การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ฉายภาพสถานการณ์การท่องเที่ยวไทย ทิศทางและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย พร้อมอัปเดตข้อมูลสินค้าและบริการการท่องเที่ยว ตามแคมเปญ “Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters” ในกิจกรรม Thailand Product Update ในงาน Thailand Travel Mart Plus (TTM+) 2022 ณ โรงแรมอังสนา ลากูน่า จ.ภูเก็ต
นายศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. กล่าว จนตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ประเทศไทยสามารถเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ และเพื่อที่จะเดินหน้าพลิกโฉมท่องเที่ยวไทยตามนโยบายของรัฐบาล
ททท. นำเสนอแนวคิด “Visit Thailand Year 2022-2023 : Amazing New Chapters” เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีปกติใหม่ในกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวคุณภาพ ชูจุดแข็งของประเทศไทยจากความหลากหลายของสินค้า บริการด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy)
รวมถึงผลักดันการท่องเที่ยวไทยสู่ Digital Tourism ควบคู่กับการปลูกฝังแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) ที่จะช่วยขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ (Organic Tourism) ร่วมกับ สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับปฐมบทครั้งใหม่ของการท่องเที่ยวไทยหลังโควิด-19
รวมถึง ททท. เตรียมเสนอไฮไลท์ของสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวไทย ตามแนวคิด NFT ประกอบด้วย N – Nature to keep , F – Food to explore และ T – Thainess to discover ซึ่งสิ่งที่ผู้เดินทางจะได้รับระหว่างการเดินทางคือ ประสบการณ์ (Experience) ความสนุก (Fun) และความรัก (Love) เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การท่องเที่ยวและสร้างสมดุลใหม่ของการท่องเที่ยวไทยนำสู่ความยั่งยืน
ขณะเดียวกัน ททท. เตรียมผลักดันประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นมิตรต่อกลุ่มผู้ทำงานทางไกล หรือ Digital Nomad เพื่อรองรับแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและกระแสการท่องเที่ยวหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว โดย ททท. กำลังดำเนินการออกวีซ่าผู้พำนักระยะยาว (LTR) ระยะเวลา 10 ปี สำหรับ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เกษียณอายุ ชาวต่างชาติผู้มีรายได้สูง กลุ่มผู้ทำงานชาวต่างชาติ และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกำหนดค่าธรรมเนียมลงทะเบียน 50,000 บาท
ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังเดินหน้าส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ (Potential Health & Wellness Destination) ในหลากหลายเส้นทางท่องเที่ยวยอดนิยม อาทิ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ภูเก็ต เกาะสมุย และหัวหิน
ขณะเดียวกัน ททท. เตรียมผลักดันประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นมิตรต่อกลุ่มผู้ทำงานทางไกล หรือ Digital Nomad เพื่อรองรับแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและกระแสการท่องเที่ยวหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว โดย ททท. กำลังดำเนินการออกวีซ่าผู้พำนักระยะยาว (LTR) ระยะเวลา 10 ปี สำหรับ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เกษียณอายุ ชาวต่างชาติผู้มีรายได้สูง กลุ่มผู้ทำงานชาวต่างชาติ และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกำหนดค่าธรรมเนียมลงทะเบียน 50,000 บาท
ไม่เพียงเท่านั้น ททท. ยังเดินหน้าส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยในการเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ (Potential Health & Wellness Destination) ในหลากหลายเส้นทางท่องเที่ยวยอดนิยม อาทิ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ภูเก็ต เกาะสมุย และหัวหิน
และ ททท. คาดว่าจำนวนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 1 ล้านคน-ครั้ง ต่อเดือน ดันเป้าหมายตามคาดการณ์สำหรับ ปี 2565 รายได้รวมอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 7-10 ล้านคน-ครั้ง และนักท่องเที่ยวในประเทศ 160 ล้านคน-ครั้ง
ย้อนกลับไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ททท. ได้ความพยายามเปิดประเทศภายใต้มาตรการสาธารณสุขและความปลอดภัยของคนไทยเป็นสำคัญ โดยได้ร่วมกำหนดมาตรการการเดินทางเข้าประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ ประกอบด้วย แนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน 2563) โครงการ Happy Quarantine โครงการ Phuket Sandbox และ Phuket Sandbox 7+7 Extension โครงการ Samui Plus และรูปแบบ Test and Go โดยไม่กักตัว ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป เพื่อนำร่องประเมินสถานการณ์ รวมถึงฟื้นคืนเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและปูทางสำหรับการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้ง