
ประวัติศาสตร์หลายยุคหลายสมัย มีแหล่งโบราณสถานที่ทรงคุณค่าอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ เมืองเก่าน่าน เวียงพระธาตุแช่แห้ง กำแพงเมืองและคูเมืองโบราณ แหล่งโบราณคดีชุมชนดอยภูซาง และเตาเผาโบราณบ่อสวก มีการรวบรวมหลักฐานและข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์ และมีการถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างเป็นสุข ผูกพันอย่างต่อเนื่องและภาคภูมิใจ
รวมทั้งสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับแนวทางที่จังหวัดน่านและองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้กำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ที่จะอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเมืองน่านให้เป็นเมืองแห่งการศึกษาเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เป็นดินแดนมรดกน่าน มรดกไทย และมรดกโลก
ไปดูการจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์หรือ Creative Tourism ที่อพท.ได้ร่วมพัฒนากับชาวน่านสมดังว่า คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นความได้เปรียบ ด้วยการสร้างมูลค่า (Value Creation) ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานแห่งความเป็นไทย (Thainess) วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นทุนการท่องเที่ยวที่ประเทศไทยเรามีอยู่แล้ว และไม่ว่าจะใช้ไปมากสักเท่าไหร่ ก็ไม่ทำให้ต้นทุนนี้หมดไป แต่กลับยิ่งเป็นผลดีที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้

ไปน่านทั้งทีต้องแวะวัดภูมินทร์ ตั้งอยู่ที่บ้านภูมินทร์อ.เมืองน่าน จ.น่าน ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้แกะสลัก ลวดลายสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงชีวิต และวัฒนธรรม ที่ผ่านกาลเวลามายาวนาน จุดเด่นบนที่สุดบนภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด เป็นภาพของชายหญิงชาวไทลื้อในสมัย โบราณกําลังกระซิบสนทนา ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายตามแบบของชาวไทลื้อเต็มยศ ซึ่งภาพนี้ ถูกเรียกว่า ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพมีความประณีตและสามารถสื่ออารมณ์ ได้อย่างเด่นชัด จนกลายเป็นสิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อกล่าวถึงจังหวัดน่าน เรียกได้ว่าภาพนี้ดังระดับโลกจริงๆ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ถูกนำไปเป็นสัญลักษณ์ของสินค้ามากมาย และยังมีการนำภาพนี้ไปสร้างสรรค์เป็นภาพกระซิบรักอื่นๆด้วย สมดังว่า กระซิบรักบันลือโลก

ถึงเวลาเรียนรู้สินค้าสร้างสรรค์กันแล้ว เริ่มการทำโคมมะเต้าที่ บ้านม่วงตึ๊ด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน กล่าวกันว่าชื่อ บ้านม่วงตึ๊ด มาจากที่ตั้งของชุมชนอยู่บนลําน้ําน่าน ต่อมาเกิดตลิ่งพัง จนถึงต้นมะม่วง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ม่วงตึ๊ด ซึ่งหมายถึงบริเวณที่ตลิ่งพังถึงต้นมะม่วงที่กั้นไว้ และอีกความหมายหนึ่งก็คือ คําว่า ตึ๊ด หมายถึง ป่าละเมาะที่เป็นป่าทึบ
เราสนุกกันมากกับการทำโคมมะเต้า คือ โคมของเมืองน่าน ใช้สําหรับแขวน สําหรับการประดิษฐ์โคมนั้น ประกอบ ด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนคือ คือการขึ้น รูปด้วยโครงไม้ไผ่จากนั้นติดกระดาษ และตกแต่ง ให้สวยงาม

นักท่องเที่ยวที่สนใจทําโคมมะเต้า อาจจะเริ่มลงมือทําตั้งแต่กระบวนการแรก คือ การขึ้นรูปด้วยโครงไม้ไผ่ ให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม จัตุรัส ( มีสามขนาดคือ 10 นิ้ว 7 นิ้ว และ 3 นิ้ว) แล้วนํากรอบไม้ไผ่มาผูกขึ้นรูปเป็นกรอบของโคม ขั้นติดกระดาษ ตกแต่งตัดลายด้วยกระดาษสีด้วย ลายมงคลต่างๆ หรือรูปสัตว์ตามราศี
จากนั้นเราได้ไปถวายโคมเมืองน่าน ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง วัดที่ประดิษฐาน พระธาตุประจำปีเถาะ(กระต่าย) ตามความเชื่อของคนล้านนา

ได้ทำกิจกรรมถัดมา คือการเรียนรู้การจักสาน ที่ชุมชนบ้านต้าม ในบ่อสวก เป็นชุมชนที่มีอายุกว่า 150 ปีภูมิประเทศของชุมชนบ้านต้ามมีภูเขา ล้อมรอบและมีลําห้วยต้ามไหลผ่านหมู่บ้าน มีพื้นที่ ป่าชุมชน

ทำความรู้จักเครื่องจักสานที่ เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน ของคนบ้านต้าม รวมไปถึงเครื่องจักสานที่ใช้ใน พิธีกรรมของชุมชน คือ ตาแหลว ประเภท ต่างๆ เช่น ตาแหลวหมายนา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สําคัญก่อน การเริ่มทํานาเป็นต้น

แวะสักการะวัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน

น่านยังมีที่เที่ยวอีกมากมาย
การเรียนรู้ดีๆไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ อย่าลืมไปเที่ยวน่านกันนะคะ