดท้ายแล้ว เรื่องของแรงจูงใจในการสร้างผลงานที่ดีให้กับพนักงานนั้น เราใช้เครื่องมือเรื่องของเงินไม่ค่อยได้ผลหรอกครับ สิ่งที่จะต้องเสริมเข้าไปก็คือ เรื่องของ Intrinsic Motivation ซึ่งแปลว่า ความรู้สึกทางด้านจิตใจนั่นเองครับ โดยที่ปัจจัยทั้ง 5 ตัวที่ได้ศึกษากันไปนั้น มีเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เป็นเรื่องของสิ่งที่จับต้องได้ เงิน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ก็คือเรื่องของ Survival needs นั่นเอง นอกนั้นเป็นเรื่องของความต้องการที่ไม่สามารถจับต้องได้เลย แต่กลับมาพลังมากมายในการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานสำหรับการสร้างผลงานที่ดีขึ้นครับ

หวังว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้ไอเดียบางอย่างไปปรับใช้กับพนักงานของท่านบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร




 

Create Date : 24 มกราคม 2554
3 comments
Last Update : 24 มกราคม 2554 5:52:48 น.
Counter : 1458 Pageviews.

 

ตัวเราเองก็เจอเจ้านายแบบนี้เหมือนกัน ให้งานแล้วถามเวลา เรายังไม่รู้เลยว่า งานยากงานง่าย เจ้านายบอกว่าไม่สามารถรอจนทำเสร็จเพราะต้องแพลนงานด้านอื่นด้วย บอกมาแล้วกันว่ากี่วันถามความคืบหน้าตลอดเวลา พอทำไปเจอปัญหามากมาย ไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดก็โดนด่า ทำผิดก็โดนว่า
เราว่า คนที่เป็นเจ้านายที่คิดว่ารู้มาก น่าจะเข้ามาอ่านบ้างนะ แต่เห็นคุยว่า ไปสัมมนามา เขาก็พูดแนวทางการบริหารเหมือนตัวแกทำอยู่ปัจจุบันเนี่ย มีคนต้องเยอะแยะที่บริหารงานยิ่งกว่าตัวแกอีก เราฟังแล้ว เจ้านายคงจะบอกให้คิดว่า สิ่งที่เข้าทำกับพนักงานเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว พวกเรายังไม่มีที่ไป ก็ก้มหัวกัมหน้าทนทำ ทนเจ้านายแบบนี้ จนกว่าจะมีที่ไป

 

โดย: skies 24 มกราคม 2554 7:39:27 น.  

 

 

โดย: wbj 24 มกราคม 2554 9:46:23 น.  

 

Photobucket

 

โดย: Junenaka1 24 มกราคม 2554 13:36:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]