* = * * = * * = * รีวิวไหว้พระ 9 วัด ณ เชียงใหม่ วัดที่เก้า วัดหมื่นเงินกอง * = * * = * * = *
สวัสดีค่ะ
หลังจากพาไปหม่ำๆ และทำสิ่งที่เป็นกุศลรับปีใหม่ด้วยการไหว้พระ 9 วัดไปแล้ว 8 วัดดังนี้
ร้านอาหารร้านแรกของทริปปีใหม่ 2554 ไปแล้วคือ ไก่ถังวังทอง พิษณุโลก (คลิกเพื่ออ่าน)
ตามด้วย ข้าวมันไก่เกียรติโอชา + ร้านหวานละมุน (คลิกเพื่ออ่าน)
รีวิวทริปไหว้พระ 9 วัด วัดแรก ณ วัดลอยเคราะห์ (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่สอง วัดหมื่นล้าน (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่สาม วัดดวงดี (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่สี่ วัดชัยพระเกียรติ (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่ห้า วัดเชียงมั่น (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่หก วัดเชียงยืน (คลิกเพื่ออ่าน)
วัดที่เจ็ด วัดหม้อคำตวง (คลิกเพื่ออ่าน)
และวัดที่แปด วัดดับภัย (คลิกเพื่ออ่าน)
วันนี้จะพาไปไหว้พระวัดที่ ๙ ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายแล้วนะคะ นั่นก็คือวัดหมื่นเงินกองนั่นเอง
ที่จริงเราไม่ได้ตั้งใจจะไปวัดนี้เป็นวัดสุดท้ายหรอกค่ะ แต่แผนที่อันที่เราใ้ช้ดูมันทำผิด (ใส่ชื่อประตูเมืองผิดหนึ่งประตูค่ะ) สามีเราเลยคิดว่าถนนหมื่นเงินกองอยู่อีกที่หนึ่ง แต่...ปรากฏว่าไม่ใช่ค่ะ เหอๆ
สำหรับประวัติของวัดจากเว็บ //www.chiangmai-thailand.net/temple/10000_ngenkong/10000_ngenkong.html มีดังนี้ค่ะ
วัดหมื่นเงินกอง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากือนาหรือท้าวสองแสนนากษัตริย์นครพิงค์เชียงใหม่ กษัตริย์องค์ที่ ๖ เมื่อ จ.ศ.๗๐๑ - ๗๓๕ (พ.ศ. ๑๘๘๒ - ๑๙๑๖) หมื่นเงินกองเป็นชื่อของมหาอำมาตย์ ตำแหน่ง "ขุนคลัง" ท่านหนึ่งในรัชกาลพระเจ้ากือนา โดยโปรดให้ไปอาราธนาพระสุมนะเถระชาวเมืองสุโขทัยมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนครพิงค์ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๓
มีเรื่องเล่ากันว่าผู้สร้างวัดหมื่นเงินกองเอาเงินมาจากไหนมากมาย ถึงสร้างวัดได้ มีการเล่าต่อๆกันมาว่ามหาอำมาตย์หมื่นเงินกองนั้นเคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หลังจากลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสก็ได้รับคำนำหน้าว่า "หนาน" ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "หนานเมธัง" มีภรรยาชื่อ "นางแก้ว" โดยมีที่อยู่ก็เป็นที่ตั้งของวัดหมื่นเงินกองในปัจจุบัน
ในอดีตนั้นมีเหตุเกิดข้าวยากหมากแพงและเป็นช่วงฤดูฝน ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็มที่ เกิดความเดือดร้อนไปทั่วบ้านเมือง หนานเมธังและนางแก้วจึงไปหาซื้อวัว หาซื้อข้าวสาร นอนค้างแรมไปเรื่อยๆตามทาง จนมีความร่ำรวย จนเมื่อเดินทางมาถึงวัดพระนอนข่อนม่วง ทั้งสองสามีภรรยาได้หยุดพักเพราะเป็นเวลาเที่ยงและอากาศร้อนมาก หนานเมธังจึงได้มัดวัวไว้แล้วให้นางแก้วดูแล ส่วนตัวหนานเมธังได้เข้าไปกราบพระพุทธไสยอาสน์ (พระนอน) เมื่อเวลาผ่านไปนาน นางแก้วเห็นสามียังไม่กลับออกมาจึงได้เข้าไปตาม ระหว่างนั้นวัวตัวหนึ่งได้หลุดออกเพราะเชือกขาด วัวตัวนั้นวิ่งไปขวิดตลิ่งจนพัง นางได้เล่าให้สามีฟัง สามีจึงได้คุกเข่าอธิษฐานต่อเทวดาว่า "หากสมบัติเหล่านี้เคยเป็นของตนเองในอดีตหรือปัจจุบันชาตินี้ก็ขอให้อยู่ อย่างเดิม แต่ถ้าไม่ใช่ก็ขอให้หายไปปรากฏว่าเงินทองทั้งหมดยังอยู่ครบ
จึงได้นำมาบรรทุกหลังวัวทั้ง ๔ แล้วออกเดินทาง พอมาถึงบ่อน้ำที่ชื่อว่า "บ่อน้ำหมาเลีย" วัวตัวหนึ่งเกิดสะดุดก้อนหินหกล้มตาย ทั้งสองสามีภรรยาจึงได้นำสมบัติบรรทุกวัวทั้ง ๓ ตัว แต่ไม่สามารถจะบรรทุกได้หมด จึงได้นำสมบัติเหล่านั้นฝังดินใกล้ๆน้ำบ่อ จากนั้นก็เดินทางกลับบ้าน พอถึงเวลาเข้านอนก็นอนไม่หลับจึงปรึกษาภรรยาว่าจะเอาเงินทองที่ได้มา ไปสร้างวัดช่างลาน เรื่อยมาจนได้รับยศให้เป็นหมื่นเงินกอง แล้วสร้างวัดหมื่นเงินกองเพื่อเป็นอนุสรณ์
เป็นที่เข้าใจกันว่า มหาอำมาตย์ หมื่นเงินกองหรือทิดเมธัง ผู้สร้างวัดเมธังและวัดช่างลานเป็นผู้สร้างวัด "หมื่นเงินกอง" เพื่อเป็นอนุสรณ์ยศถาบรรดาศักดิ์ที่ตนเองได้รับ ต่อมาชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "วัดมะยมกอง" บ้างแต่ก็มีชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "วัดหมื่นเงินกอง" ตราบทุกวันนี้
เริ่มด้วยป้ายเข้าวัดแล้วกันนะคะ ทำเป็นสีเงินๆ ซะด้วยค่ะ แต่ไม่รู้ว่าทำจากเงินแท้หรืออย่างอื่นนะคะ

ส่วนนี่...เห็นบางเว็บเรียกอุโบสถนะคะ แต่เราไม่เห็นใบเสมาอีกเช่นกัน (หรือวัดภาคเหนืออุโบสถไม่ต้องมีเสมาหนอ?) เราก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นวิหารอะค่ะ

ประวัติของวัดแบบย่อจากป้ายที่มีที่วัดค่ะ



พระประธานภายในวิหารค่ะ


หลังจากกราบพระขอพรเรียบร้อยแล้ว ก็เดินออกมาค่ะ
แต่ตัววิหารของวัดนี้งามมากนะคะ เป็นวิหารไม้แล้วก็มีลายเหมือนปูนปั้นเป็นรูปเทวดาอยู่รอบเชียวค่ะ

ส่วนด้านหลังถัดจากวิหารนั้นก็เป็นเจดีย์แบบผสมระหว่างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมศรีสัชนาลัยผสมกับเจดีย์ทรงกลมของเชียงใหม่เป็นทรงปราสาทฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมสูง มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ด้านองค์ระฆังกลม
ซึ่งเจดีย์เดิมนั้นไม่ทราบว่าเป็นแบบไหน แต่ในปัจจุบันได้ครอบองค์เดิมเอาไว้เมื่อประมาณปี ๒๕๓๔ ได้ถูกฟ้าผ่าครั้งหนึ่งแต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักที่พระธาตุเจดีย์ไม่มีอะไรเสียหายชำรุดเลย ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์นี้กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้ว

ถ้าหันหน้าเข้าวิหาร มองไปทางซ้ายมือก็จะเจอวิหารอีกหนึ่งหลังซึ่งเป็นวิหารที่ประดิษฐานพระนอนนะคะ (ในรูปนี้คือวิหารทางขวามือค่ะ)

วิหารพระนอน พระพุทธไสยาสน์ พระนอนเป็นพระพุทธรูปปั้นปางไสยาสน์ศิลปกรรมแบบล้านนาเชียงใหม่ประทับฐานบัว ภายในซุ้มนับได้ว่าเป็นพระพุทธโบราณล้ำค่าองค์หนึ่ง แต่ไม่พบหลักฐานประวัติความเป็นมา
เข้าไปไหว้พระนอนกันนะคะ องค์ไม่ใหญ่มากนักค่ะ


มีบทสวดมนตร์สำหรับพระนอนด้วยค่ะ
ที่จริงเราสงสัยมานานแล้วนะคะว่า บทสวดมนตร์สำหรับพระพุทธรูปองค์นั้นองค์นี้นี่ เอามาจากไหน แต่งเอง? หรือมีมานานแล้ว แล้วดูยังไงว่าเป็นบทสวดมนตร์ของพระพุทธรูปองค์นั้นๆ หรือดูจากความหมายของถ้อยคำ? ถ้าท่านใดมีความรู้ตรงนี้จะบอกกล่าวกัน ก็เชิญได้เลยนะคะ

ส่วนอาคารหลังนี้คืออุโบสถหลังเก่าค่ะ
แต่เห็นว่าไม่มีประวัติความเป็นมาเหมือนกันนะคะ

นอกจากนั้นก็มีอีกอาคารหนึ่งค่ะ เห็นป้ายว่าเป็นพ่อแก่ แม่ตะเคียนทองและกุมารเงิน-ทองค่ะ

ซึ่งด้านในอาคารก็มีแท่นเคารพดังนี้ค่ะ
แต่เราไม่ทราบเลยว่าทำไมจู่ๆ ที่วัดนี้ถึงมีศาลาสำหรับเคารพพ่อแก่ แม่ตะเคียนทองและกุมารเงิน+ทองนะคะ
ถ้าท่านใดทราบ บอกเพิ่มเติมได้นะคะ ยินดีค่ะ

สำหรับวัดนี้ก็คงจะหมดแต่เพียงเท่านี้นะคะ ปิดทริปไหว้พระ ๙ วัด ณ เชียงใหม่แล้วค่ะ
ต่อไปก็จะเป็นรีวิวหม่ำๆ นะคะ กับรวมใจไก่ย่าง แล้วก็มีร้านอาหารขากลับที่กำแพงเพชรอีกที่ค่ะ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาบล็อกเรานะคะ
910102/6398/582
Create Date : 18 เมษายน 2554 |
Last Update : 18 เมษายน 2554 9:45:03 น. |
|
48 comments
|
Counter : 5011 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: gripenator วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:10:21:38 น. |
|
|
|
โดย: หัวใจสีชมพู วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:12:28:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:12:50:33 น. |
|
|
|
โดย: VELEZ วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:12:52:21 น. |
|
|
|
โดย: phunsud วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:13:43:21 น. |
|
|
|
โดย: VELEZ วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:13:45:47 น. |
|
|
|
โดย: Miacara วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:14:33:04 น. |
|
|
|
โดย: Miacara วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:14:55:25 น. |
|
|
|
โดย: VELEZ วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:14:56:01 น. |
|
|
|
โดย: แม่ไก่ วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:15:04:54 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:15:06:36 น. |
|
|
|
โดย: หัวใจสีชมพู วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:15:07:52 น. |
|
|
|
โดย: :D keigo :D วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:15:16:07 น. |
|
|
|
โดย: APPLEAIR วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:16:52:19 น. |
|
|
|
โดย: Miacara วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:20:12:43 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:20:38:10 น. |
|
|
|
โดย: nuboonme วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:23:07:49 น. |
|
|
|
โดย: VET53 วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:23:12:37 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:0:46:40 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:5:56:20 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:9:50:41 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:9:52:00 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:10:05:08 น. |
|
|
|
โดย: APPLEAIR วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:10:48:52 น. |
|
|
|
โดย: นายหัวเด่น วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:11:02:38 น. |
|
|
|
โดย: adaytrip วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:11:15:30 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:14:34:42 น. |
|
|
|
โดย: Somyachi วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:16:06:31 น. |
|
|
|
โดย: kochpon วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:17:54:44 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:19:52:38 น. |
|
|
|
โดย: สาวสะตอใต้ วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:20:12:33 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:21:36:30 น. |
|
|
|
โดย: nok_noyly วันที่: 19 เมษายน 2554 เวลา:22:38:27 น. |
|
|
|
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 20 เมษายน 2554 เวลา:1:52:10 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 เมษายน 2554 เวลา:7:19:14 น. |
|
|
|
โดย: มิลเม วันที่: 20 เมษายน 2554 เวลา:8:01:20 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 203 คน [?]

|
ชอบอ่านหนังสือและดูหนังค่ะ ตอนนี้ทำงานด้านการท่องเที่ยวอยู่ นิสัยดีบ้างร้ายบ้าง แล้วแต่สภาวการณ์และคนที่เจอ
เนื้อหาและรูปภาพทั้งหมดในบล็อกสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้นำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบล็อก
ติดต่อเจ้าของบล็อกได้ที่ theworpor@yahoo.com หรือ https://www.facebook.com/saoguide
|
|
|
|
|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|