เหตุเกิดพบว่าเพื่อนของคุณท่านขุน...
การใช้ถังน้ำแข็งราดตัวตามแคมเปญ
ไอซ์บักเกตแชเลนจ์
การท้าด้วยการใช้ถังน้ำแข็งราดตัวเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เอแอลเอส ไอซ์ บัคเก็ต ชาเลนจ์ (ALS Ice Bucket Challenge) เป็นแคมเปญการกุศลเพื่อสมาคมผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ เอแอลเอส โดยเป็นการท้าให้ใช้ถังน้ำแข็งราดตัว ถ่ายคลิปโพสลงอินเทอร์เน็ต โดยติดแฮชแท็ก #IceBucketChallenge และท้าคนอื่นต่อไปอีกสามคนหรือมากกว่านั้น หากไม่ทำต้องบริจาค 100 ดอลล่าร์ ให้กับสมาคม แต่โดยทั่วไปผู้รับคำท้าจะทำทั้งสองอย่าง และเป็นกระแสออกไปทั่วโลก เหตุเกิดพบว่าเพื่อนของท่านขุน.... ท่านขุนกำลังจะพูดถึง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง พอดีว่าเมื่อวันศุกร์ เสาร์ และคงพรุ่งนี้วันอาทิตย์ ได้เจอกับเพื่อนฝรั่งชาวอเมริกาซึ่งแต่งงานภรรยาเป็นคนไทย มีลูกชายเป็นนักฮอกกี้(ตัวน้อย)วันนี้ก็ไปชมเกมลูกชายของเพื่อนท่านนี้แข่งขัน โดยส่วนตัวท่านขุนเองยังไม่เคยเจอกับภรรยาของเพื่อนท่านนี้เลย เพราะเวลาที่เจอกันก็จะไปสนามเกมฮอกกี้ ภรรยาของเพื่อนฝรั่งคนนี้ก็จะติดภาระทุกครั้ง คือเธอทำร้านอาหารไทยก็คงจะยุ่ง วันนี้ก็เช่นกัน.. ท่านขุนเพียงพูดคุยกับลูกชายและเพื่อนฝรั่ง... เพื่อนฝรั่งคนนี้ สมมุติว่าเขาชื่อ"บ๊อบ"นะขอรับ นิสัยเป็นคนชอบดื่ม สูบบุหรี่ และเมื่อ สามปีก่อน อยู่ๆก็ป่วย มีอาการพูดติดขัด และเมื่อปีก่อน เกิดล้ม ก่อนนั้น มีอาการเดินไม่ได้ทั้งๆที่ีอายุยังน้อย ต้องใช้ไม้เท้า เพื่อนๆต้องคอยให้กำลังใจ เกรงว่า"บ๊อบ"จะฆ่าตัวตาย แต่ว่าเขามีกำลังใจอยู่เพราะลูกชายที่นักฮอกกี้ พ่อลูก ไปแข่งขันกับทีม ตามสนามต่างๆ ไปแข่งแต่ละครั้งต้องไปค้างกับทีม(เป็นทีมของเด็กๆอายุ 9-13ขวบ พ่อ แม่ ให้การสนับสนุน) ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์นี้ สามวัน พอดีว่ามาแข่งใกล้ๆบ้านท่านขุน เลยไปชมและเจอ บ๊อบๆบอกว่า คุณหมอสงสัยว่าเขาเป็น ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เอแอลเอส แต่ยังไม่ยืนยั่นราวอีกสัปดาห์รู้ผล... วันนี้ท่านขุนกลับบ้านหลังชมเกมฮอกกี้ ก็มาค้นประวัติโรคกล้ามเนื้ออ่อนแอ ก็เจอมากมาย ... แต่เห็นว่า นสพ เดลินิวส์ มี คุณหมอ ท่านออกมาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ท่านขุนขอยกเรื่องราวทั้งหมดมาลง และขอขอบคุณ นสพ เดลินิวส์ เป็นอย่างมากที่นำเรื่องนี้มาลงให้ความรู้แก่ประชาชน.....  โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุด ในกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง แกนประสาท และไขสันหลัง โดยลักษณะของอาการจะเกิดกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ
จากกระแส ไอซ์ บัคเก็ต ชาเลนจ์ เพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริหารและเหล่าดาราเซเลบริตี้นั้น นพ.บุญชัย พิพัฒน์วนิชกุล ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ. สมชาย โตวณะบุตร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา และ พญ.ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์ หัวหน้ากลุ่มงานประสาทวิทยา ได้ร่วมให้ข้อมูลในเรื่องนี้
โดย นพ.สมชาย ระบุว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จัดเป็นโรคที่พบมากที่สุด ในกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง แกนประสาท และไขสันหลัง โดยลักษณะของอาการจะเกิดกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ ต่อมาจะมีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากการหายใจไม่เพียงพอ จนกระทั่งเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง หรือสำลักอาหารเพราะกลืนไม่ได้ โดยมักเสียชีวิตหลังจากที่โรคแสดงอาการแล้ว 39 เดือน  ส่วนใหญ่จะพบอาการเริ่มแรกที่แขน ขาข้างใดข้างหนึ่งก่อน 75% ผู้ป่วยที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยการกลืนหรือพูดลำบากนั้นมี 25% ส่วนสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าประมาณ 10% ของผู้ป่วยเกิดจากพันธุกรรม
โรคดังกล่าวมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 40-60 ปี พบในแถบยุโรปและอเมริกามากกว่าแถบเอเชีย มีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 1.2-4 ราย ต่อ 100,000 ประชากร ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการรวบรวมสถิติเอาไว้ แต่จากที่สถาบันประสาทวิทยามีผู้ป่วยสะสมประมาณ 100 กว่าราย สถิติผู้ป่วยรายใหม่ประมาณเดือนละ 1-2 ราย เฉพาะปี 2556 มีผู้ป่วย 24 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในระยะรุนแรง มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 10 ราย ส่วนใหญ่อายุประมาณ 50-60 ปี
สำหรับการรักษาเบื้องต้นมียาเพียงตัวเดียวที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง มักใช้ในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายขาดจากโรค เป็นเพียงยาที่ช่วยชะลอการเสียชีวิตออกไปไม่กี่เดือนเท่านั้น จึงไม่เป็นที่นิยม ดังนั้นวิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการทำกายภาพบำบัด ช่วย คงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้นานที่ สุด และช่วยประคับประคองจิตใจ และเนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะกลืนอาหารลำบากจำเป็นต้องให้อาหารทางสาย ตรงนี้ต้องผู้และ ผู้ป่วยให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ เพราะไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงเร็วขึ้นกว่าเดิม
ขอเตือนถึงการทำ ไอซ์ บัคเก็ต ชาเลนจ์ ว่าควรใช้น้ำสะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค เพราะน้ำมีโอกาสเข้าตา เข้าหู และบาดแผล โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ เช่น หอบหืดไม่ควรเล่น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายแบบพลันที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้
พญ.ทัศนีย์ กล่าวว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งหากโรคยังไม่แสดงอาการก็ไม่สามารถทราบได้เพียงแค่ตรวจร่างกาย ทั้งนี้ในต่างประเทศพบว่าโรคดังกล่าวมักเกิดกับผู้เล่นกีฬาที่ใช้ร่างกายกระแทกมาก ๆ แต่จากผลการศึกษาไม่พบความเชื่อมโยงของการเกิดโรคแต่อย่างใด นอกจากนี้ ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มีการสันนิษฐานว่าในร่างกายมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินไปจนไปทำลายเซลล์บางตัวให้ตายไป อย่างไรก็ตามวิธีการสังเกตโรคคือหากออกกำลังกายแล้วเหนื่อยมาก และนานติดต่อกันหลายวัน ร่วมกับพบปฏิกิริยากล้ามเนื้อลีบ และเต้นกระตุกควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยรักษา สำหรับค่าใช้จ่ายในรายที่ต้องใช้ยาช่วยกลืนอาหาร จะตกอยู่ที่ประมาณวันละ 1,000 บาท ส่วนในรายที่อาการหนัก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ราคาเครื่องแบบพกพา อยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท และเครื่องดูดเสมหะราคาหลักหมื่นขึ้นไป ยังไม่รวมค่าจ้างคนดูแลและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกประมาณเดือนละ 2-5 หมื่นบาท โรคนี้จึงถือเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก สิ่งที่ดีที่สุดในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคือการรักษาตามอาการ
ด้านนพ.บุญชัย กล่าวว่า กระแสไอซ์บัคเก็ต ที่ใช้น้ำเย็นราดตัวระดมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเริ่มจากต่างประเทศและลามมาถึงประเทศไทย ถือเป็นอีกกิจกรรมที่ดีที่จะทำให้ประชาชนรู้จักโรคนี้มากขึ้น สถาบันประสาทวิทยาโดยมูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา ที่มีกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยโรคระบบประสาทที่ยากไร้อยู่แล้ว ได้แยกกองทุนเฉพาะผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ขึ้นเพื่อช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ ทั้งจัดซื้อรถเข็น เครื่องดูดเสมหะ เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ที่จำเป็น ยังจะใช้ในงานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยประชาชนที่สนใจบริจาคสนับสนุนได้โดยตรงที่ กองทุนผู้ป่วยเอแอลเอส สอบถามโทร. 0-2306-9800 ต่อ 2439 หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาเตาปูน เลขที่ 020-1-33312-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ เลขที่ 090-712612-2 และ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา รพ.รามาธิบดี เลขที่ 026-430952-1
กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ เอแอลเอส นพพร เจริญเปี่ยม : รายงานขอบคุณบทความ นสพ เดลินิวส์ หมวด วิทยาศาสตร์
Create Date : 24 สิงหาคม 2557 |
|
17 comments |
Last Update : 25 สิงหาคม 2557 4:49:40 น. |
Counter : 1716 Pageviews. |
|
 |
|
ขุนเพชรขุนราม Science Blog ดู Blog
สวัสดีค่ะท่านขุน เจ้าโรคนี้ดูท่าจะทรมาณจริงๆค่ะ
ส่วนตัวแล้วเคยมีอาการข้อมือด้านซ้ายอ่อนแรง นานเกือบๆสองเดือนสมัย ม.ต้น หยิบจับอะไรเป็นร่วงหมด คุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ต้องเอามือล้วงกระเป๋าตลอดไม่ให้คนสังเกต ยังรู้สึกว่ามันทรมาณมากๆเลย
ALS คงหนักกว่าหลายเท่า
(แต่หายแล้วนะคะตอนนี้)