|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
สวนมะละกอ

ช่วงชีวิตหนึ่ง ผมผูกพันกับมะละกอมาก มันเป็นผู้ให้ที่กินที่นอน หล่อเลี้ยงครอบครัวของเรา พวกเราบูชามันดั่งชาวนาบูชาพระแม่โพสพ
มะละกอเริ่มเข้ามาปลูกในสยามประเทศ ราวสมัยอยุธยา เผ่าพันธุ์ดังเดิมของเขาอยู่ที่ทวีปอเมริกาในเขตร้อน
มะละกอเป็นไม้ผลล้มลุกขนาดกลาง ความสูงระหว่าง 5 - 20 ฟุต ปลูกง่ายโตไว ให้ผลเร็ว เก็บได้ตลอดทั้งปี ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน และปลูกได้ดีในดินทั่วไป ปลูกด้วยเมล็ด รอเวลาแค่ 3 - 4 เดือน ก็เก็บผลดิบได้แล้ว หรือผลสุกจะเก็บได้ราว 5 - 6 เดือนต่อมา หากรักษาต้นดีๆ จะเก็บผลได้นานถึง 3 - 4 ปี ลำต้นสูงจนสอยแทบไม่ถึง

ชื่อเรียกพันธุ์มะละกอ ก็มี แขกดำ แขกนวล สายน้ำผึ้ง ท่าพระ 2 และโกโก้ สมัยนั้นเน้นปลูกพันธุ์แขกดำเป็นหลัก ปลูกในสวนยกร่องห่างกัน 2.5 - 3 เมตร เป็น 2 แถวเรียงกันไปตลอดร่อง มะละกอที่ได้ราคาดีจะต้องผลกลมยาว ส่วนผลกลมๆเป็นลูกโป่งราคาจะถูกมาก ทั้งๆที่บริโภคได้ไม่แตกต่างกัน ถึงวันนี้ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
น่าแปลกที่มะละกอมีถึง 3 เพศ เพศผู้ เพศเมีย และเพศกระเทย ต้นที่เป็นเพศเมียมักจะให้ผลกลมๆ เพศผู้ไม่ติดผล ส่วนต้นกระเทยจะให้ผลดก กลมยาว ต้นกระเทยมีทั้งสองเพศ เกสรจึงผสมกันเอง ชาวสวนจึงเอาเมล็ดพันธุ์จากต้นกระเทยไปทำพันธุ์ มักตัดต้นเพศผู้ทิ้งเมื่อรู้ว่ามันทำท่าจะไม่มีลูก แล้วปลูกแซมใหม่

มะละกอปลูกบนร่องสวนที่ขุดท้องร่องแบบชาวจีน ในท้องที่ดำเนินสะดวก จะมีสวนเป็น 2 ประเภทคือ สวนเตี้ย ที่น้ำท่วมถึง กับสวนสูงที่คันดินสูงกันน้ำท่วมได้ สวนสูงนี้เป็นสวนที่เบิกจากที่นา (เบิกเป็นคำที่เรียกการปรับพื้นที่นาเป็นพื้นที่สวน) นับว่าเป็นสวนรุ่นหลังๆ ในปี พ.ศ. 2510 - 2515 ผมเห็นสวนที่เบิกใหม่ ใช้แรงคนล้วนๆ ในขณะที่ขุดร่องสวน เคยมีการพบของโบราณ หรือโครงกระดูกอยู่บ้าง
เพื่อความมั่นใจจะไม่ถูกน้ำท่วม มะละกอมักจะปลูกที่สวนสูง มันค่อนข้างใจเสาะ หากน้ำท่วมรากวันสองวันก็ตายแล้ว วันดีคืนดีต้นมะละกอตกลูกจนเก็บไม่ทัน จนเราสงสัย บางทีอยากให้ออกผลน้อยๆ เพราะราคาตก กลับออกเสียดก ราวกับผีให้ทาน จนเด็กๆอย่างเราอิดหนาระอาใจ เหนื่อยกันแทบลิ้นห้อย แต่ผลตอบแทนกลับน้อยนิดไม่คุ้มค่าเหนื่อย
มะละกอที่เก็บได้จะขายเป็นมะละกอดิบ ส่วนใหญ่จะถูกขนส่งไปจังหวัดทางภาคอีสาน พวกเราสงสัยกันมานานานแล้วว่า คนอีสานกินมะละกอดิบกันเป็นกิจวัตร แต่ทำไมถึงต้องมาซื้อไกลถึงดำเนินสะดวก หรือว่าคนอิสานมัวเอาเวลาไปปลูกข้าวพันธุ์ดีให้เรากิน ส่วนเราปลูกมะละกอพันธุ์ดีแลกกัน

การเก็บมะละกอ เก็บทุกอาทิตย์ หากต้นไม่สูงเกินไป พอมือเอื้อมถึง ก็ตรงเข้าไปบิดลูกจากต้นได้เลย หากต้นสูง เราใช้ไม้ไฝ่ทีปลายด้านหนึ่งง้างเป็นซี่ๆ คล้ายง่าม สวมลูกมะละกอได้พอดี วิธีนี้เราไม่ต้องสัมผัสกับมะละกอโดยตรง เมื่อปลิดลูกจากต้นแล้ว ก็เหวี่ยงลงหลัวแบบไม่ต้องกลัวช้ำ ลากหลัวไปตลอดร่องจนกว่าจะเต็ม
หลังจากนั้น พวกผู้ชายที่แข็งแรงใช้ไม้คานหามหัวท้าย ใช้ขอเกี่ยวหูหิ้วของหลัวทั้งสองข้าง เดินเทิ่งๆข้ามสะพานไม้ออกจากร่อง นำมารวมกันที่คันดินรอบสวน เด็กๆทำหน้าที่ปิดฝาหลัว เสร็จแล้วชั่งน้ำหนักด้วยตาชั่งจีน ที่ต้องใช้คนสองคนแบก อีกคนคอยเลื่อนลูกตุ้ม คนเลื่อนลูกตุ้มไม่ใช่ใครที่ไหนเป็นแม่ผมเอง เสร็จแล้วส่งขึ้นรถบรรทุกได้เลย หลัวที่มีมะละกอเต็มจะหนักราว 70-80 กก.
ที่จริงการจับลูกมะละกอจะต้องใช้ถุงมือยาง เราชาวสวนมักจะไม่ค่อยคำนึงถึงความปลอดภัย เอาความสะดวกเข้าว่า เด็กๆใช้มือเปล่าเก็บ หากโดนยางมะละกอ ก็เอามือไปลูบกะดินแห้งๆ ดินจึงเป็นผ้าเช็ดมือ หากปล่อยให้ยางติดมือ สักพัก ผิวหนังที่มือจะเป็นรูๆ เจ็บแสบได้เรื่องที่เดียว

มะละกอส่วนใหญ่จะเก็บดิบๆ ส่งไปทางภาคอีสานหรือปากคลองตลาด ขายต่อแม่ค้าส้มตำอีกที หากได้กิโลกรัมละ 3 บาท ใน พ.ศ. นั้น ถือว่าได้น้ำได้เนื้อ บางปี มะละกอออกมาก คนกินไม่ทัน ราคาตกเหลือกิโลละ 50 สตางค์ ที่บ้านจำใจต้องเก็บใส่หลัวบรรทุกลงเรือ ครั้งละหลายตัน ล่องไปส่งที่โรงดองมะละกอหลักห้า แน่นอนทั้งหมดเป็นมะละกอกลมราคาถูก เหมือนอ้อยเข้าปากช้าง แล้วแต่เจ้าของโรงดองจะตีราคา ครั้งหนึ่ง มะละกอลำเรือมาดใหญ่ๆ ได้ลำละ 600 บาท
ส่วนมะละกอสุก แม่ค้าที่ตลาดน้ำดำเนินสะดวกจะรับไปขาย มะละกอสุก จึงเป็นรายได้เพียงพอกับค่ากับข้าว ที่บ้านผมจะใช้มะละกอทำแกงส้ม, ผัดไข่ หรือไม่ก็กินสุก ไม่เคยเห็นผู้ใหญ่ทำส้มตำ ผมมารู้จักส้มตำอย่างเป็นงานเป็นการก็ที่ กทม.นี่แหละ

เดิมมะละกอมีโรคที่ต้องดูแลอยู่บ้าง เช่น เพลี้ยไฟ ราแป้ง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ชาวสวนดำเนินฯบ่นๆกันว่า รักษาโรคไม่ค่อยหาย ใบร่วงโกร๋นไปทั้งขนัดสวน ผมไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร ทั้งๆที่มะละกอเป็นพืชไม่กี่ชนิดที่เราเชื่อมั่นว่าทนทานต่อโรค มาวันนี้ การใช้ยาฆ่าแมลงดูเหมือนจะเอาไม่อยู่ พวกเขาบ่นร่ำๆว่าจะหันไปหามะละกอจีเอ็มโอ
ผมขอภาวนาให้ชาวสวนอย่าหลงผิดเช่นนั้นเลย ยิ่งเดี๋ยวนี้ตามท้องตลาดเห็นมะละกอรูปร่างแปลกๆ หรือนำเข้าพันธุ์ใหม่ๆ เกิดอาการกล้าๆกลัวๆว่ามันจะปลอดภัยหรือไม่ ขอให้ชาวสวนกลับมาปลูกพันธุ์ดังเดิมของเราที่มีรสชาติดีกว่าเป็นไหนๆ ผมยังไม่เคยกินมะละกอสุกพันธุ์ไหนที่รสชาติดีกว่าพันธุ์ "แขกดำ"
Create Date : 13 กันยายน 2552 |
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2553 10:39:11 น. |
|
34 comments
|
Counter : 11817 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:10:21:30 น. |
|
|
|
โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:11:46:28 น. |
|
|
|
โดย: popang (popang ) วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:12:20:30 น. |
|
|
|
โดย: ปลายแปรง วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:13:40:09 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแว่น วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:14:38:28 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 115.67.20.252 วันที่: 13 กันยายน 2552 เวลา:20:30:07 น. |
|
|
|
โดย: Fullgold วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:10:39:25 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ (pantamuang ) วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:11:41:33 น. |
|
|
|
โดย: โปแป้ง (popang ) วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:14:09:46 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:16:04:14 น. |
|
|
|
โดย: Why England วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:5:01:12 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:14:44:17 น. |
|
|
|
โดย: c (chaiwatmsu ) วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:20:45:36 น. |
|
|
|
โดย: คนชุมแสง วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:21:21:12 น. |
|
|
|
โดย: ตาติ๊กเองแหล่ะ..แหะๆๆ (สกุลเพชร ) วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:24:46 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 15 กันยายน 2552 เวลา:22:30:40 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ IP: 118.173.116.91 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:14:32:04 น. |
|
|
|
โดย: ชมพร IP: 86.211.214.82 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:15:52:52 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.136.52.8 วันที่: 16 กันยายน 2552 เวลา:17:27:06 น. |
|
|
|
โดย: popang (popang ) วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:11:21:08 น. |
|
|
|
โดย: อันต้า วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:12:21:52 น. |
|
|
|
โดย: kangsadal วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:15:28:02 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:20:14:07 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 17 กันยายน 2552 เวลา:20:49:29 น. |
|
|
|
โดย: มินทิวา วันที่: 19 กันยายน 2552 เวลา:20:29:12 น. |
|
|
|
โดย: คนไม่รู้ IP: 61.19.227.2 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:12:51:47 น. |
|
|
|
โดย: คนเหนือมักมะก้วยเต่ด IP: 117.47.221.112 วันที่: 5 มกราคม 2554 เวลา:11:24:48 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]

|
ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
|
|
|
|
|
|
|
|