Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
6 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
ผักเหลียง ผักพื้นบ้าน ของดีของภาคใต้



ผักเหลียงเป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒ เมตร มีใบเรียวยาว
สามารถนำยอดของผักเหลียงมารับประทานได้ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่
แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง หรือนำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากของชาวภาคใต้

ลักษณะพฤกษศาสตร์
ต้นผักเหลียงเป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Gentaceae เป็นไม้พุ่ม
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gnetumgnemon Limm
มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น
เช่น ผักเหลียง ผักเหมียง(พังงา) ผักกะเหรียง (ชุมพร) เขลียง (นครศรีธรรมราช)

ผักเหลียงจัดเป็นผักพื้นบ้านประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลาง
มีมากแถบจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เขาถือเป็นผักประจำถิ่นเลย
ถึงขนาดพูดกันว่า ถ้ามาระนองแล้ว ไม่ได้กินผักเหลียงแสดงว่ายังมาไม่ถึง

ว่ากันว่า ถ้าจะกินผักเหลียงที่มีรสหวานอร่อยแล้วละก็
ต้องเป็นผักเหลียงที่ขึ้นในร่ม หรือไม่ก็ต้องหลังฤดูฝนไปแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ผักเหลียงเริ่มแตกใบใหม่

แหล่งดั้งเดิมของผักเหลียงขึ้น อยู่ตามป่าเขา ที่ราบ บางครั้งก็เห็นขึ้น เคียงข้างกับต้นสะตอและต้นยาง

ด้วยรสชาติที่ออกจืดๆ มันๆ ของผักเหลียง คนใต้จึงนิยมนำมากินสดเป็นผักเหนาะกับขนมจีน น้ำยาปักษ์ใต้
และนำไปประกอบอาหารต่างๆ

ลักษณะของผักเหลียงที่อร่อย คนใต้เขาแนะนำให้เลือกใบที่เป็นเพหลาด คือไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป
ใบจะออกรสหวานนิดๆ

อาหารยอดนิยมจากผักเหลียงที่ขึ้นชื่อของเมืองใต้คือ "ผักเหลียงต้มกะปิ" หรือที่รู้จักกันดีว่า "แกงเคย"
กรรมวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงต้มน้ำให้เดือด ใส่กะปิ หอมแดงบุบ น้ำตาลทราย
พอเครื่องเดือดทั่วกันก็ใส่ผักเหลียงได้เลย ส่วนใหญ่ใส่กันทั้งใบ ไม่เด็ดก้านใบทิ้ง
เพราะก้านทำให้น้ำแกงมีรสหวาน พอใส่ผักเหลียงแล้วยกลงได้เลย เคี่ยวนานไปผักจะสลดหมด
แกงหม้อนี้ใช้เกลือปรุงรสแทนน้ำปลา แต่อาจเสริมรสชาติความอร่อยด้วยการใส่กุ้งแห้งหรือกุ้งใหญ่ลงไปด้วย
รสชาติเหมือนแกงเลียง ต่างกันตรงที่เครื่องแกงของแกงเลียงจะนำมาโขลกก่อน แล้วจึงใส่ลงในหม้อแกง
แต่แกงผักเหลียงนี้ไม่ต้องนำเครื่องแกงไปโขลก

นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาทำอาหารจานผัดที่แสนธรรมดา แต่รสชาติไม่ธรรมดาอย่าง"ผักเหลียงผัดไข่"
วิธีทำจะว่าไปแล้วก็เหมือนพวกหัวไชโป๊ผัดไข่ มะละกอสับผัดไข่ เพียงแต่เราเปลี่ยนเป็นใบเหลียงเท่านั้น
รับประทานกันข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อยไปอีกแบบ แม้แต่ห่อหมกของคนใต้ยังนิยมใช้ใบเหลียงมารองก้นกระทง
นอกเหนือไปจากใบโหระพา ผักกาดขาว และใบยออีกด้วย
หรือจะนำมาต้มกับกะทิเป็น "ผักเหลียงต้มกะทิ" ก็ได้


คุณค่าทางอาหารของผักเหลียง
จากการวิเคราะห์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และกองโภชนาการกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจาก 100 กรัม ของยอดอ่อนใบเหลียงของส่วนที่รับประทานได้

มีส่วนประกอบดังนี้
1. แคลอรี่ 400.61 ให้พลังงานแก่ร่างกาย
2. ไขมัน 1.17 กรัม
3. โปรตีน 6.56 กรัม
4. ฟอสฟอรัส 224.37 ม.ก.
5. วิตามินเอ 10.889 (หน่วยสากล)
6. วิตามินบี 2 1.25 ม.ก.
7. กาก 6.80 กรัม 14. เถ้า 1.30 กรัม
8.น้ำ 35.13 กรัม
9. คาร์โบไฮเดรต 90.96 กรัม
10. แคลเซี่ยม 1500.56 ม.ก.
11. เหล็ก 2.51 ม.ก.
12. วิตามินบี 1 0.18 ม.ก.
13. วิตามินไนอาซิน 1.73 ม.ก.

นอกจากนั้น ผักเหลียงอุดมไปด้วย เบต้าแคโรทีน ที่ต้องถือว่าเป็น สารต้านออกซิเดชั่นที่สำคัญ
ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย

มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า
ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้าน ให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล
สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่า มากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า

ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำ
ผักที่ถือว่า เป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย

เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียง ก็เพราะมันถูกสีเขียวของใบผักปกปิดไว้จนหมด
กินผักเหลียง จึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ


การปลูกผักเหลียง
เนื่องจากผักเหลียงเป็นผักป่าพื้นบ้าน เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1 -2 เมตร
เริ่มปลูกวันนี้เพียง 2 ปี ก็เก็บยอดมารับประทานหรือขายเป็นรายได้เสริมได้

การปลูกผักเหลียงเหมือนกับการการปลูกไม้ผลทั่วๆ ไป คือขุดหลุมกว้าง x ลึก ประมาณ 30 เซนติเมตร
คลุกดินก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ควรปลูกต้นฤดูฝน แซมในสวนยางพาราหรือไม้ผลที่โตแล้วมีร่มเงา
ไม่ควรปลูกกลางแจ้ง เพราะผักเหลียงโดยธรรมชาติจะขึ้นแซมในสวนยางพาราหรือต้นสะตอ (ในภาคใต้)

การขยายพันธุ์ผักเหลียง
ขยายพันธุ์โดยเมล็ด โดยเพาะในกระบะทรายหรือขี้เถ้าแกลบ
ประมาณ 4 เดือน เมื่อเมล็ดงอกมีใบ 2 -3 คู่ จึงนำลงถุงเพาะชำเลี้ยงไว้ประมาณ 1 ปี จึงลงแปลงปลูก
อีกวิธีหนึ่งคือผักเหลียงเมื่อต้นโตเต็มที่จะมีไหลราก คือรากแขนงที่อยู่ระดับผิวดินจะแตกเป็นต้นได้
ก็สามารถขุดต้นแล้วนำมาลงถุงเลี้ยงไว้ประมาณ 6 เดือน จึงลงแปลงปลูก

การขยายพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือ
การตอนควรเลือกกิ่งที่ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตอนประมาณ 2 เดือนเมื่อรากออกสมบูรณ์แล้ว ตัดลงชำในถุง
อีกประมาณ 2 – 3 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกได้

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง(พืชสวน) กรมส่งเสริมการเกษตรได้ทดลองนำมาปลูก
ในสวนยางพารา บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อำเภอปลวกแดงจังหวัดระยองปรากฏว่าได้ผลดี
หากผู้สนใจจะนำไปปลูกในสวนยางพารา หรือในสวนผลไม้ในภาคตะวันออกให้มาเยี่ยมชม
หรือจะขอพันธุ์ไปทดลองปลูกได้ เพราะขณะนีมี้ต้นพันธุ์ผักเหลียงอยู่ประมาณ 500 ต้น ที่จะบริการแก่ผู้สนใจฟรี
โดยมาขอได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดระยอง(พืชสวน)
บริเวณโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำดอกกราย ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง
ตามวัน และเวลาราชการ


ที่มา : //aopdh02.doae.go.th


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผักเหลียงต้มกะทิ 2 สูตร


Create Date : 06 มกราคม 2553
Last Update : 6 มกราคม 2553 13:35:07 น. 4 comments
Counter : 9420 Pageviews.

 
อร่อย


โดย: swin วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:11:43:29 น.  

 


โดย: สายของพิณ วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:11:59:51 น.  

 
แม่ปลูกที่สมุย ใกล้บ้าน ใกล้ไม้ใหญ่ขึ้นได้ดี ไม่ต้องใส่ปุ๋ย รดโดนต้นด้วยน้ำล้างปลา รสชาดอร่อยมากโดยเฉพาะสูตรผัดกับน้ำกะทิใส่กะปิ ใส่ปลาแห้ง


โดย: นายวิศาล IP: 202.32.86.107 วันที่: 19 ธันวาคม 2554 เวลา:18:35:28 น.  

 
ขาย และ จำหน่าย ใบเหลียงสด หรือ ใบเขลียงสด จากสวนบุรีรัตน์ จ.นครศรีธรรมราช ใบเหลียงของเราจะใช้ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น และไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้น ลักษณะใบจะเงางาม เขียวเป็นมัน เมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีรสชาติหวานมัน ทางสวนของเราพร้อมจำหน่ายให้ลูกค้า โดยใช้วิธีขนส่งสินค้าทางไปรษณีย์ (EMS)/รถทัวร์(กรณีลูกค้าสะดวกรับที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่)/รถตู้(กรณีโซนภาคใต้) ติดต่อได้ที่
Page : https://www.facebook.com/SuanBaiLiang/
Facebook : https://www.facebook.com/SuanBureerat ( ใบเหลียง ผักเหลียง ใบเขลียง สวนบุรีรัตน์ )
Line ID (ไลท์) : 0855918102
โทรศัพท์ : 099-8260255
#สวนบุรีรัตน์ #ผักเหลียง #ใบเหลียง #ผักเขลียง #ใบเขลียง


โดย: สวนบุรีรัตน์ IP: 180.183.122.237 วันที่: 29 พฤษภาคม 2560 เวลา:12:28:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.