ทริป เชียงตุง 3 วัน 2 คืนวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2567ทริปนี้ ไปกับคุณตอง เจ้าของเพจ แบกเป้ไปเที่ยว by ลำไยทัวร์ (ส่วนมากเราไปอยู่ไม่กี่เพจค่ะ ซ้ำไปซ้ำมา) เริ่มต้นกันที่สนามบินดอนเมือง บินไปเชียงราย ถึงเชียงราย เดินทางต่อด้วยรถตู้ไปด่านแม่สาย จากนั้นข้ามด่านแม่สายไปด่านท่าขี้เหล็ก มุ่งหน้าสู่เมืองเชียงตุง (ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม.)08.11 น. วันที่ 1 มีนาคม 2567 สนามบินแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายมีจัดแสดงนิทรรศการรถตู้มารอรับ...ไปแวะหาอะไรกินมื้อเช้าก่อนค่ะ09.28 น. ขนมจีนน้ำเงี้ยวค่ะ จำไม่ได้ว่า ใช่ร้านน้ำเงี้ยวป้าสุข หรือเปล่านะ10.10 น. ที่ว่าการอำเภอด่านแม่สาย ไกด์ทำเรื่องผ่านด่าน ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตนะคะ ใช้แต่บัตรประชาชนพระบรมราชานุสาวรีย์ พระเจ้าพรหมมหาราชพระราชประวัติ12.44 น. มื้อกลางวัน ร้านอาหารท้องถิ่นร้านค้าระหว่างทางหลายอย่างก็มาจากไทย บ้านเรานี่ล่ะค่ะ
เชียงตุง เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของรัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพเมียนมา อยู่ห่างจากชายแดนไทยที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ 160 กิโลเมตรเชียงตุง เป็น 1 ในเมือง 5 เชียง ที่มีสายสัมพันธ์โยงใยซึ่งกันและกันมาแต่อดีต แต่ด้วยเหตุที่ดินแดนแถบนี้ถูกแบ่งไปตามนิยามรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากภายนอกเมื่อกว่า 100 ปีก่อน เมืองเชียงทั้ง 5 จึงต้องถูกแยกออกไปขึ้นกับ 4 ประเทศ ประกอบด้วย- เชียงราย- เชียงใหม่- เชียงตุง (รัฐฉาน - เมียนมา)- เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา - จีน)- เชียงทอง (หลวงพระบาง - ลาว)เชียงตุง เป็นเมืองของชาวไทเขินและชาวไทใหญ่ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่าเมืองเชียงใหม่แห่งล้านนา และเมืองเชียงรุ่งแห่งสิบสองปันนา โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า "เก็งตุ๋ง" ในอดีตเชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้ เชียงตุง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ความสูงประมาณ 2,700 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรูปร่างเป็นแอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ มีที่ราบน้อยมาก จุดที่สำคัญที่สุดก็คือ เวียงเชียงตุง แม้จะเป็นที่ราบแต่ก็มีพื้นที่ตะปุ่มตะป่ำ
พุทธมณฑล ดอยปางควาย (ป๋างกวาย) อยู่เส้นทางระหว่างเชียงตุงกับแม่สาย เป็นสถานท่องเที่ยวแห่งใหม่ ทั้งเป็นจุดแวะพักระหว่างทางอีกด้วยใต้ฐานพระพุทธรูป มีประตูทางเข้าชมภาพแกะสลักจากหินอ่อน ธงฉัพพรรณรังสี เป็นธงพุทธศาสนาสากลตั้งแต่ปี 2493 เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นธงศาสนาของชาวพุทธในศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และยังเป็นธงประจำองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ยกเว้นประเทศไทยที่มีการกำหนดใช้ธงธรรมจักรเป็นธงศาสนามาก่อนแล้ว ธงฉัพพรรณรังสีจึงไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยไปค่ะ เข้าด้านในกัน ดูภาพแกะสลักหินอ่อน ภายใต้ฐานพระพุทธรูป มีภาพแกะสลักหินอ่อนจากเมืองมัณฑะเลย์ เป็นภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าตอนบำเพ็ญทุกรกิริยาสวยงามตามท้องเรื่องค่ะ แต่ถ่ายรูปยาก พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 515.26 น. วันที่ 1 มีนาคม 2567 ไปกันต่อค่ะ15.53 น. ป้ายยินดีต้อนรับสู่เมืองเชียงตุงแม่ค้าผลไม้ริมทางแวะเช็คอิน เก็บของกันก่อนค่ะ ที่พักคืนนี้ของกรุ๊ปเรา Hom Hein Hotelถ่ายตอนเวลา 15.58 น. เวลาที่พม่าช้ากว่าไทยครึ่งชั่วโมงเราจ่ายเพิ่ม พักเดี่ยว17.14 น. วัดอินทบุปผาราม
วัดอินทบุปผาราม วัดที่พระอินทร์และเทพเทวา มาช่วยสร้างพระพุทธปฏิมา ไม่เกินจริงหากจะกล่าวว่า วัดทุกวัดในเชียงตุงล้วนสวยงาม วิจิตร และอลังการงานสร้างมาก
โดยเฉพาะที่วัดอินท์-วัดอายุกว่า 500 ปีแห่งนี้ เป็นวัดที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในนครเชียงตุง ทั้งพระพักตร์ของพระพุทธปฏิมาที่อิ่มเอม ดวงเนตรที่เมตตา ซุ้มเหนือเศียรพระพุทธรูป ที่แกะสลักจากไม้อายุนับร้อยปี และนาคขดบนเพดานวิหารประดับทองคำเหลืองอร่ามตามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในเชียงตุงพระองค์นี้นามว่า "พระอินทร์" คหบดีแห่งเมืองเชียงตุงมีดำริให้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แต่ไม่ว่าจะสร้างอย่างไร ก็ไม่แล้วเสร็จเสียที โดยเฉพาะในส่วนเศียรของพระพุทธรูปเย็นวันหนึ่งขณะที่เหล่าช่างศิลป์พากันนั่งระทดท้อ มีชีปะขาวตนหนึ่งเดินเข้ามาหา ถามว่า "เราจะขอช่วยสร้างได้ไหม" ช่างทั้งหมดต่างดีใจ ตอบว่า "ได้เลย" สิ้นคำกล่าว "ตกลง" ปรากฏการณ์ที่ไม่คาดฝันก็พลันเกิด เป็นลมมรสุมมืดฟ้ามัวดิน แผ่นดินสะเทือน ตามประวัติบอกว่าพลังนั้นรุนแรงเสียจนช่างทั้งหมดหมดสติ จนรุ่งอรุณของวันใหม่ใกล้ฟ้าสาง สามเณรน้อยจุดเทียนเดินเข้ามาในวิหารหลังนี้ ปรากฏพระพุทธปฏิมาสำเร็จสมบูรณ์สวยงาม เณรรีบปลุกช่างให้ตื่น ถามว่าทำได้ยังไงในคืนเดียว บรรดาช่างต่างพากันงงงันในที่สุดก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ต้องเป็นพญาอินทร์แปลงร่างมาช่วยสร้างอย่างแน่นอน อันเป็นที่มาของชื่อวัดอินทร์แห่งนี้บริเวณด้านหลังองค์พระประธาน ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณล้ำค่าอีกหลายสิบองค์ ซึ่งงามเหลือเกิน รวมทั้งบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ที่ร่ำลือกันว่ารักษาโรคให้หายชะงัดมานักต่อนักแล้ว ญาติโยมจากเมืองไทยจึงพากันต่อแถวคิวยาว เพื่อรับน้ำทิพย์จากเณรน้อยที่จ้วงกระบวยตักน้ำจากบ่อรดใส่มือแต่ละคนอย่างตั้งใจ เพราะเห็นถึงศรัทธาที่หลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสายเครดิต มนทิรา จูฑะพุทธิ
งามตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าซุ้มเหนือเศียรพระพุทธรูป แกะสลักจากไม้อายุนับร้อยปีด้านหลังพระประธาน มีพระพุทธรูปโบราณเรียงรายอยู่เยอะมากสวยค่ะ สวยจริง สมกับที่บอกว่าสวยที่สุดกลางเวียงเชียงตุง