Group Blog
 
<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
14 กันยายน 2557
 
All Blogs
 
น้ำมันเกิดตามธรรมชาติ


แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้ว ในปี ค.ศ. 2009

 การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์  นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด


น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ปิโตรเลียม ( petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน)รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล



บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส

ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม


คำว่า petroleum พบในแหล่งอังกฤษโบราณสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 (โดยสะกดว่า "petraoleum") และพบใช้ในศาสตรนิพนธ์ De Natura Fossilium ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1546 โดยนักแร่วิทยาชาวเยอรมัน จอร์จ เบาเออร์ (Georg Bauer) หรือที่รู้จักกันว่า จอเจียส อกริโคลา (Georgius Agricola) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า petroleum พบใช้บ่อยโดยหมายถึงน้ำมันแร่ที่ผลิตโดยการกลั่นจากของแข็งอินทรีย์ที่ขุดขึ้นมา อย่างถ่านหินเทียน (cannel coal) หรือที่ภายหลังเรียกว่า หินน้ำมัน และน้ำมันกลั่นซึ่งผลิตขึ้น ในสหราชอาณาจักร การเก็บรักษา (และภายหลังรวมถึงการขนส่ง) น้ำมันเหล่านี้ถูกวางระเบียบโดยชุดของพระราชบัญญัติปิโตรเลียม นับตั้งแต่พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ค.ศ. 1862 เป็นต้นมา


องค์ประกอบ

ในความหมายอย่างแคบที่สุด ปิโตรเลียมความหมายถึงเฉพาะแต่น้ำมันดิบ แต่ในความหมายทั่วไป คำว่า "ปิโตรเลียม" รวมไปถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นทั้งของแข็ง ของเหลวและแก๊ส ภายใต้ความดันพื้นผิวและสภาพอุณหภูมิ ไฮโดรคาร์บอนที่เบากว่าอย่างมีเทน อีเทน โพรเพน และบิวเทน อยู่ในสถานะแก๊ส ขณะที่เพนเทนและไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่าอยู่ในรูปของเหลวหรือของแข็ง อย่างไรก็ดี ภายใต้แอ่งกักเก็บน้ำมันใต้พิภพ สัดส่วนของแก๊ส ของเหลวและของแข็งขึ้นอยู่กับสภาพใต้พิภพและแผนภาพของภาค (phase diagram) ของสารผสมปิโตรเลียม


บ่อน้ำมันผลิตน้ำมันดิบได้มากกว่าปิโตรเลียมอย่างอื่น ขณะที่มีแก๊สธรรมชาติละลายอยู่บ้าง เพราะความดันที่พื้นผิวน้อยกว่าใต้พิภพ แก๊สบางชนิดจึงหลุดออกจากสารละลายและสามารถนำกลับคืนหรือเผาไหม้เป็นแก๊สธรรมชาติที่พบร่วมกับน้ำมัน (associated gas) หรือแก๊สธรรมชาติที่ละลายปนอยู่ใน้ำมันดิบ (solution gas) บ่อแก๊สผลิตแก๊สธรรมชาติเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ด้วยอุณหภูมิและความดันใต้พิภพสูงกว่าที่พื้นผิว แก๊สจึงอาจมีไฮโดรคาร์บอนที่หนักกว่าอย่างเพนเทน เฮกเซน และเฮปเทนในสถานะแก๊สด้วย ที่สภาพพื้นผิว สารเหล่านี้จะควบแน่นออกจากแก๊ส และเกิดเป็นแก๊สธรรมชาติเหลว ซึ่งแก๊สธรรมชาติเหลวเหล่านี้มีลักษณะภายนอกคล้ายแก๊สโซลีนและมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับน้ำมันดิบเบาที่ระเหยง่ายบางชนิด


สัดส่วนของไฮโดรคาร์บอนเบาในสารผสมปิโตรเลียมมีความแตกต่างกันมากตามแหล่งน้ำมันต่าง ๆ มีตั้งแต่ 97% โดยน้ำหนักในน้ำมันเบา ไปจนถึง 50% โดยน้ำมันในน้ำมันหนักและยางมะตอย



ไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันดิบส่วนใหญ่เป็นแอลเคน ไซโคลแอลเคน และไฮโดรคาร์บอนอะโรมาติกหลายชนิด ขณะที่สารประกอบอินทรีย์อื่นมีไนโตรเจน ออกซิเจนและกำมะถัน และมีโลหะอยู่บ้าง เช่น เหล็ก นิกเกิล และวานาเดียม องค์ประกอบโมเลกุลที่แม่นยำแตกต่างกันอย่างมากตามรูปแบบของไฮโดรคาร์บอน แต่สัดส่วนของธาตุเคมีองค์ประกอบแตกต่างกันคอ่นข้างน้อยดังตารางด้านล่าง


องค์ประกอบตามน้ำหนัก ธาตุ   >>  พิสัยร้อยละ
คาร์บอน >>    83 ถึง 87
ไฮโดรเจน  >>   10 ถึง 14
ไนโตรเจน   >>  0.1 ถึง 2
ออกซิเจน   >>  0.05 ถึง 1.5
กำมะถัน   >>  0.05 ถึง 6.0
โลหะ   >>  < 0.1



มีโมเลกุลไฮโดรคาร์บอนแตกต่างกันสี่แบบพบในน้ำมันดิบ สัดส่วนร้อยละของแต่ละแบบนั้นแตกต่างกันไปในน้ำมันแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำมันชนิดนั้น ๆ

เฉลี่ย     พิสัยร้อยละ
พาราฟิน     30%     15 ถึง 60
แนฟทีน     49%     30 ถึง 60
อะโรมาติก     15%     3 ถึง 30
แอสฟัลทีน     6%     ที่เหลือ



น้ำมันดิบมีลักษณะปรากฏแตกต่างกันมากโดยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของน้ำมัน ส่วนใหญ่มีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม แม้อาจจะมีสีออกเหลือง ออกแดง หรือออกเขียวบ้าง ในแหล่งกักเก็บ น้ำมันดิบมักพบร่วมกับแก๊สธรรมชาติ ซึ่งเบากว่า เกิดเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่มีทั้งแก๊สและน้ำมัน (gas cap) เหนือปิโตรเลียม และน้ำเกลือซึ่ง หนักกว่ารูปแบบน้ำมันดิบส่วนใหญ่ โดยปกติจะจมลงข้างใต้ น้ำมันดิบอาจพบในรูปกึ่งของแข็งซึ่งผสมกับทรายและน้ำ ดังที่พบในทรายน้ำมันอธาบาสกา (Athabasca) ในแคนาดา ซึ่งมักเรียกว่าเป็น ยางมะตอยดิบ ในแคนาดา ยางมะตอยถูกมองว่าเป็นน้ำมันดิบรูปแบบที่เหนียว สีดำ คล้ายกับน้ำมันดินซึ่งหนาและหนักเสียจนกระทั่งมันต้องได้รับความร้อนหรือละลายก่อนที่จะไหลได้ เวเนซุเอลามีปริมาณน้ำมันในรูปทรายน้ำมันโอริโนโค (Orinoco) มากเช่นกัน แม้ไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในทรายน้ำมันดังกล่าวมีลักษณะเป็นของเหลวมากกว่าที่พบในทรายน้ำมันในแคนาดา และมักเรียกว่าเป็น น้ำมันดิบหนักพิเศษ (extra heavy oil) ทรัพยากรทรายน้ำมันเหล่านี้ถูกเรียกว่า น้ำมันไม่ใช่แบบธรรมดา (unconventional oil) เพื่อแยกแยะน้ำมันเหล่านี้จากน้ำมันที่สามารถแยกได้โดยใช้วิธีบ่อน้ำมันแบบเก่า ระหว่างทั้งสอง แคนาดาและเวเนซุเอลามียางมะตอยและน้ำมันดิบหนักพิเศษรวมกันที่ประเมินไว้ 3.6 ล้านล้านบาร์เรล (570×109 ม.3) เกือบสองเท่าของปริมาตรสำรองน้ำมันดิบแบบธรรมดา (conventional oil) ของโลก


น้ำมันส่วนใหญ่ของโลกไม่ใช่แบบธรรมดา (unconventional oil)

โดยปริมาตร ปิโตรเลียมส่วนใหญ่ใช้เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สโซลีน ซึงทั้งสองเป็นแหล่ง "พลังงานปฐมภูมิ" ที่สำคัญ 84% โดยปริมาตรของไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในปิโตรเลียมถูกเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงที่อุดมไปด้วยพลังงาน (เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม) รวมทั้งแก๊สโซลีน ดีเซล น้ำมันเจ็ต น้ำมันให้ความร้อน (heating oil) และน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ ตลอดจนแก๊สปิโตรเลียมเหลว น้ำมันดับระดับเบากว่าให้ผลผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากที่สุด แต่แหล่งสำรองน้ำมันเบาและกลางของโลกได้หมดไปแล้ว โรงกลั่นน้ำมันจำเป็นต้องผ่านกระบวนการน้ำมันหนักและยางมะตอยเพิ่มขึ้น และใช้วิธีการอันซับซ้อนและแพงในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ เพราะน้ำมันดิบที่หนักกว่ามีคาร์บอนมากเกินไปและมีไฮโดรเจนไม่พอ กระบวนการเหล่านีโดยทั่วไปแล้วมีทั้งการนำคาร์บอนออกจากหรือเพิ่มไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล และใช้การแตกโมเลกุลด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (fluid catalytic cracking) เพื่อเปลี่ยนโมเลกุลที่ยาวและซับซ้อนในน้ำมันเป็นโมเลกุลที่สั้นกว่าและเรียบง่ายกว่าในเชื้อเพลิง



ด้วยความหนาแน่นของพลังงานที่สูง การขนส่งที่ง่ายและค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้น้ำมันกลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุของโลกตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1950 ปิโรเลียมยังเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เคมีหลายชนิด รวมทั้ง เภสัชภัณฑ์ ตัวทำละลาย ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และพลาสติก ปริมตรของไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ใช้ในการผลิตพลังงาน 16% จะถูกเปลี่ยนมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบเหล่านี้ ปิโตรเลียมพบในชั้นหินเนื้อพรุนในชั้นหินบนบางพื้นที่ของเปลือกโลก นอกจากนี้ยังมีปิโตรเลียมในทรายน้ำมัน ปริมาณน้ำมันสำรองที่ทราบกันประเมินไว้ที่ราว 190 กิโลเมตร3 (1.2 ล้านล้านบาร์เรล) โดยไม่คิดทรายน้ำมัน หรือ 595 กิโลเมตร3 (3.74 ล้านล้านบาร์เรล) หากคิดรวมทรายน้ำมัน การบริโภคปัจจุบันอยู่ที่ 84 ล้านบาร์เรลต่อวัน (13.4×106 ม.3) หรือ 4.9 กิโลเมตร3 ต่อปี ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำมันคงเหลือสามารถใช้ต่อไปได้อีก 120 ปี หากความต้องการปัจจุบันคงที่



โครงสร้างของสารประกอบวานาเดียมพอร์ไฟรินซึ่งแยกจากปิโตรเลียม ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับโมเลกุลของคลอโรฟิลล์เอ
เคมี

ปิโตรเลียมเป็นการผสมกันของไฮโดรคาร์บอนต่างชนิดกันจำนวนมาก ซึ่งที่พบได้มากที่สุดในโมเลกุลเป็นอัลแคน (โซ่ตรงหรือโซ่กิ่ง) ไซโคลแอลเคน อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือสารเคมีที่ซับซ้อนกว่าอย่างแอสฟัลทีน ปิโตรเลียมแต่ละอย่างมีการผสมกันของโมเลกุลเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี เช่น สีและความหนืด

แอลเคน หรือที่รู้จักกันว่า พาราฟิน เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวที่เป็นโซ่ตรงหรือโซ่กิ่งที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ มีสูตรทั่วไปว่า CnH2n+2 โดยทั่วไปมักมีคาร์บอน 5 ถึง 40 อะตอมต่อโมเลกุล แม้จะมีโมเลกุลที่สั้นกว่าหรือยาวกว่าบ้างในสารผสม


แอลเคนตั้งแต่เพนเทน (C5H12) ถึงออกเทน (C8H18) ถูกกลั่นเป็นแก๊สโซลีน แอลเคนตั้งแต่โนเนน (C9H20) ถึงเฮกซะเดคเคน (C16H34) ถูกกลั่นเป็นเชื้อเพลิงดีเซล น้ำมันก๊าด และเชื้อเพลิงเจ็ต แอลเคนที่มีอะตอมคาร์บอนมากกว่า 16 อะตอมสามารถถูกกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ไขพาราฟินเป็นแอลเคนที่มีอะตอมคาร์บอนประมาณ 25 อะตอม ขณะที่ยางมะตอยมี 35 หรือมากกว่า แม้เหล่านี้โดยทั่วไปจะถูกแยกโดยโรงกลั่นสมัยใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่ากว่า โมเลกุลที่สั้นที่สุด คือ มีอะตอมคาร์บอนน้อยกว่า 4 อะตอม อยู่ในสถานะแก๊สที่อุณหภูมิห้อง เหล่านี้เป็นแก๊สปิโตรเลียม ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการและมูลค่าของการเอาลับคืน แก๊สเหล่านี้จะถูกทำให้ลุกไหม้ไป (flare) ขายเป็นแก๊สปิโตรเลียมเหลวภายใต้ความดัน หรือใช้เป็นพลังงานแก่เตาเผาของโรงกลั่นเอง ช่วงฤดูหนาว (C4H10) ถูกผสมเข้าสู่บ่อแก๊สโซลีนในอัตราสูง เพราะแรงดันไอที่สูงของบิวเทนช่วยสตาร์ดขณะเครื่องเย็น (cold start) ด้วยถูกทำให้เป็นของเหลวภายใต้ความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศเล็กน้อย มันเป็นที่รู้จักกันดีว่าให้พลังงานแก่ไฟจุดบุหรี่ แต่ยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ โพรเพนสามารถทำให้เป็นของเหลวภายใต้ความดันเล็กน้อย และใช้บริโภคได้แทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับพลังงาน ตั้งแต่การทำอาหารไปจนถึงการให้ความร้อนและการขนส่ง


ไซโคลแอลเคน หรือที่รู้จักกันในชื่อ แนพทีน เป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวซึ่งมีวงแหวนคาร์บอนหนึ่งวงหรือมากกว่า ซึ่งมีอะตอมไฮโดรเจนเกาะอยู่ตามสูตร CnH2n ไซโคลแอลเคนมีคุณสมบัติเหมือนกับแอลเคนแต่มีจุดเดือดสูงกว่า

อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเป็นไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวซึ่งมีวงแหวนเชิงระนาบหกคาร์บอนหนึ่งวงหรือมากกว่า ที่เรียกว่า เบนซินริง ซึ่งมีอะตอมไฮโดรเจนเกาะเข้าตามสูตร CnHn อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนเมื่อเผาไหม้แล้วให้ควันเขม่า และมีกลิ่น บางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง

โมเลกุลที่แตกต่างกันเหล่านี้ถูกแยกโดยการกลั่นลำดับส่วนที่โรงกลั่นน้ำมัน เพื่อผลิตเป็นแก๊สโซลีน เชื้อเพลิงเจ็ต น้ำมันก๊าด และไฮโดรคาร์บอนอื่น ตัวอย่างเช่น 2,2,4-ไตรเมทิลเพนเทน (ไอโซออกเทน) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในแก๊สโซลีน มีสูตรเคมี C8H18 และทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแบบคายความร้อน ดังสมการด้านล่าง



2 C8H18

(l) + 25 O2 (g) → 16 CO2 (g) + 18 H2O (g) + 10.86 MJ/mol (ของออกเทน)

การเผาไหม้ปิโตรเลียมหรือแก๊สโซลีนอย่างไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ การเผาไหม้ในที่ขาดออกซิเจนส่งผลให้เกิดคาร์บอนมอนออกไซด์ เนื่องจากอุณหภูมิสูงและความดันสูงที่เกี่ยวข้อง ไอเสียจากการเผาไหม้แก๊สโซลีนในเครื่องยนต์รถยนต์จึงมักมีไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการในการเกิดหมอกควันแบบโฟโตเคมี


การผสม (Blending)

คือการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาเติมหรือผสมสารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามที่ต้องการ เช่น การผสมน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มเลขออกเทน หรือผสมน้ำมันเตาเพื่อให้ได้ความหนืดตามที่ต้องการ



สนใจรายละเอียดเพิ่มคลิกอ่านต่อที่นี่นะครับ....

Smileyหมวด วิทยาศาสตร์


Create Date : 14 กันยายน 2557
Last Update : 14 กันยายน 2557 6:56:28 น. 27 comments
Counter : 2087 Pageviews.

 
ขุนเพชรขุนราม Science Blog

คิดถึงตารางธาตุขึ้นมายังไงก็ไม่รู้เจ้าค่ะ





โดย: กาบริเอล วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:8:19:15 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
พักนี้ท่านขุนห่างหายจากบล็อกไปนะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog



โดย: หอมกร วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:12:41:18 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


ว่าแต่ในประเทศไทยมีน้ำมันมากน้อยแค่ไหน

ใครรู้บ้างหนอ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:18:59:32 น.  

 
ท่านขุนยังศึกษาอยู่หรือเจ้าคะ...เอ...ท่าทางท่าจะยังเยาว์วัยอยู่กระมัง

อิฉันทำงานแล้วกลับบ้าน ไม่ต้องทำอะไร...ชอบเล่นเฟสเพราะเล่นเกมส์ละเจ้าค่ะ เพื่อนก็คุยอยู่ในกลุ่มเล็กๆที่รู้สึกคุยภาษาเดียวกันเท่านั้น

แต่เราก็มาคุยกันบล็อคนะเจ้าคะ...


โดย: ลั่นทมขาว วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:20:36:07 น.  

 

Like ให้เป็นคนที่ 1
แวะมาอ่านประดับความรู้ค่ะ
ขอบคุณที่นำมาฝากนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:22:57:52 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: pantawan วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:23:34:57 น.  

 
ได้ความรู้อีกแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ALDI วันที่: 15 กันยายน 2557 เวลา:2:47:32 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าค่ะท่านขุน
โหวตนะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน วันที่: 15 กันยายน 2557 เวลา:7:11:02 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
................
สวัสดียามเช้าในเมืองไทยค่ะ
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมกันที่บ้านนะคะ


โดย: รู้นะว่าคิดถึง วันที่: 15 กันยายน 2557 เวลา:8:21:38 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณท่านขุน ^^

มาอ่านเรื่องราวดีๆค่ะ
ไม่รู้พลังงานบ้านเราในอนาคตจะเป็นยังไงนะคะ
อ่านแล้วก็คิดตาม

นุ่นเปลี่ยนเฟสใหม่ เอาไว้ขอแอดท่านขุนใหม่นะคะ
ของเก่าเจอไวรัสพังไปค่ะ

ขอบคุณมากๆค่า



โดย: lovereason วันที่: 15 กันยายน 2557 เวลา:17:33:08 น.  

 
มาโหวตให้เรื่องราวดีๆค่ะท่านขุน
น้ำมันมีค่ามากเลยนะคะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
haiku Fanclub Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
moresaw Dharma Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 15 กันยายน 2557 เวลา:21:56:34 น.  

 
อีกไม่นานก็หมดไปตามธรรมชาติ
๋โหวต ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 16 กันยายน 2557 เวลา:22:01:13 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สาวไกด์ใจซื่อ Travel Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

สวัสดีค่ะท่านขุน
ข้อมูลมีประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ


โดย: Close To Heaven วันที่: 17 กันยายน 2557 เวลา:11:31:51 น.  

 
หวัดดีค่าท่านขุน

ไทยเราก็มีทรัพยากรน้ำมันมากนะคะ
แต่ขุดมากลั่นแล้วส่งออก
แต่ก็ขายให้คนไทยด้วยกันแพงกว่าอีก
เรื่องนี้เป็นปัญหาระดับชาติยาวนานจริงๆค่า อิอิ



มาส่งกำลังใจให้ค่า



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog




โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 17 กันยายน 2557 เวลา:20:09:37 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปชมต้นไม้ค่ะท่านขุน



โดย: mambymam วันที่: 17 กันยายน 2557 เวลา:20:30:55 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านขุน
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: เนินน้ำ วันที่: 18 กันยายน 2557 เวลา:7:23:37 น.  

 
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ตอนนี้ชักมีค่ามากเกินไปเสียแล้ว
จนลดความสำคัญของปัจจัย 4 เสียหมด


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 กันยายน 2557 เวลา:12:43:59 น.  

 
มีความสุขกับการทำงานะคะ ^_^

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ซองขาวเบอร์ 9 Home & Garden Blog ดู Blog
wicsir Travel Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Music Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog


โดย: ฝากเธอ วันที่: 18 กันยายน 2557 เวลา:22:44:44 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

newyorknurse


โดย: newyorknurse วันที่: 20 กันยายน 2557 เวลา:0:21:46 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 20 กันยายน 2557 เวลา:10:22:41 น.  

 

มอร์นิ่งค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 22 กันยายน 2557 เวลา:7:59:57 น.  

 
สวัสดียามสายค่ะท่านขุน
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: jamaica วันที่: 22 กันยายน 2557 เวลา:10:51:08 น.  

 
หมดงบแล้ว พรุ่งนี้มาเติมให้นะคะคุณขุนราม


โดย: ญามี่ วันที่: 23 กันยายน 2557 เวลา:10:04:36 น.  

 
สวัสดีค่ะท่านขุน
ขอบคุณที่แวะไปชมดอกไม้ค่ะ



โดย: mambymam วันที่: 23 กันยายน 2557 เวลา:19:28:53 น.  

 
แวะมาทักทายครับ


โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 23 กันยายน 2557 เวลา:21:51:36 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ญามี่ วันที่: 24 กันยายน 2557 เวลา:2:42:29 น.  

 
สวัสดีค่าาาท่านขุน
มาทักทายยามบ่ายวันพุธค่ะ อิอิ


โดย: Close To Heaven วันที่: 24 กันยายน 2557 เวลา:15:55:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.