365วันของฉันมีแต่เรื่องการเดินทาง
<<
กุมภาพันธ์ 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
20 กุมภาพันธ์ 2565

สนุกกับขบวนรถไฟปฐมฤกษ์ Lanna Modernization เชื่อมเชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง


มีโอกาสไปร่วมในขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์
Lanna Modernization เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สนุกมากๆค่ะ

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟ บนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา
ทางบพข. กองทุนส่งเสริม ววน. สนับสนุนทุนวิจัยเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ 3 จังหวัด เชื่อมโยงเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ภายใต้แผนงานวิจัย “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟ บนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา”

การเดินรถไฟท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ 3 จังหวัด (เชียงใหม่ - ลำพูน – ลำปาง) ขบวนปฐมฤกษ์ในครั้งนี้ เป็นการเดินรถไฟที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวทั้ง 3 จังหวัด โดยใช้การเดินทางโดยรถไฟเป็นแกนกลางในการเชื่อมประสานกับแหล่งท่องเที่ยวของ 3 จังหวัด

โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่า ร่วมกับการจำลองบรรยากาศย้อนยุคตามประวัติศาสตร์การดำเนินกิจการรถไฟในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างทางรถไฟในภาคเหนือ 

ภายในขบวนปฐมฤกษ์เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ 3 จังหวัด (Lanna Modernization) นี้มีการแสดงของวงดนตรีบรรเลงเพลงดุริยมรรคาอนันตราล้านนา ร่วมกับการฟ้อนเล็บแบบล้านนา ณ สถานีรถไฟเชียงใหม่

จากนั้นขบวนรถได้เคลื่อนออกจากสถานีรถไฟเชียงใหม่สู่สถานีรถไฟลำพูน ชมการแสดงชุดหริภุญไชยรำลึก แล้วใช้รถรางท่องเที่ยวเพื่อชมเมืองลำพูน

ท่องเที่ยวในย่านการค้าโบราณและย่านประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน เช่น กู่ช้าง-กู่ม้า วัดพระธาตุหริภุญไชย อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี คุ้มเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์
จากนั้นเคลื่อนขบวนรถไฟจากสถานีรถไฟลำพูน สู่สถานีรถไฟนครลำปาง มีบริการอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถไฟ ด้วยสำรับอาหารล้านนาและชาติพันธุ์ ในรูปแบบบ็อกเซต (Box Set) มุ่งเน้นนำเสนอวัฒนธรรมอาหารที่เป็นรากเหง้าและผูกโยงกัน จนตกผลึกเป็นอาหารอัตลักษณ์ล้านนา

เมื่อเดินทางถึงสถานีรถไฟนครลำปาง ชมการแสดงชุดฟ้อนสลุงลำปาง เปลี่ยนพาหนะเป็นรถม้านำเที่ยว

เพื่อท่องเที่ยวในย่านการค้าเมืองเก่าและย่านประวัติศาสตร์ของเมืองลำปาง เช่น วัดศรีรองเมือง วัดปงสนุก ชุมชนประตูป่อง ชุมชนท่ามะโอ ชุมชนสบตุ๋ย และชุมชนรถไฟนครลำปาง
แล้วเข้าสู่การเดินรถขากลับ

ขบวนรถไฟแวะพักชมสถานีรถไฟขุนตาน

และจุดชมวิวสะพานรถไฟทาชมพู ก่อนเดินทางถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่

ความเป็นมาของการเดินรถไฟท่องเที่ยวสายประวัติศาสตร์ 3 จังหวัด (เชียงใหม่ - ลำพูน – ลำปาง) นี้ สืบเนื่องจากเมื่อร้อยปีมาแล้วก่อนหน้าที่จะมีการใช้เส้นทางรถไฟ การเดินทางจากลำปางไปสู่เชียงใหม่มีความยากลำบาก เนื่องจากภูมิประเทศในแถบนี้เป็นภูเขาสูงและมีเหวลึก และมีความยากลำบากในการสร้างทางรถไฟจากลำปางมาเชียงใหม่ โดยใช้เวลาในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานนานถึง 11 ปี


ซึ่งอุโมงค์ขุนตานถือได้ว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อุโมงค์นี้เปิดให้ใช้ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2461 โดยมีความยาว 1,362.05 เมตร
หลังจากที่ทางรถไฟสายเหนือสร้างมาถึงเชียงใหม่ ทำให้การเดินทางจากกรุงเทพขึ้นมาเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานเหมือนแต่ก่อน ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้บริการของรถไฟ และมีการสร้างสถานีรถไฟประจำเชียงใหม่ขึ้น ชาวบ้านเรียกสถานีนี้ว่า “สถานีป๋ายราง” หมายถึงที่สิ้นสุดของรางรถไฟ หลังการก่อสร้างสถานีรถไฟเชียงใหม่เสร็จ ก็ได้มีพิธีเปิดทำการเดินรถไฟสายเหนือขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2464 และยังทำให้เกิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของ 3 จังหวัดคือเชียงใหม่ ลำพูน ลำปางด้วย

แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟ บนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา และโครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารลำปางและพื้นที่เชื่อมโยง จะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายของ ทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ปี 2565 ในการเพิ่มรายได้เมืองรองทางการท่องเที่ยว

ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการกระจายนักท่องเที่ยวจากเมืองหลัก คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมเมืองรอง คือ ลำพูน และลำปาง

ซึ่งในรอบปฐมฤกษ์มีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมต่อวันเฉลี่ย 120 คน ซึ่งจะมีกิจกรรมในเมืองรองทั้งสองเมือง คาดว่าจะทำให้เกิดการใช้จ่ายจากกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่มุ่งเน้นการสัมผัสวิถีชีวิตท้องถิ่นและเรื่องราวเชิงวัฒนธรรม นำไปสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

จุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวเส้นทางรถไฟสายวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัดล้านนาตอนบน (ลำปาง-ลำพูน-เชียงใหม่) เกิดจากความมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือตอนบน 1 การรถไฟแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ต่อมากลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ได้มีการสนับสนุนทุนวิจัยประเด็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟ บนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา โดยมี ผศ.ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

และได้มีการสนับสนุนประเด็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร ภายใต้โครงการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารลำปางและพื้นที่เชื่อมโยง โดยมี ดร.ปัณณทัต กัลยา และคณะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินการวิจัย เพื่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์โดยรถไฟจากเมืองท่องเที่ยวหลักสู่เมืองท่องเที่ยวรอง รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐ-ภาคเอกชน-สมาคมในการทำงานร่วมกัน การออกแบบบริการบนรถไฟ รวมทั้งอาหารและสำรับใส่อาหารสำหรับบริการอาหารแก่นักท่องเที่ยวขณะเดินทางท่องเที่ยวบนรถไฟ โดยต่อยอดจากอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นลำปาง

ผู้เข้าร่วมในงานนี้ เช่น รศ.(พิเศษ) ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ,นายศักดิ์ชัย คุณานุวัฒน์ชัยเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ , นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน , นายสันติ รังษิรุจิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง , นายสุชีพ สุขสว่าง รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย , ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชณน์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)


ขอขอบคุณที่ติดตามเรื่องราวของ Travelista นักเดินทางค่ะ



Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2565 17:18:11 น. 1 comments
Counter : 1176 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96


 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:4:53:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelistaนักเดินทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




Travelista นักเดินทาง หรือสาธิตา โสรัสสะ อดีตหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจเครือเนชั่น เป็นนักข่าวสายท่องเที่ยวยาวนานเกือบ 40 ปี เดินทางมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีผลงานเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คท่องเที่ยว 34 เล่ม ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และประธานมีเดียแอนด์บล็อกเกอร์ คลับ (คลับของบล็อกเกอร์) เคยได้รับรางวัลบล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมปี 59 ,ช่างภาพหญิงยอดเยี่ยมจากจีนปี 60 , สื่อมวลชนยอดเยี่ยมปี 64 และผู้บริหารสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยมปี 65 ไอดีไลน์ tatravel โทร 081-817-2805
[Add travelistaนักเดินทาง's blog to your web]