###### รีวิวทริปบ้านหาดผาขน จ.น่าน - ตอนที่ 2 สักการะพระธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ ######
สวัสดีค่ะ เอนทรี่ล่าสุด รีวิวร้านเจ๊ขาวซีฟู้ดแอนด์ปลาเผา หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ - ชาวต่างชาติมากินกันเยอะค่ะ (คลิกเพื่ออ่าน) หลังจากที่รีวิวทริปน่านไปแล้วดังนี้รีวิวทริปบ้านหาดผาขน จ.น่าน - ตอนที่ 1 การเดินทางด้วยนกแอร์ วันนี้ก็จะมาพาไปไหว้พระธาตุแช่แห้งซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีเถาะกันนะคะ ขอเปิดตัวด้วยภาพจากมุมหากินเวลาไปที่นี่เลยค่ะ แฮ่... คราวนี้ก็ขอแปะเรื่องพระธาตุประจำปีเกิด (ตามความเชื่อของล้านนา) ไว้อีกทีแล้วกันค่ะ (เคยแปะเมื่อนานมาแล้ว แปะอีกรอบแล้วกันเนาะ)ปีชวด (หนู) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ ปีฉลู (วัว) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง ปีขาล (เสือ) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ปีเถาะ (กระต่าย) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ปีมะโรง (งูใหญ่) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ปีมะเส็ง (งูเล็ก) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด) ประเทศอินเดีย ปีมะเมีย (ม้า) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ประเทศเมียนมาร์ ปีมะแม (แพะ) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระบรมธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ปีวอก (ลิง) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุพนม จ.นครพนม ปีระกา (ไก่) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน ปีจอ (สุนัข) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระบรมธาตุเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังๆ นี่กล่าวว่า สามารถไปไหว้ พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศเมียนมาร์หรือพระบรมธาตุเจดีย์วัดเกตุการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แทนได้ค่ะ) ปีกุน(หมู) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย หลายๆ คนอาจจะสงสัยเหมือนเราว่าทำไมพระธาตุประจำปีเกิดปีนี้ๆ ต้องเป็นพระธาตุนี้ๆ ด้วยหละ แต่เท่าที่เราหาจากกูเกิ้ล ก็มีลิงก์นี้ //www.ezytrip.com/travelsearch/north/index-bhrathat.htm ที่พอจะอธิบายได้ก็แค่ประมาณนี้นะคะ ในสมัยก่อน อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพม่า ต่างเป็นแว่นแคว้นข้างเคียงที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกันมาก่อน การกำหนดให้มีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด จึงเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการเดินทางติดต่อกันทำให้คนแต่ละเมืองที่อยู่ในเขตวัฒนธรรมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กันได้อย่างใกล้ชิดขึ้น หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนต่างก็ให้ความสำคัญต่อ พระบรมสารีริกธาตุ หรือ กระดูกของพระพุทธเจ้า ซึ่งมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า พระบรมธาตุ หรือ พระธาตุ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นเศษส่วนจากพระวรกายที่เหลืออยู่ไม่มากนัก จึงทำให้ต้องเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ในสมัยโบราณ มีการประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ใต้เนินดินรูปครึ่งวงกลม แล้วปักฉัตรไว้ด้านบน เพื่อยกย่องและแสดงเกียรติยศของผู้ตายตามธรรมเนียมอินเดียโบราณ ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศก ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดและแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุออกไปบูชายังเมืองต่าง ๆ ทำให้มีการสร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุขึ้นทั่วไป โดยมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละ้ท้องถิ่น สถูปเจดีย์สำคัญของบ้านเมืองต่าง ๆ ล้วนได้รับการอธิบายว่าเป็นสถานที่บรรจุพระบรมธาตุ ฉะนั้นบางครั้งจึงนิยมเรียกสถูปเจดีย์เหล่านั้นว่า พระธาตุ ซึ่งหมายถึง พระบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ภายในสถูปเจดีย์นั่นเอง ดังนั้น การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิศดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้ว ก็คือ การกราบ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้น การสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศตัณหา และที่สำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า พระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่าง ๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล สำหรับประวัติของพระธาตุแช่แห้ง ขอยกมาหลายๆ ที่มาดังนี้นะคะ ถ้าเอาแบบย่อๆ ตามหนังสือที่เราอ่านมานะคะ (อ้างอิงจากหนังสือจ.น่านของนายรอบรู้ สนพ.สารคดีค่ะ) ก็มีประวัติดังนี้ค่ะ พระธาตุองค์นี้สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1896-1902 เจ้าพระยาการเมือง เจ้าผู้ครองนครปัวได้เดินทางไปช่วยพระยาโสปัตตกันทิ ผู้ครองเมืองสุโขทัยเพื่อสร้างพระธาตุหลวง พระยากรุงสุโขทัยจึงได้มอบพระธาตุ พระพิมพ์เงิน และพระพิมพ์ทองให้เพื่อตอบแทนน้ำใจ เจ้าพระยาการเมืองได้อัญเชิญพระธาตุและพระพิมพ์มายังเมืองปัว แล้วสร้างพระธาตุแช่แห้งบนยอดดอยภูเพียงแช่แห้งขึ้นประดิษฐานองค์พระธาตุค่ะ ส่วนที่มาของชื่อดอยว่าแช่แห้งนั้นมีอยู่ว่า ในอดีตนั้น สมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกบริเวณนั้นว่าดอยแช่แห้งต่อมาค่ะ ส่วนจาก เว็บนี้ ก็บอกเล่าไว้ว่า ในพงศาวดารเมืองน่าน เล่าว่า ในสมัยเจ้าพระยาการเมือง ครองเมืองน่านอยู่ ก็ได้มี พระยาโสปัตตกันทิ เจ้าเมืองสุโขทัย ได้มาเชิญพระยาการเมือง ไปสร้างวัดหลวงอุทัยถึงสุโขทัย ซึ่งพระยาการเมืองก็ไปช่วย จนเสร็จสมบูรณ์ ด้วยความดีความชอบ ที่พระยาการเมือง ได้ช่วยพระยาโสปัตกันทิ สร้างวัดหลวงอุทัย ทำให้พระยาโสปัตกันทิ มีความชื่นชอบพระยาการเมืองเป็นอันมาก ก่อนจะกลับเมืองน่าน ก็ได้มอบพระธาตุเจ้า 7 องค์ เพื่อตอบแทนที่พระยาการเมือง ได้มาสร้างคุณงามความดีให้แก่สุโขทัย ดังวรรณพระธาตุเจ้า 7 องค์นั้น คล้ายเมล็ดพรรณผักกาด มีวรรณดังแก้ว 3 องค์ วรรณดังมุก 2 องค์ วรรณะทองเท่าเมล็ดงาดำ 2 องค์ , พร้อมพระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ พระยาการเมืองนั้น เมื่อได้ของวิเศษด้วยความชื่นชมโสมนัส แล้วก็นำกลับมาแสดงแก่มหาเถรเจ้า ที่เมืองปัว ด้วยความชื่นชมโสมนัส แล้วถามพระมหาเจรเจ้าว่า ควรเอาประจุธาตุนี้ไว้ที่ใด? เมื่อพระมหาเถรเจ้าพิจารณาดูที่ควรประจุธาตุนั้นแล้ว ก็กล่าวว่า ควรเอาไปประจุไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง ตรงที่ระหว่างกลางแม่น้ำเตี๋ยน และแม่น้ำลิง จึงจะเห็นสมควร เพราะภายภาคหน้า แผ่นดินนี้จะเป็นผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแผ่นดินที่เจริญสืบไป .... เมื่อทราบดังนั้น พระยาการเมือง ก็ประกาศป่าวร้อง พสกนิกร และเหล่าเสนาอำมาตย์ พร้อมนิมนต์มหาเถรเจ้าลงไปด้วย มีการแห่นำเอา พระบรมธาตุเจ้ามาจากเมืองปัว มีดนตรีห้าจำพวกคือ ปี่ ฆ้อง กลองยาว ฉาบ และพิณ แห่เอาพระบรมธาตุเจ้าที่ได้ เดินทางไปตามลำน้ำน่านลงไปที่ภูเพียงแช่แห้ง การเดินทางครั้งนั้น ว่ากันว่า เป็นการเดินทางด้วยทางน้ำ เป็นขบวนแพ ซึ่งในขบวนแพเสด็จครั้งนี้ มีชายหญิงคู่หนึ่ง ชื่อ ปู่คำมา และย่าคำบี้ ทั้งคู่ต่างก็เป็นปฏิภาณกวี ได้ขับซอถ้อง ร้องโต้ตอบกัน สร้างความครึกครื้นให้กับขบวนเสด็จเป็นอันมาก ซึ่งซอครั้งนั้น เกิดจากการซอบรรยายความงดงามของทิวทัศน์ ของลำน้ำน่านขณะล่องแพ จึงกล่าวได้ว่า ปู่คำมาและย่าคำบี้ เป็นผู้ให้กำเนิดการซอเมืองน่าน ที่เรียกว่า ซอล่องน่าน เมื่อมาถึง พระยาการเมืองทรงให้ช่างหล่อเต้าปูนสำริดไว้ 1 ต้น พร้อมกับเอาพระธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพคำ ใส่ลงไปในปูน แล้วปิดฝาทับ พร้อมกับพอกด้วย สะตายจีน (ปูนขาวผสมยางไม้ และทรายละเอียด) ให้เกลี้ยงกลมดีและแข็งดังก้อนหิน พร้อมใช้ไพร่พลแต่งกายเป็นเทวบุตร เทวดา มเหสักข์ทั้งปวง นำพระมหาเถรเจ้าและพระยาการเมือง ไปยังหลุมพร้อมนำเอาพระธาตุเจ้าลงใส่ไปในเต้าปูนนั้น แล้วก็ได้ก่อเจดีย์ขึ้นสูงเหนือแผ่นดิน 1 วา มีการนิมนต์พระภิกษุสังฆะเจ้า กระทำการสมโภช พร้อมมีการสักการบูชา แล้วก็ยกรี้พลกลับเมืองปัว ดังนั้น ครั้งแรกที่มีการสร้างพระธาตุแช่แห้งนั้น ไม่ใช่เจดีย์องค์ใหญ่อย่างที่พวกเราเห็นอยู่ทุกวันนี้ค่ะ อยู่มาได้ไม่นานนัก พระยาการเมืองก็มีใจคิดถึงพระธาตุ อยากจะปฏิบัติไหว้สาองค์พระบรมสารีริกธาตุทุกวัน จึงยกรี้พลทั้งหลายเสด็จลงมาตั้งเมืองใกล้พระธาตุ ที่บ้านห้วยไค้ภูเพียง แช่แห้ง ขุดคู กำแพงดินรอบพระธาตุจนเสร็จสิ้น ณ บริเวณพระธาตุแช่แห้ง ให้ชื่อว่า เมืองภูเพียงแช่แห้ง ต่อมา ปี พ.ศ. 1906 พระยาการเมืองได้สวรรคตลง เจ้าผากอง ลูกของพระยาการเมืองได้ขึ้นครองราชย์แทน จนกระทั่งกาลเวลาล่วงผ่านมา 113 ปี พ.ศ. 2019 ท้าวขาก่าน เจ้าเมืองฝาง เชียงใหม่ ได้มาครองเมืองน่าน (สมัยนั้นเมืองน่านขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ ยุคพระเจ้าติโลกราช) ท้าวขาก่านได้ตำนานเรื่องราวของพระธาตุเจดีย์ดอยภูเพียงแช่แห้ง จากพระมหาเถรเจ้าตนหนึ่ง ชื่อ วชิรโพธิ ท้าวขาก่าน พร้อมด้วยสังฆเจ้าทั้งหลาย จึงได้ร่วมกันค้นหาพระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ซึ่งตอนนั้นปกคลุมด้วยป่าไม้ไผ่ และเถาวัลย์ จะเห็นเพียงแนวจอมปลวกเท่านั้น ท้าวขาก่านจึงได้ให้คนแผ้วถาง ทำการสักการบูชาด้วยช่อตุง เทียน ฯลฯ แต่ก็มองไม่เห็นพระธาตุเจ้า ในระหว่างการแผ้วถางนั้น ยามค่ำคืน พระธาตุก็ได้เปล่งปาฏิหาริย์ จนสว่างสุกใส ท้าวขาก่านได้เห็น ก็พากันขุดคูในจอมปลวก ลึก 1 วา ก็ได้ก้อนผามา 1 ลูกกลมใหญ่กลมเกลี้ยง ท้าวขาก่านจึงทุบให้แตกเห็นข้างใน เป็นต้นปูนใส่ทองเทศใหญ่ มีฝาปิดสนิท จึงให้ปะขาวเชียงโคม ที่อยู่ด้วยนั้น เปิดดูก็เห็นพระธาตุเจ้า 7 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ พระพิมพ์คำ 20 องค์ ซึ่งก็เป็นพระธาตุที่พระยาการเมืองเอามาจากพระยาสุโขทัย และมาบรรจุไว้ในที่ดังกล่าว เมื่อได้ พระธาตุ ท้าวขาก่านก็เอาไปไว้ในหอพระไตรปิฏก ริมข่วงหลวง นานได้เดือนหนึ่ง แล้วไปเรียนให้พระเจ้า ติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราช จึงได้มีพระกรุณาว่า พบที่ใด ให้นำไปไว้ที่นั่น เมื่อท้าวขาก่านได้ยิน ดังนั้น ก็เอาพระธาตุ ไปบรรจุไว้ที่ดอยภูเพียงที่เก่า และก็ได้ก่อเจดีย์สูง 6 วา ครอบไว้ ต่อมา พ.ศ. 2023 พวกแกว (ญวน) ยกรี้พลมาตีเมืองน่าน พระยาติโลกราช ได้มีอาญาให้ ท้าวขาก่าน ยกเอารี้พล 4 หมื่นคนออกสู้รบ ทำศึกกับพวกแกว ท้าวขาก่านจึงมีชัยชนะฆ่าแกวได้มากมาย ยึดเอาช้างเอาม้า ครอบครัวแกวมาถวายพระยาติโลกราช แต่พระยาติโลกราชไม่ทรงพอใจ กล่าวว่า แกวก๋าน (พ่ายแพ้) ก็ดีแล้ว แต่เอาครอบครัวแกวมามากมายอย่างนี้ ไม่ดี ไม่ควรเอาแกวมาอยู่ให้มากอย่างนี้ ว่าดังนั้น ก็ได้ให้ท้าวขาก่านไปอยู่เชียงราย ท้าวขาก่านจึงได้ครองเมืองน่านเป็นลำดับองค์ที่ 22 ต่อมาพระเจ้าติโลกราช ให้ท้าวอ้ายยวม มาครองเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2024 ซึ่งท้าวอ้ายยวมก็ได้ชักชวนชาวบ้านชาวเมือง สร้างพระธาตุครอบ องค์พระธาตุเจดีย์ที่ท้าวขาก่านสร้างขึ้น โดยให้ใหญ่กว่า สูงกว่าเก่า กว้าง 10 วา สูง 17 วา ใช้เวลาสร้างราว 4 ปี จึงเสร็จบริบูรณ์ เมื่อสร้างเสร็จท้าวอ้ายยวมก็ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2027 (เป็นผู้ครอบนครน่านอันดับที่ 23 ) พระเจ้าติโลกราช ได้ให้พระยาคำยอดฟ้า มาเสวยราชที่เมืองน่าน เป็นครั้งที่ 2 ราว พ.ศ. 2065 พระยาคำยอดฟ้า ก็ได้ร่วมกับพระสงฆ์เจ้า และประชาชน สร้าง พระยาล้านทอง (พระประธานในวิหารหลวงข้างองค์พระธาตุ) และสร้างกำแพงรอบมหาธาตุ ก่อนที่จะกลับไปครองเมืองเชียงใหม่ ลุถึงปี พ.ศ. 2103 เจ้าพระยาหน่อคำเสถียรไชยสงคราม ได้เป็นเจ้าพระยาเสวยเมืองน่าน เจดีย์หลวงที่ท้าวอ้ายยวมสร้างนั้น ได้ชำรุดผึพัง พระยาหน่อคำฯ จึงได้ทำการบูรณะสร้างซ่อมจนเจดีย์ดีดังเดิม และได้สร้างทางลอดกำแพงมหาธาตุ ยาว 1,300 วา กว้าง 60 วา และสร้างศาลาเข้าพระธาตุ วิหารน้อย และอุโบสถจนแล้วเสร็จ มีเจ้าผู้ครองนครน่านอีกหลายพระองค์ ที่ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุแช่แห้ง มาเป็นลำดับ จวบจน พ.ศ. 2446 ที่เป็นประวัติศาสตร์สำคัญ สมัยเจ้าพระเมืองราชา เป็นผู้ครองนครน่าน กองทัพม่าน (พม่า) เข้ามาตีเมืองน่าน ชาวบ้านชาวเมือง พระสงฆ์องค์เจ้า ต่างก็ต้องหลบลี้เข้าไปอยู่ตามป่า ถ้ำ ห้วย ดอย ผู้ครองเมืองก็หนีไปเมืองล้านช้าง ทหารม่านได้ทำลายบ้านเมือง รั้ว เวียงวัง จุดเผา ขุดลอกพระพุทธรูปวัดภูมินทร์องค์ตะวันตก (พระประธานในอุโบสถวัดภูมินทร์ เป็นพระพุทธรูปจตุรทิศ 4 องค์ หันพระปฤษฎางค์ชนกัน หลังคาโบสถเป็นจัตุรมุข) จนได้รับความเสียหาย รวมถึงยอดมหาเจดีย์ทิพย์ เจดีย์หลวงกลางเวียง บ้างก็พังวัดวาอาราม ทหารพม่าก็เผาจนสิ้น ตามตำนาน เล่าว่า จากสงครามครั้งนั้น บ้านเมืองน่าน วัดวาอาราม ที่อยู่ที่กิน ได้รับความเสียหายจากสงครามเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านชาวเมืองตายเกลื่อนกลาด เป็นที่น่าสลดหดหู่ใจยิ่งนัก ทั้งเมืองน่าน จะเหลือก็เพียงแผ่นดินเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2557 เจ้าเมืองอังวะ ให้เจ้าฟ้าเมียวชา มาครองเมืองน่าน ได้สร้างแกนธาตุและทังเกิ้ง (ฉัตร) ขึ้นใส่ 7 ชั้น ลุถึง พ.ศ. 2322 เจ้ามโนยกครอบครัวหนีจากเมืองงั่ว มาตั้งบ้านเรือนอยู่เชิงดอยภูเพียงแช่แห้ง ทางทิศตะวันตก ได้บูรณะวัดแช่แห้งวัดจนเรียบร้อยดีงาม รวมถึงสร้างโรงอุดบสถให้กว้างออกไปอีกช่วงหนึ่ง มีการรื้อประตูโขง กำแพงพระธาตุ ทางทิศตะวันตก กำลังจะก่อสร้าง ทัพพม่าก็เข้ามาตีเมืองน่านอีก เจ้ามโนจึงต้องยุติการก่อสร้างและหนีไปเมืองเชียงแสน พอราวๆ พ.ศ. 2331 เจ้าหลวงอัตถวรปัญโญ ได้ครองเมืองน่าน โดยพระบรมราชโองการ พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย แต่งตั้งเป็นเจ้าผู้ครองนคร ซึ่งขณะนั้นเมืองน่าน รกร้างว่างเปล่า ไม่มีชาวบ้านอยู่เลย ยอดพระเจดีย์แช่แห้งก็ถูกโจรมาหักเอายอด เกิ้ง (ฉัตร) ลงไปเสีย ศาสนาดูมัวหมอง จนถึง พ.ศ. 2332 เจ้าหลวงอัตถวรปัญโญ พาเจ้านายท้าวขุนและรัฐบาล ไปร่วมกันแผ้วถางวัดหลวงแช่แห้ง บริเวณลานมหาธาตุ เริ่มต้นก่อสร้างประตูโขงขึ้นก่อน และตั้งนั่งร้านมหาธาตุ เอาแกนเหล็กอันเก่าลงมาทำใหม่ ต่อแกนเหล็กเพิ่มขึ้น เพิ่มเกิ้ง (ฉัตร) จาก 7 ชั้นเป็น 9 ชั้น แล้วสร้างรูปหงส์ตัวหนึ่งให้คาบเกิ้ง (ฉัตร) ขึ้น ตามตำนานเล่าว่า เมื่อเกิ้ง (ฉัตร) ขึ้นยอดมหาธาตุ มีเหตุอัศจรรย์ 7 ประการเกิดขึ้น คือ 1. มีคชฌราชา (พระยาแร้ง) 4 ตัว มาร่อนอยู่ที่พระธาตุเจ้า 2. ได้ยินเสียงเหมือนเสียงนกยูงบินมาแต่ทางทิศใต้ แต่เมื่อเล็งดูก็ไม่เห็น 3. มีงูตัวหนึ่งตามเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญเข้าไปในบริเวณมหาธาตุเจ้าแล้วกลับหายไป 4. ขณะเมื่อชักรูปหงส์คาบเกิ้งขึ้นนั้น อันว่ากลีบเมฆทั้งหลายก็กลับหายไปหมด ใต้พื้นฟ้าอากาศเบื้องบนก็สว่างสุกใสบริสุทธิ์มาก 5. ดาวยังท้องฟ้าก็ปรากฏให้เห็นเมื่อเที่ยงวันนั้นเอง ุุุุุุ6. ฝนก็ตกลงมาเห็นเม็ดอยู่ แต่ก็ไม่ถูกคนทั้งหลายสักคน จะจับเม็ดฝนก็ไม่ได้ ึ7. ฝนตกนานจึง 2 วัน จึงหายไป พอล่วงมาถึง พ.ศ. 2348 เจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ (ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า) ได้ขุดขยายกำแพงพระธาตุเจ้าด้านใต้ออกเป้น 4 วา และต่อประตูโขงด้านตะวันออก ตะวันตก ด้านใต้ และประตูโขง บังเวียนแห่งพระธาตุ 2 ประตู ถึงพ.ศ. 2439 ได้เกณฑ์กำลังคน 500 คน ก่อสร้างรูปมหานาคยาวใหญ่ 2 ตัว ยาว 63 วา หัวแผ่พังพานสูง 10 ศอก ตั้งไว้สองข้างทางขึ้นไปลานองค์พระเจดีย์ มีการก่อศาลาบาตรล้อมรอบกำแพง และก่อรูปเป็นรูปท้าวจัตตุโลกบาลทั้ง 4 ด้าน กับบริวารทั้ง 2 รักษาพระธาตุทั้ง 4 มุม ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงสุมนเทวราชครองเมืองน่าน ก็มาเล็งเห็นว่าวิหารหลวงวัดแช่แห้งเป็นที่เสื่อมโทรม ท่านก็ได้ให้ญาติวงศา และเสนาอำมาตย์บูรณะขึ้นใหม่ พอถึงเดือน 6 เพ็ญ วันอาทิตย์ เจ้าหลวงสุมนเทวราชพร้อมด้วยพระมเหสี เสนาอำมาตย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก กระทำพุทธาภิเษกเบิกบานฉลองถวายเป็นทานไว้กับพระพุทธศาสนา บูชาพระมหาธาตุ มีพระสงฆ์มารับไทยทานสมัยนั้น 165 หัววัด เป็นภิกษุ 379 รูป เณร 749 รูป พอถึงเดือน 6 แรม 6 ค่ำ วันศุกร์เกิดแผ่นดินไหว ยอดมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้งก็หักลงมาห้อยอยู่ เมื่อเจ้าอชิตวงศ์ครองเมืองน่านในปี พ.ศ. 2379 ท่านก็เสด็จขึ้นเมืองแช่แห้ง ต่อแกนพระธาตุเจ้า ซึ่งแต่เดิมเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญสร้างมี 12 ศอก ท่านก็พร้อมเพรียงกับเจ้านาย ท้าวพระยาสังฆเจ้า นำเอายอดมหาธาตุที่คดไปทางตะวันออกลงมาดัด แล้วต่อให้ยาวอีก 4 ศอก รวมเป็น 16 ศอก ฉัตรและเกิ้งแต่เดิมมี 9 ใบ ก็สร้างเติมอีก 2 ใบ รวมเป็น 11 ใบ พอถึงเดือน 9 ขึ้น 8 ค่ำ ก็ทำพุทธาภิเษกเบิกบานฉลองทำบุญให้ทานเป็นมหากุศล ถึงเดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำ ก็เสร็จ แล้วเจ้าอชิตวงษ์ก็เสด็จเข้าเมืองน่าน เมื่อถึงปีพ.ศ. 2391 เจ้ามหาวงศ์ขึ้นครองเมืองน่าน ก็ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซ่อมแซมวัดต่างๆ สำหรับวัดพระธาตุแช่แห้งนั้น ท่านได้สร้างเจดีย์ขึ้น 4 องค์ ขึ้นเหนือปากขันหลวง มหาธาตุหลวงเจ้าภูเพียงแช่แห้ง 4 ด้าน ซ่อมแซมวิหารหลวง ศาลาบาตร ประตูโขลน ศาลานางป้อง ได้เชิญแกนเหล็กขึ้นใส่ เอาฉัตรและเกิ้งขึ้นแถมอีก 2 ใบ ดอกบัวเงิน 6 ดอก ดอกบัวคำ 6 ดอก สร้างกระดิ่งห้อย 10 ลูก สร้างพระพุทธรูป 3 องค์ แล้วทำบุญเฉลิมฉลอง เจ้าผู้ครองนครน่าน ผ่านมาหลายองค์ ได้ปฏิสังขรณ์บูรณะพระธาตุแช่แห้งต่อๆ กันมาเป็นลำดับ ทั้งที่มีการบันทึกและไม่มีการบันทึกไว้ จนถึงสมัยของเจ้าผู้ครองนครน่าน พระนามว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐ์มหันตไชยนันท์ บุรมหาราชวงศาธิบดี สุจริตจารราชานุภาวรักษ์ วิบูลย์ศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตร สถิตนันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน เป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์ก่อสร้างสิ่งถาวรวัตถุ มีจารึกไว้ในศิลา ที่วัดแช่แห้งว่า.......... ได้ยกทุนทรัพย์อันสุจริตชอบ ซื้อปิตโลหตัน หลูบหุ้มมหาเจนยเกศาธาตุ (ซื้อทองจังโก๋ปิดหุ้มองค์เจดีย์) ปิดทับด้วยทองคำเปลว และสร้างพระวิหารหลวงใหม่ สร้างกำแพงศาลาบาตรด้วยอิฐ มุงด้วยดินอิฐเผา มีประตูโขงเข้าออก 4 ด้าน และสร้างใบเสมาล้อมรอบตีนธรณีมหาเจดีย์ สร้างรูปสิงโต 2 ตัว สร้างวิหารพระทันใจ สร้างพญานาคใหญ่ 2 ตัว สร้างถนนระหว่างนาค สร้างลานอารามเหนือภูเพียงแช่แห้ง รวมเป็นเงิน 48,699 บาท กับ 32 อัฐ โดยสร้างวิหารพุทธไสยาศน์ เมื่อ พ.ศ. 2450 ซ่อมแซมฐานพระไสยาสน์ มุงกระเบื้องไม้ยม เพดานลงรักปิดทอง ก่อกำแพงแก้วรอบ สิ้นเงิน 4,000 บาท พ.ศ. 2549 พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระธาตุแช่แห้งในปัจจุบัน ตั้งอยู่วัดพระธาตุแช่แห้ง ทางทิศตะวันออกของเมืองน่าน เป็นปูชนียสถานสำคัญอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองน่าน มีอายุนานกว่า 600 ปี องค์พระธาตุเป็นสถูปแบบพื้นเมือง เดิมเป็นสถูปทรงลังกา แต่ได้หักพังและมีการปฏิสังขรณ์สืบกันมาหลายครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่างฝีมือและคตินิยมของแต่ละยุคสมัย ซึ่งในระหว่างทางที่นั่งรถก็เริ่มเห็นขบวนแห่แล้วค่ะ คุณเจ้าหน้าที่ก็ให้ข้อมูลว่าเป็นงานแห่พระธาตุแช่แห้งค่ะเลยไปหาข้อมูลจาก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.533670619987933.114970.498790766809252&type=3 ได้ความมาว่าดังนี้ค่ะ งานนมัสการพระบรมธาตุเป็นประจำทุกปีจะจัดระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 6 ทางเหนือ (เดือน 4 ใต้) หรือในราวเดือนมีนาคม โดยถ้านับทางจันทรคติซึ่งจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือประมาณเดือนมีนาคม ทุกปีจะมีประเพณีนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ที่ชาวน่านเรียกว่า "งานหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง"ที่สำคัญเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ตามคติการไว้พระธาตุตามปีนักษัตรของชาวล้านนา ประเพณีหกเป็งนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง (ไหว้สาพระธาตุแช่แห้ง) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่อดีต ในช่วงฤดูเทศกาลเพ็ญเดือนหก (เหนือ) เจ้าผู้ครองนครน่าน พร้อมด้วยข้อราชบริพารจะพากันไปนมัสการพระธาตุแช่แห้ง โดยในวันขึ้นสิบสี่ค่ำเดือนหก ขบวนแห่ของเจ้าเมืองน่านพร้อมด้วยคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่างๆ จะมาพร้อมกันที่บริเวณรอบๆ เนินภูเพียงแช่แห้ง จะมีพิธีทางศาสนา และกิจกรรมเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา โดยมีการทำบุญตักบาตร เทศมหาชาติ บรรยายธรรม และมีการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ซึ่งมีลักษณะเป็นไฟพะเนียงพื้นบ้าน มีความสวยงามในยามราตรี เมื่อถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนหก ขบวนพุทธศาสนิกชนจะทำครัวตาน (เครื่องไทยธรรม) ในช่วงบ่ายจะมีการถวายเป็นพระพุทธบูชา โดยการจุดบ๊อกไฟดอก (บั้งไฟ) ขึ้น และมีการแสดงพระธรรมเทศนา เทศน์มหาชาติสืบเนื่องต่อจากวันขึ้นสิบสี่ค่ำ กำหนดการกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย ขบวนแห่เครื่องหลวงถวายสักการะพระธาตุ (วันที่ 22 กพ.) ขบวนแห่ครัวตาน และพิธีเวียนเทียน (วันที่ 28 กพ.) นอกจากนี้ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและมหรสพ รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ คลอดงานทั้ง 7 วัน ท่านจะได้ชมขบวนแห่ครัวทาน ตักบาตร การปฏิบัติธรรมธุดงควัตร เทศน์มหาชาติ การประกวดบอกไฟ โคมไฟโบราณ การประกวดกลองแอว ดังนั้นพอรถไปจอดที่ที่จอดรถด้านบน ข้างๆ พระธาตุปุ๊บ หลังจากฟังการนัดหมายเรียบร้อย เราก็รีบวิ่งไปด้านหน้าวัดเพื่อเก็บภาพขบวนต่างๆ ก่อนทันทีเลยค่ะ แหะๆ แต่จากภาพหละค่ะ ยังเพิ่งตั้งขบวนรอๆ กันอยู่ เราก็เลยไปเก็บภาพด้านในดีกว่า แหะๆ ที่นี่เหมือนเดิมนะคะ ต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าไป แล้วก็ถ้านุ่งสั้นมาก็ต้องหาผ้านุ่งมานุ่งก่อนค่ะ เข้าไปก็เจอกับตัวองค์เจดีย์ของพระธาตุสีทองสุกอร่ามงดงามรออยู่แล้วค่ะ เอาข้อมูลจากเว็บเที่ยวน่านอันเดิมมาแปะนะคะรูปแบบของเจดีย์ยังคงได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย หากมีการต่อเติมแก้ลายบางส่วน จากอิทธิพลศิลปะพม่า เช่น ฐานหน้ากระดานกลม แก้เป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยม และแปดเหลี่ยม และชั้นบัวคว่ำเหนือฐานแปดเหลี่ยมตกแต่งเป็นลายกลีบบัวแทน สิงห์หนึ่งในสองตัวที่สร้างในสมัยของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ตามประวัติที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้นะคะติดกับองค์เจดีย์จะเป็นวิหารศิลปะแบบล้านนาหละนะคะ นั่นคือตัวหลังคาจะซ้อนลดหลั่นกันตามภาพเลย ซึ่งวิหารหลังนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานพระยาล้านทอง ซึ่งสร้างในสมัยของพระยาคำยอดฟ้าที่ได้รับมอบหมายให้มาปกครองน่านในสมัยของพระเจ้าติโลกราชหละค่ะ แต่ก็ได้มีการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ. 2362 ในสมัยของเจ้าหลวงสุมนเทวราช และได้มีการสร้างใหม่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชตามประวัติที่ได้เล่าไว้ก่อนหน้านี้นะคะ แต่เรายังไม่เข้าไปในพระวิหารค่ะ ขอทำบุญก่อน แหะๆ อันดับแรกก็แน่นอนค่ะ ขอถวายเทียนประจำวันเกิดก่อนนะคะ ซึ่งจะมีคำบูชาเทียนให้ด้วยค่ะ ไหว้เสร็จก็ติดไว้ที่แท่นตามภาพเลยนะคะนอกจากนั้นก็มีทำบุญปิดทองลูกนิมิต (ซึ่งจะฝังตามจุดต่างๆ ที่จะสร้างใบเสมาอีกทีค่ะ ปกติจะใช้เวลาสร้างโบสถ์ เลยคิดว่าวัดนี้กำลังจะสร้างโบสถ์กระมังคะ) รวมทั้งกระเบื้อง และร่วมทำบุญกับกฐินพระราชทานด้วยค่ะ ซึ่งตอนที่เราไป ทางด้านซ้ายมือ (ถ้าหันหน้าเข้าเจดีย์) มีการขึงเป็นตาข่ายไว้ตามภาพด้วยค่ะ น่าจะเพื่องานอะไรสักอย่าง แต่ที่เราเดินมาด้านนี้เพราะจะไปสรงน้ำพระธาตุค่ะ เพราะทางฝั่งนี้จะมีโอ่งและรอกให้ชักกระบอกใส่น้ำจากโอ่งแล้วชักขึ้นไปสรงพระธาตุได้ตามภาพเลยนะคะ มาชมแบบภาพเคลื่อนไหวกันค่ะ VIDEO ซึ่งเราไปหาข้อมูล ได้มาจากลิงก์นี้นะคะ //www.relicsofbuddha.com/page6-xp.htm การสรงน้ำภาชนะหรือสถานที่บรรจุองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุวิธีการนี้นิยมใช้สำหรับสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์โดยทั่วไป, เจดีย์บรรจุพระธาตุที่ปิดสนิท หรือ ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ในกรณีที่มีผู้ร่วมสรงน้ำเป็นจำนวนมาก โดยการตักน้ำที่ใช้สำหรับสรง ราดไปบนพระเจดีย์ น้ำที่ใช้ในการสรง น้ำที่นำมาใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น มีวิธีการเตรียมคล้ายกับการเตรียมน้ำ เพื่อใช้สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งการจะเลือกใช้แบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเหตุผลของแต่ละบุคคล รวมถึงความสะดวกในการจัดหาด้วย เมื่อทำการสรงเสร็จแล้ว น้ำที่ผ่านการสรงองค์พระธาตุ นิยมนำมาประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล เสมือนหนึ่งน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. น้ำสะอาดบริสุทธิ์ ............มีผู้อธิบายว่า สาเหตุที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ในการสรงน้ำองค์พระธาตุนั้น เนื่องจากว่า องค์พระธาตุนั้น เกิดมาแต่ผู้บริสุทธิ์ ธาตุเหล่านั้นจึงเป็นของบริสุทธิ์ ไม่สมควรจะเอาสิ่งใดๆก็ตาม เจือปนลงไปแปดเปื้อนองค์พระธาตุ แต่อีกเหตุผลกล่าวว่า ในน้ำหอมหรือดอกไม้ อาจมีสารใดๆก็ตามเจือปน จนอาจทำให้องค์พระธาตุหมองลงได้ 2. น้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา ............น้ำลักษณะนี้นิยมใช้สรงน้ำพระธาตุโดยทั่วไป นัยว่าได้ถวายเป็นอามิสบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสาวกทั้งปวง ซึ่งสิ่งบูชาที่เจือลงในน้ำก็แล้วแต่ความชอบ และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้ กลีบดอกไม้ ฝักส้มป่อย หรือ แก่นไม้จันทน์ฝน เป็นต้น ซึ่งในวันที่เราไป ก็มีการเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด (ถ้าฟังไม่ผิดนะคะ) มาร่วมในงานพิธีด้วยค่ะ ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของงานหกเป็งหละนะคะ เอาหละค่ะ เรากลับไปที่ตัววิหารกันดีกว่าค่ะ (ตอนแรกว่าจะเดินรอบพระธาตุสามรอบ แต่มีงานตามภาพดังกล่าวที่ด้านหนึ่ง ก็เลยคิดว่าอย่าดีกว่า เสียดายเหมือนกันค่ะ เอาไว้ไปใหม่เนาะ) สำหรับวิหารแบบล้านนานั้น เราไปได้ข้อมูลมาจาก website นี้ ว่าไว้ดังนี้นะคะ วิหารล้านนา วิหารหรืออาคารประดิษฐานพระพุทธรูปคู่พระอุโบสถใช้ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หลายขนาด หลากรูปทรง ลวดลายแตกต่างกันตามความนิยมและสกุลช่าง แบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ วิหารเปิดหรือวิหารโถงหรือวิหารป๋วย และวิหารปิดหรือวิหารปราการหรือวิหารป๋างเอก และข้อมูลเพิ่มเติมจาก //www.tripchiangmai.com/chiangmaiboard/index.php?topic=51.0;wap2วิหารล้านนานมีอยู่ด้วยกันสองลักษณะ แบบแรกคือ วิหารโถง ไม่นิยมสร้างผนัง (ที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ป๋างเอก" ) บางครั้งจึงเรียกว่าวิหารไม่มีป๋างเอก ยกเว้นหลังพระประธานจะมีผนัง วิหารโถงนี้พบได้ที่ จ. ลำปาง เช่น วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง วิหารจามเทวี วัดปงยางคก เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ วิหารแบบปิด หรือ วิหารปราการ วิหารชนิดนี้จะทำฝาผนังจากฐานวิหารจรดโครงหลังคา สล่าหรือช่างในท้องถิ่นยังคงเรียกวิหารชนิดนี้ว่า วิหารป๋างเอก ซึ่งมีทั้งวิหารทรงโรง สร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กับวิหารทรงปราสาท โดยให้ความสำคัญแก่ที่ประดิษฐานพระประธาน สร้างเป็นมณฑปปราสาทไว้ทางด้านหลังของตัววิหาร เช่น วิหารวัดปราสาท จ. เชียงใหม่ วิหารล้านนานั้นส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างแบบที่เรียกว่า ม้าต่างไหม ซึ่งนำชื่อมาจากลักษณะการบรรทุกผ้าไหมบนหลังม้าไปขาย ของพ่อค้ามาต่าง (ต่าง แปลว่า บรรทุก) ในล้านนา โดยมีการลดหลั่นของหลังคาจากห้องประธานลงมาทางด้านหน้าและด้านหลัง เป็นชั้นเชิงที่สวยงาม บางทีจึงเรียกว่า วิหารซด ส่วนใหญ่มักมุงหลังคาด้วยดินขอ (กระเบื้องดินเผา) หรือแป้นเกล็ด (แผ่นไม้) นอกจากโครงสร้างของตัววิหารแล้ว สิ่งที่น่าชมที่สดก็คือ สิ่งละอันพันละน้อยที่ประดับตัววิหารอยู่ ตั้งแต่ ช่อฟ้า ซึ่งอยู่เหนือจั่วของวิหาร มีทั้งที่เป็นไม้แกะหรือปูนปั้นเป็นรูปพญานาค หางหงส์ หรือตัวเหงา มักทำเป็นรูปมกรคายนาค นาคทัณฑ์ หรือ คันทวย ซึ่งเป็นไม้ค้ำยัน จะมีการแกะสลักเป็นรูปต่างๆ มากมาย เช่น มกรคายนาค นกหัสดีลิงค์ หงส์ประดับพรรณพฤกษา เทวดา เป็นต้น เรียกว่าแกะกันไม้ซ้ำลายเลยทีเดียว โดยเฉพาะบริเวณหน้าบัน หรือที่ท้องถิ่นเรียกกันว่า หน้าแหนบ นั้นจะมีการตกแต่งที่สวยงามเป็นพิเศษ ส่วนที่แตกต่างจากภาคกลางก็คือ บริเวณที่ต่ำลงมาจากหน้าบัน จะเป็นแผงเรียกว่า คอกีด แกะสลักเป็นรูปต่างๆ ต่ำลงมาอีกเรียกว่า โก่งคิ้ว ลักษณะคล้ายกับสาหร่ายรวงผึ้งในภาคกลาง นอกจากนี้ยังมีส่วนด้านข้างที่เรียกว่า ปีกนก ทำเป็นหน้าบันหรือหน้าแหนบด้วย บริเวณหน้าบันเหล่านี้ มักจะมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม เป็นลวดลายดอกไม้ พรรณพฤกษา ลายประจำยาม รูปสัตว์ต่างๆ มากมาย บางแห่งยังติดปูนปั้นประดับกระจก หรือแก้วอังวะ ซึ่งเป็นแก้วที่มาจากประเทศพม่า ลองสังเกตชมกันดู เมื่อก้าวล่วงประตูเข้าไปภายในวิหาร จะพบเสาไม้เรียงรายเป็นแนวนำสายตาไปสู่พระประธาน เสาไม้ตรงกลางนี้เรียกว่า เสาหลวง นิยมประดับด้วยลวดลายรดน้ำปิดทอง บางแห่งก็สร้างบัวหัวเสาประกอบ หรือมีลายปูนปั้นประดับ ส่วนแถวนอกเรียกว่าเสาระเบียง ช่วยรับน้ำหนักปีกนกทั้งสองข้าง ถ้าเป็นวิหารโถงจะเป็นชายคาหรือที่ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ฝาน้ำย้อย ขนาดใหญ่ หลายแห่งเขียนจิตรกรรมฝาผนัง หรือลายน้ำทองไว้ เมื่อแหงนหน้ามองบนเพดานวิหารจะเห็นงานแกะสลักเป็นรูปดาวเพดานที่มีลวดลายสวยงามแตกต่างกันไปในแต่ละวัด บริเวณห้องท้ายวิหาร มักจะสร้างกู่พระเจ้าหรือโขงปราสาท เป็นมณฑปรูปคล้ายเจดีย์ ส่วนใหญ่จะสร้างจากปูนเป็นรูปซุ้มประตูโค้ง มีลายปูนปั้นแบบล้านนาประดับอยู่โดยรอบ ภายในประดิษฐานพระประธานของวิหาร การชมวิหารของล้านนาให้สนุก จึงต้องเป็นคนช่างสังเกตสักหน่อย อย่ามองข้ามรายละเอียดเล็กๆ น้อย เพราะแม้ว่ารูปทรงวิหารจะเหมือนๆ กัน แต่การประดับประดาจะแตกต่างกัน ซึ่งแสดงถึงฝีมือช่างที่ทุ่มเทความสามารถสร้างลวดลายให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ฝากไว้เป็นสมบัติให้แก่แผ่นดินจนถึงกาล สำหรับการสร้างวิหารหลวงของที่นี่ก็อย่างที่บอกไปนะคะว่าเป็นศิลปะแบบล้านนาค่ะ ซึ่งเราก็ได้ข้อมูลมาจาก //www.paiduaykan.com/76_province/north/nan/watphrathatchaehaeng.html ความว่า วิหารหลวงอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและ ด้านหลัง 1 ห้อง...หน้าบันประตูของวิหารหลวงเป็นปูนปั้นลายนาคเกี่ยวกระหวัดกัน 8 หัว เอกลักษณ์ของศิลปะ เมืองน่าน ภายในวิหารหลวงมีพระเจ้าล้านทองเป็นพระประธาน พุทธลักษณะปาง มารศรีวิชัยศิลปะล้านนา ประทับนั่งบนฐาน เป็นพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามในจังหวัดน่านองค์หนึ่งและเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน พระพุทธรูปประทับยืน ประดิษฐานใน วิหารหลวงจำนวน 2 องค์ปัจจุบัน องค์จริงมอบให้พิพิธภัณฑ์ จ.น่านอีกองค์ ถูกโจรกรรมและยังไม่ได้กลับคืน องค์ที่เห็นจำลองจาก องค์จริงทำพิธีหล่อเททองเมื่อ ปี 2550 เมื่อเข้าไปแล้วทางด้านซ้ายและขวาจะมีที่ให้ทำบุญ ขันน้ำมนต์ และบูชาวัตถุมงคลตามภาพนะคะ นอกจากนั้นช่วงที่เราไปก็มีการให้บูชาพระเจ้าล้านทองจำลอง พระธาตุแช่แห้งจำลองตามภาพด้วยค่ะ แต่เราทำบุญไปแล้วตังค์ที่ติดตัวไปมันไม่พอง่า เสียดายมาก เลยไม่ได้บูชามาเลยค่ะ กระซิกๆ ออกมาด้านนอกแล้วเราก็เก็บภาพด้านบนหลังคาวิหารหลวงอีกครั้งหนึ่งค่ะ ที่จริงยังมีวิหารพระเจ้าทันใจด้วยนะคะ แต่เนื่องด้วยมีพิธี เราเลยไม่ได้ไปหละค่ะ กลัวไปเกะกะหรือรบกวนพิธีเค้าน่ะ ก็เลยออกไปเก็บภาพขบวนแห่มาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ ซึ่งตอนออกไปก็จะเป็นส่วนของขบวนแห่วิถีชีวิตต่างๆ จากชาวบ้านตำบลต่างๆ แล้วนะคะ ช่วงนี้ให้ภาพเล่าเรื่องแล้วกันเนาะ เก็บภาพพระเจดีย์จากด้านนอกนะคะ โดดเด่นสวยงามมากๆ เลยค่ะต่อไปเราไปชมวิหารพระพุทธไสยาสน์กันบ้างนะคะ ซึ่งวิหารหลังนี้ก็ได้สร้างในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเช่นกันนะคะ โดยสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2450 ค่ะ แต่มีอีกเว็บบอกว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2129 โดยนางแสดพลัว ชายาของพระยาหน่อเสถียรไชยสงครามเมืองน่าน (พ.ศ.2103-2134) เลยไม่รู้ว่าอันไหนชัวร์กว่านะคะ ซึ่งตรงด้านหน้าของวิหารหลังนี้ก็จะมีเจดีย์พระเกศแก้วจุฬามณีจำลองประดิษฐานอยู่ด้วยค่ะ (กะให้คนปีจอที่อาจจะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้บูชาแทนมั้งคะ แหะๆ) ซึ่งในนี้ก็ประดิษฐานพระไสยาสน์ตามภาพเลยนะคะ ค่อนข้างถ่ายรูปยากเหมือนกัน เพราะเสาวิหารนี่ติดตัวองค์พระเลยหละค่ะเสร็จสรรพจากวิหารพระไสยาสน์ เราก็ไปที่อีกฝั่งค่ะ ก็จะเป็นเจดีย์ชเวดากองจำลองนะคะ (ให้คนเกิดปีมะเมียที่ไปเมียนมาร์ไม่ได้ได้ไหว้สักการะอีกกระมัง) สร้างสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ โปรดให้สล่าน้อยยอด คนเมืองลำพูนมาก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ.2451 ตอนที่เราไปถ่ายรูป เป็นช่วงที่มีลำแสงลอดเมฆลงมาที่องค์เจดีย์พอดีเลยค่ะ สวยดี นี่ถ้าคนถ่ายรูปฝีมือเมพๆ ไปน่าจะได้ภาพสวยกว่านี้อีกนะคะ แต่เราถ่ายก็เลยได้แค่นี้นะคะ แฮ่... หลังจากนั้นเราก็ได้ยินเสียงประกาศว่าจะมีการฟ้อนแง้น ก็เลยรีบไปเก็บภาพมาทั้งภาพนิ่งและวีดิโอนะคะ ถ้าท่านใดดูละครช่องสาม เรื่องเพลิงฉิมพลี ที่นางเอกเป็นเบลล่าแล้วก็พระเอกเป็นอั้มอธิชาติ ก็คงจะเคยเห็นนางเอกฟ้อนแล้วนะคะ VIDEO ซึ่งข้อมูลเรื่องของการฟ้อนแง้นก็มีดังนี้นะคะ แง้น หมายถึง แอ่น โค้ง หรือ งอไปด้านหลัง การฟ้อนแง้น คือ การรำแล้วแอ่นลำตัวไปด้านหลัง เป็นที่นิยมกันในหมู่ช่างขับซอหญิงโดยเฉพาะช่างขับซอใน จ.น่าน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของชาวเมืองน่าน การฟ้อนชนิดนี้ไม่มีรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ใดๆ เพียงแต่ฟ้อนให้สวยงาม แล้วแสดงความสามารถในการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยการฟ้อนแล้วค่อยๆ หงายลำตัวไปด้านหลังจนศีรษะถึงพื้น ดนตรีที่ใช้ประกอบมีเฉพาะเครื่องดีดและสี จากนั้นใกล้เวลานัดแล้ว เราก็เลยไปเก็บพลับพลาเป็นอาคารเยื้องไปทางด้านซ้าย (ด้านนอกกำแพง) ของเจดีย์ค่ะ น่าจะเอาไว้ต้อนรับหรือเป็นที่ประทับนะคะ เพราะเห็นมีป้ายข้อความต้อนรับสมเด็จพระเทพฯ ด้วยค่ะ ปิดท้ายเอนทรี่นี้ด้วยด้านหลังของเจดีย์ (นอกกำแพงเช่นกัน) นะคะ ถ้าช่วงที่ออกดอก น่าจะสวยงามทีเดียวหละค่ะ สำหรับเอนทรี่นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้นะคะ เอนทรี่หน้าจะพาไปเที่ยวบ้านหาดผาขนกันแล้วนะคะ ซึ่งน่าจะแบ่งเป็นสองเอนทรี่ค่ะ ปฏิทินธรรม 1 - 7 เมษายน 2558 1. งานบูชาครู บูรพาจารย์ บิดามารดา ณ วัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี https://www.facebook.com/628268230534409/photos/a.628270327200866.1073741828.628268230534409/1039910902703471/?type=1&theaterวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558 1. หล่อองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ. วัดพุทธบูชา โดย พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เป็นองค์ประธานสร้าง https://www.facebook.com/bogboon/photos/a.335848433125466.75888.335629013147408/876917952351842/?type=1&theaterวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2558 1. ตักบาตรพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น วัดพุทธบูชา (ทุกวันเสาร์แรกของเดือน)วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน) 1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37 เวลา 06.30-10.30 น. ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่ //www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447 2. ถวายภัตตาหาร หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี ณ. จิตรโภชนา พาร์ค ดอนเมือง https://www.facebook.com/Watpanakhamnoi?fref=ts6 - 7 เมษายน 2558 1. ถวายภัตตาหาร หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี ณ. สวนแสงธรรม พุทธมณฑล สาย 3 แขวงบางไผ่ https://www.facebook.com/Watpanakhamnoi?fref=tsวันเสาร์ที่ 11 - อาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2558 1. งานบุญประเพณี ผ้าป่า 12 เมษา สืบหน่อต่อแขนงคลังหลวง บูชาพระคุณองค์หลวงตา และร่วมพิธีมอบทองคำเข้าคลังหลวงในโอกาสครบรอบ 17 ปี https://www.facebook.com/bogboon/photos/pb.335629013147408.-2207520000.1427514982./879679492075688/?type=3&theaterวันอาทิตย์ที่ 12 และ 26 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน) 1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14 กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts14-17 เมษายน 2558 1. งานบวชเนกขัมฯ ครบรอบ 93 ปีชาตกาล หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดระหาน (วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน) อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ https://www.facebook.com/luangpujanram/photos/a.841191655936380.1073741826.160417767347109/841191632603049/?type=1&theaterวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์ที่สามของเดือน) 1. ตักบาตรพระกรรมฐาน (นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น) ที่วัดบรมนิวาส (ไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นค่ะ) ที่จอดรถค่อนข้างหายาก ไม่ควรนำรถส่วนตัวไปค่ะวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558(จัดทุกวันเสาร์ที่สี่ของเดือน) 1. เชิญทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร สดับธรรม พระเถระวัดป่ากรรมฐาน เมตตารับบาตร โดย โดย พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) วัดพุทธบูชา กรุงเทพฯ พระพุทธิสารเถร (หลวงพ่อบุญกู้ อนุวฑฺฒโน) วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) วัดถ้ำผาจม จ. เชียงราย เว็บไซต์บ้านอารีย์ //www.baanaree.net ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ 1,469,696+2302497=3772193/11523/947
Create Date : 17 เมษายน 2558
Last Update : 17 เมษายน 2558 8:53:10 น.
30 comments
Counter : 6228 Pageviews.
โดย: อุ้มสี วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:9:16:59 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:11:04:53 น.
โดย: เนินน้ำ วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:11:09:32 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:12:19:50 น.
โดย: ก้อนเงิน วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:20:15:11 น.
โดย: haiku วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:22:40:24 น.
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:22:42:32 น.
โดย: haiku วันที่: 17 เมษายน 2558 เวลา:23:53:47 น.
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 18 เมษายน 2558 เวลา:0:22:27 น.
โดย: Kavanich96 วันที่: 18 เมษายน 2558 เวลา:3:24:50 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 เมษายน 2558 เวลา:6:29:42 น.
โดย: auau_py วันที่: 19 เมษายน 2558 เวลา:15:20:57 น.
โดย: ปรัซซี่ วันที่: 19 เมษายน 2558 เวลา:19:59:37 น.
โดย: keigolin วันที่: 23 เมษายน 2558 เวลา:0:28:35 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:13:05:55 น.
โดย: กาบริเอล วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:14:22:43 น.
โดย: sawkitty วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:17:39:41 น.
โดย: sawkitty วันที่: 24 เมษายน 2558 เวลา:17:39:48 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 25 เมษายน 2558 เวลา:22:03:13 น.
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 203 คน [? ]
ชอบอ่านหนังสือและดูหนังค่ะ ตอนนี้ทำงานด้านการท่องเที่ยวอยู่ นิสัยดีบ้างร้ายบ้าง แล้วแต่สภาวการณ์และคนที่เจอ เนื้อหาและรูปภาพทั้งหมดในบล็อกสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้นำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบล็อก ติดต่อเจ้าของบล็อกได้ที่ theworpor@yahoo.com หรือ https://www.facebook.com/saoguide
1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
Like ให้น้องเต้ยเลยจ้า
พี่อุ้มขอตามมาไหว้พระนอนด้วยคน
และโหวตให้น้องเต้ย