|
|
|
- พระมหามัยมุนี วัดพระเจ้าหลวง, กาดหลวงเชียงตุง
- จอมมน, ประตูเมืองป่าแดง, วัดเชียงยืน
- โบสถ์ดอยเหมย, บ้านพักผู้แทนเจ้าอาณานิคมอังกฤษ, หอหลวงเชียงตุง (ใหม่)
- ดอยเหมย เชียงตุง
- ยามเช้าที่ Hom Hein Hotel, พระธาตุสี่แผ่นดิน
- วัดพระธาตุจอมคำ, พระเจ้าชี้นิ้ว
- ณ เชียงตุง วันแรก, วัดอินทบุปผาราม
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : Rangoon Sacretariat Building, Teak Bar (จบ)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : Park Royal Hotel Yangon, ย่านตึกเก่าสไตล์โคโลเนียล
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : พระมหาเจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : พระพุทธรูปชเวเมี๊ยตมัน, เจดีย์ชเวนัตต่อง
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : Thone Pan Hla, ตลาดเช้าเมืองแปร
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : เจดีย์บอว์บอว์จี (Bawbawgyi Stupa), วิหารเลเมียทนา (Lemyatnhar)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณศรีเกษตร
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : ผาอะเก่าว์ต่อง (Akauk Taung) (2)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : ผาอะเก่าว์ต่อง (Akauk Taung) (1)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : Lucky Dragon Hotel, เดินเล่นใกล้ที่พัก
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : พระมหาเจดีย์ชเวสันดอว์ (Shwesandaw Pagoda)
- เมืองแปร - ย่างกุ้ง : วัดพระมหามัยมุนี เมือง Nattalin, เจดีย์ปยาจี
- Shwe in bin Monastery ตอนจบ
- พิธีล้างพระพักตร์ พระมหามัยมุนี, Grand Di Pae Yinn Monastery
- Yaw Min Gyi Monastery, Shwe Kyat Kya Pagoda
- น้ำตก Anisakan, Shwe Sar Yan Pagoda
- ตลาดเช้า, โบสถ์แดง All Saints Church
- เดินเล่นในเมืองพินอูลวิน, วัดฮินดู, หอนาฬิกา Purcell Tower
- น้ำตก Pwe Kaung (Hamshire), วัด Maha Aung Htoo Kanda
- สวนพฤกษศาสตร์กันดอว์จี (National Kandawkyi Botanical Garden)
- นั่งรถม้าเจ้าหญิง
- ตลาดเช้า, สถานีรถไฟพินอูลวิน
- Mahar Shwe Thein Taw Pagoda, Royal Jasmine Hotel - Pyin Oo Lwin
- Ta Moke Shwe Gu Gyi Temple
|
|
|
|
|
พระมหามัยมุนี วัดพระเจ้าหลวง, กาดหลวงเชียงตุง
ทริป เชียงตุง 3 วัน 2 คืน วันที่ 1 - 3 มีนาคม 2567
เปิดบล็อกด้วยดอกไม้ดีกว่า...จำปีแคระ (ใช้ google lens ช่วยหา)
ไม่แน่ใจว่าใช่ ยี่หุบสีชมพู หรือเปล่าค่ะ
17.25 น. วันที่ 2 มีนาคม 2567
บริเวณนี้ ใกล้ ๆ หอคำเจ้าฟ้าเชียงตุง (อดีต) จะเป็นหอนางฟ้า หรือที่พักของชายาแห่งเจ้าฟ้า
***หากเป็นมเหสีเอกของเจ้าฟ้าจะเรียกว่า มหาเทวี ซึ่งชาวเมืองจะเรียกว่า เจ้าแม่เมือง ส่วนชายาองค์อื่น ๆ จะเรียกว่า นางฟ้าขอบคุณ ข้อมูลจาก https://pantip.com/topic/36140919 เป็นกระทู้ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ปี 2560 ค่ะ เจ้าของกระทู้ทำการบ้านอย่างดี มีภาพสวย ๆ เยอะเลยค่ะ หอสีส้ม อยู่ข้างวัดเชียงยืน เเละอยู่หน้าหอคำหลวง ที่นี่คือ "หอสวนเล้า" ของเจ้าสุคันธา เป็นหอที่เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงได้สร้างขึ้นให้เจ้านางบัวทิพย์หลวง นางฟ้าคนที่ 3 ได้อาศัยอยู่กับราชบุตรธิดา
เจ้าสุคันธา คือใคร....ท่านคือตำนานรักที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่กับเชียงตุงเข้าไว้ด้วยกัน ก็จริงที่เมื่อก่อนหน้านั้นเชียงตุงเคยเป็นเมืองลูกช้างหางเมืองของเชียงใหม่ แต่เมื่ออังกฤษเข้ามายึดพม่าและรัฐฉานไว้ในความครอบครองแล้ว ล้านนาก็เหมือนจะสูญเสียเชียงตุงซึ่งอยู่ในเขตรัฐฉานไปโดยปริยาย แม้แต่เจ้าน้อยสุขเกษมยังต้องจำใจส่งมะเมี้ยะ สาวพม่าคนรักกลับคืนสู่พม่า ที่ตอนนั้นพม่าเป็นประเทศในอาณัติของอังกฤษแล้ว ล้านนาเองก็มาอยู่ฝั่งสยามอย่างสมบูรณ์แล้วเหมือนกัน ก็กลัวมีปัญหาทางด้านการเมืองกัน... แต่เจ้าอินทนนท์ น้องชายต่างมารดาของเจ้าน้อยสุขเกษม ซึ่งเจ้าอินทนนท์เป็นราชบุตรองค์เล็กของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของล้านนา กลับส่งผู้ใหญ่ทาบทามสู่ขอ เจ้านางสุคันธา ราชธิดาของเจ้าก้อนแก้วอินแถลงแห่งเชียงตุง สร้างตำนานรักอันเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองแผ่นดินเข้าด้วยกันอีกครั้ง หอห่อง หอของเจ้าบุญวาทย์วงศา ซึ่งเป็นหนึ่งในราชบุตรของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง กับ เจ้านางบุญยวง นางฟ้าองค์ที่ 5 หอห่อง ตำหนักของเจ้านางบุญยวงหอห่อง เจ้าฟ้าหลวงก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าหลวงเมืองเชียงตุง เป็นผู้สร้างให้กับเจ้านางบุญยวง นางฟ้าองค์ที่ 5 ของพระองค์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณปีื พ.ศ. 2453 เป็นอาคารสองชั้น ก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตก ภายนอกทาสีขาว ชั้นล่างด้านหน้าเป็นห้องรับรอง ภายในชั้นล่างมีห้องย่อยอีก 4 ห้อง ชั้นบนเป็นที่พำนักของเจ้านางบุญยวงและโอรสธิดา หลังจากสิ้นเจ้านางบุญยวงแล้ว เจ้าบุญวาทเป็นผู้รับมรดกหอห่อง และได้ใช้เป็นที่พำนักขององค์ท่านกับภรรยา และบุตรชาย 3 คน คือ เจ้าโหลง เจ้าแหลง และเจ้าเล็ก ต่อมาท่านย้ายไปอยู่ย่างกุ้ง และเสียชีวิตที่ย่างกุ้ง หอห่องเคยถูกใช้เป็นกองบัญชาการของกองทัพไทยในปี พ.ศ. 2485 เมื่อกองพลที่ 3 นำโดยพลตรีหลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) ในช่วงบุกยึดเมืองเชียงตุงได้ เจ้านางบุญยวง เป็นธิดาของพญาปราสาท ผู้มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของราชสำนักเชียงตุง เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงรับเป็นนางฟ้า (หม่อม) ของพระองค์ และมีโอรสธิดา 2 องค์ คือ 1.เจ้านางฟองนวล 2.เจ้าบุญวาท (ท่านเป็นผู้มีบทบาทในการต้อนรับกองทัพไทยที่บุกเข้าเชียงตุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และกองทัยพายัพของไทย ซึ่งนำโดยหลวงเสรีฤทธิ์ ได้ใช้หอห่องของท่านบัญชาการ)
Create Date : 30 ตุลาคม 2567 |
Last Update : 30 ตุลาคม 2567 16:05:13 น. |
|
0 comments
|
Counter : 596 Pageviews. |
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกะริโตะคุง, คุณกะว่าก๋า, คุณทนายอ้วน, คุณสองแผ่นดิน, คุณปรศุราม, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณดอยสะเก็ด, คุณหอมกร, คุณThe Kop Civil, คุณ**mp5**, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณปัญญา Dh, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณกาบริเอล, คุณtuk-tuk@korat, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณtanjira |
|
|
|
|