คิดถึงเพื่อนๆทุกคนนะคะ No Tag still..! Please..

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๘


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ





อาตมาภาพขอถวายวิสัชนา
อัฎฐมปัณหาปฤษณาคำรบ ๘ ว่า
จะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง ๔ เสียนั้น

อธิบายว่าฆ่าอาจารย์ทั้ง ๔ เสีย
จึงจะรู้คัมภีร์โหรา
ถ้ามิฆ่าอาจารย์ทั้ง ๔ เสีย
มิรู้จักคัมภีร์โหรา



อันว่าคัมภีร์โหรานั้นคือ
ไตรวิชา ๓ ประการ คือ
ทิพพจักขุญาณ ๑
ปุพเพนิวาสญาณ ๑
อาสวไขยญาณ ๑
อันว่าคัมภีร์โหรานั้นย่อมให้รู้จักผล
บาปเคราะห์แลสงเคราะห์
ว่าครั้นบาปเคราะห์มาถึงให้กาลเมื่อใด
ก็บังเกิดทุกข์ในกาลเมื่อนั้น
ครั้นสมเคราะห์มาถึงในการเมื่อใด
ก็บังเกิดศุขในกาลเมื่อนั้น



แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าทิพพจักขุญาณก็ย่อมเล็งเห็นวิบาก
แห่งกุศลกรรมแลอกุศลกรรม ดังนี้
อันว่าสัตว์ทั้งหลายหมู่นี้
กระทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ครั้นจุติก็ไปบังเกิดในอบายทั้ง ๔ คือ
เปรตแลนรก แลดิรัจฉาน แลอสุรกายนั้น
ก็มีอุปไมยดุจคัมภีร์โหรา
อันรู้จักบาปเคราะห์แลสมเคราะห์นั้นแล



ประการหนึ่งอันว่าคัมภีร์โหรานั้น
บอกให้รู้จักศุขแลทุกข์
ในอดีตกาล อนาคตกาล ดังนี้
ว่าจำเดิมแต่ท่านแรกเกิดนั้น
ท่านได้เสวยศุขแลทุกข์ดังนี้แล้ว
เมื่อท่านใหญ่มานี้อายุถึงเท่านี้
ท่านได้เสวยศุขทุกข์ดังนี้ๆ
แลแต่นี้ไปข้างหน้า
เมื่ออายุท่านถึงเท่านั้นๆ
ท่านจะได้เสวยสุุขทุกข์ดังนี้



แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าบุพเพนิวาสญาณก็รู้จักสัตว์
อันเสวยศุขทุกข์ในอดีตชาติ
แลอนาคตชาติ ดังนี้
อันว่าสัตว์ทั้งหลายหมู่นี้
เมื่อชาติก่อนโพ้น
ได้เสวยศุขทุกข์ดังนี้ๆแล้ว
แลสัตว์ทั้งหลายหมู่นี้
จะบังเกิดสืบไปในอนาคตชาติ
ก็จะได้เสวยศุขทุกข์ดังนี้
ก็มีอุปไมยดุจคัมภีร์โหรา
อันให้รู้ศุขทุกข์ในอดีตกาลนั้นแล



ประการหนึ่งอันว่า
คัมภีร์โหราอันตัดอายุศย์นั้น
ก็ให้รู้จักว่า
บุคคลหมู่นี้มีอายุศย์สิ้นแล้ว
มิได้สืบไปภายหน้ากว่านั้น
อันว่าบุคคลผู้นี้มีอายุศย์ยังมิสิ้น
แลยังสืบไปภายหน้า
และมีอุปมาดุจใด
อันว่าอาสวะไขยญาณก็รู้ว่า
สัตว์ทั้งหลายหมู่นี้
มีอาสวะทั้ง ๔ ประการ คือ
กามาสวะ แลภวาสวะ
แลทิฏฐาสวะ แลอวิชชาสวะสิ้นแล้ว
แลจะนิพพานบมิเกิด
สืบไปภายหน้ากว่านั้น



อันว่าสัตว์ทั้งหลายหมู่นี้
มีอาสวะทั้ง ๔ ประการยังไปมิสิ้น
ยังจะเกิดในสงสารสืบไป
ก็มีอุปไมยดุจคัมภีร์โหรา
อันตัดอายุศย์แลรู้ว่า
อายุศย์ยังไปมิได้ฉนี้นั้นแล
เหตุดังนั้นจึงว่าคัมภีร์โหรานั้น
คือไตรวิชชาทั้งสามประการนั้นแล



อันว่าอาจารย์ทั้ง ๔ นั้น
คือ โลโภ โทโส โมโห มานะนั้น
อันว่าอกุศลทั้งสี่นี้
บังเกิดในทวารทั้งหลาย
มีจักขุทวารเ้ปนอาทิ
แห่งสัตว์าทั้งหลายนั้น
แล้วก็ครอบงำข่มเหง
สั่งสอนสัตว์ทั้งหลาย
ให้กระทำบาปกรรมทั้งปวงดังนี้



อันว่าโลโภนั้น
บังเกิดในทวารทั้งหกแห่งสัตว์ทั้งหลาย
แล้วก็ครอบงำข่มเหงสั่งสอน
สัตว์ทั้งหลายให้กระทำ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
อันเปนวิสัยแห่งโลโภ
อันยินดีในกามคุณทั้ง ๕ ประการนั้น



อันว่าโทโส
บังเกิดในทวารทั้งหกแห่งสัตว์ทั้งหลาย
แล้วก็ครอบงำข่มเหงสั่งสอน
สัตว์ทั้งหลายให้กระทำ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
อันเปนวิสัยแห่งโทโส
อันยินดีในอาฆาฏวัตถุเก้าประการนั้น



อันว่าโมโห
บังเกิดในทวารทั้งหกแห่งสัตว์ทั้งหลาย
แล้วก็ครอบงำข่มเหงสั่งสอน
สัตว์ทั้งหลายนั้นให้กระทำ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
อันเปนวิสัยแห่งโมโห
อันมิรู้จักอริสัจทั้งสี่ประการนั้น



อันว่ามานะ
บังเกิดในทวารทั้งหกแห่งสัตว์ทั้งหลาย
แล้วก็ครอบงำข่มเหงสั่งสอน
สัตว์ทั้งหลายนั้นให้กระทำ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
อันเปนวิสัยแห่งมานะ
ด้วมทะทั้งหลาย
มีชาติมโทเปนอาทิ
ดุจกล่าวในขุททกวัตถุนิกายวิภังค์นั้น



เหตุดังนี้จึงว่า
อกุศลสี่ตัวนี้เปนอาจารย์แล
สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาในสังยุตตนิกายดังนี้ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้
พึงเจริญสมณธรรม
ด้วยอันหาลูกศิษย์สืบไปมิได้
ด้วยอันหาอาจารย์มิได้นั้นเถิด



ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าภิกษุรูปใด
อันอยู่กอประด้วยลูกศิษย์
กอประด้วยอาจารย์
อันว่าภิกษุรูปนั้นอยู่เปนทุกข์บมิสบาย
อันว่าภิกษุรูปใดอยู่
อันหาลูกศิษย์บมิได้
หาอาจารย์บมิได้นั้น
อันว่าภิกษุรูปนั้น
อยู่เปนศุขอยู่เปนสบายยิ่งนักหนา
จะปรารถนาธรรมสิ่งใด
ก็ได้ตามปรารถนาเที่ยงแท้นั้นแล



จึงตรัสปุจฉาว่าดังนี้
อันว่าลูกศิษยืนั้นคือสิ่งดังฤๅ
อันว่าอาจารย์นั้นคือสิ่งดังฤๅ
จึงตรัสวิสัชนาดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าภิกษุในพระศาสนานี้
เล็งเห็นรูปารมณ์ด้วยจักษุนั้นก็ดี
ได้ฟังสัททารมณ์ด้วยโสตนั้นก็ดี
ได้สูบดมคันธารมณ์ด้วยฆานะก็ดี
ได้ลิ้มเลียรสารมณ์ด้วยชิวหาก็ดี
ได้ถูกต้องโฏฐัพพารมณ์ด้วยกายก็ดี
ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนวิญญาณก็ดี
อันว่าธรรมเปนอกุศลทั้งหลายหมู่ใด
และบังเกิดในทวารทั้งหกแห่งภิกษุรูปนั้น
อันว่าธรรมอันเปนอกุศลทั้งหลายหมู่นั้น
ตั้งอยู่ภายในสันดานแห่งภิกษุรูปนั้น
พระตถาคตตรัสเทศนา
ชื่อว่าเปนลูกศิษย์แห่งภิกษุรูปนั้น
เหตุว่าธรรมเปนอกุศลทั้งหลายหมู่นั้น
ตั้งอยู่ในสันดานแห่งภิกษุรูปนั้นประการหนึ่ง
พระตถาคตตรัสเทศนาธรรม
อันเปนอกุศลทั้งหลายหมู่นั้น
ได้ชื่อว่าเปนครูเปนอาจารย์
ครอบงำสั่งสอนภิกษุรูปนั้น
ให้กระทำผิดธรรมนั้นแล



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงรู้ว่า
โลโภ โทโส โมโห มานะ
ทั้งสี่นี้หามิได้แล้ว
อกุศลทั้งปวงก็หามิได้
เหตุดังนั้นจึงว่า
ให้ฆ่าอาจารย์ทั้งสี่เสีย
จึงรู้คัมภีร์โหรานั้นแล



อธิบายดังนี้
อันว่าพระอรหันต์ทั้งปวง
อันทรงไตรวิชชาทั้งสามนั้น
ก็ย่อมฆ่าเสียซึ่ง
โลภจริตอันกอประด้วยทิฏฐิ
แลโมหจิตรอันกอประด้วยวิจิกิจฉานั้น
ให้พินาศด้วยโสดาปัตติมรรคญาณแล้ว
ก็ย่อมฆ่าเสียซึ่งโลภจิตร
อันปราศจากทิฏฐิอันเปนกามราคอันหยาบ
แลโทสจิตรอันเปนพยาบาทอันหยาบ
นั้นให้พินาศด้วยสกิทาคามิมรรคญาณ
แล้วก็ฆ่าเสียซึ่งโลภจิตร
อันเปนกามราคอันสุขุม
แลโทสจิตรอันเปนพยาบาทอันสุขุมนั้น
ให้พินาศด้วยอนาคามิมรรคญาณ
แล้วก็ฆ่าเสียซึ่งมานะแลโมหะ
อันกอประด้วยอุทัธจนั้นให้พินาศ
ด้วยอรหรรตมรรคญาณ
จึงได้ตรัสรู้ไตรวิชชาสามประการคือ
ทิพจักขุญาณ ปุพเพนิวาสญาณ อาสวะไขยญาณ
เหตุฆ่าเสียซึ่งโลโภ โทโส โมโห มานะ
ทั้งสี่ประการนี้
ให้พินาศด้วยสมุจเฉทปหาน
ก็ได้ชื่อว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย
เรียนโหราแลฆ่าเสียอาจารย์ทั้งสี่นั้นแล



เหตุการณ์ดังนั้น
อันว่านักปราชญ์ผู้ประเสริฐ
แลบังเกิดทรงนามบัญญัติชื่อโยคาวจร
เหตุกอประด้วยความเพียรในสมถภาวนา
แลวิปัสนาภาวนาด้วยประนิธาน
ปรารถนาจะข้ามมหรณพสงสาร
ให้ถึงอมฤตนิพพาน
ด้วยอรหรรตมรรคญาณ
อันตรัสรู้ไตรวิชชาทั้งสามประการ
ก็พึงฆ่าเสียซึ่งอกุศลกรรมทั้งสี่ประการนี้
ด้วยมรรคญาณทั้งสี่
โดยอันดับดุจกล่าวมานั้นแล
โยคาวจรผู้ประเสริฐพระองค์นั้น
ก็ลุถึงอรหรรตมรร๕ญาณ
อันทรงไตรวิชชาสามประการ
ดุจพระอาจารย์อรหันต์เจ้าทั้งปวง
อันทรงไตรวิชชานั้นแล



อาตมาภาพถวายวิสัชนาอัฏฐมปัณหา
ด้วยพระธรรมเทศนาอันมีสภาวะดังนี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็ม
สำหรับสำเภาเภตราคือ
พระบวรอาตมา
พระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาอัฏฐปัณหาคำรบแปด
สำเร็จแต่เท่านี้แล
<





 

Create Date : 30 กันยายน 2553    
Last Update : 30 กันยายน 2553 8:48:55 น.
Counter : 1060 Pageviews.  

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๗


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ






อาตมาภาพขอถวายวิสัชนา
สัตตมปัณหาคำรบ ๗ ว่า
จะให้พลันล่มบรรทุกแต่เบา นั้น
คือห้ามมิให้บรรทุกเครื่องสักการอันหนัก
อันว่าถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา
คือว่าจะให้ถึง
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุอันดับ
คือวิบากขันธ์และกตัตตารูปเหลือบมิได้นั้น
เมาะว่าดับสิ้นทั้งปวง
แลมิได้บังเกิดสืบไปในวัฏสงสารกว่านั้น
ดุจสำเภาอันล่มแลจมลงในท้องทะเล
แลบมิได้เที่ยวไปในท้องทะเลกว่านั้น



อันว่าบรรทุกแต่เบานั้น
คือ กุศลธรรมทั้งหลาย
คือสัตตติงส โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
อันโยคาวจรพึงให้บังเกิด
ให้เจริญในขันธสันดาน
จงมากจงเนืองๆ
อย่าให้อกุศลธรรม
บังเกิดในขันธสันดานนั้นได้
จึงจะพลันถึงนฤพาน
ก็มิได้เที่ยวไปในวัฏสงสารกว่านั้น
ดุจสำเภาอันบรรทุกแต่เบาแลพลันล่ม
แลมิได้เที่ยวไปในท้องทะเลนั้นแล



ในที่นี้จะทรงพระกังขาว่า
บรรทุกแต่เบานั้นจะล่มด้วยเหตุอันใด
อาตมาภาพขอถวายพระพรให้แจ้ง
ซึ่งว่า
สำเภาอันบรรทุกสินค้าอันเบามีอาทิ
คือ ฝ้ายแลผ้าแพรไหม
แลหาศิลากดท้องเปนอับเฉานั้นมิได้
และพานิชชักใบกระโดงนั้น
ขึ้นให้สิ้นเต็มกำลัง
ครั้รลมอันมีกำลังพัดมาต้องใบกระโดงนั้น
สำเภาอันเบานั้นก็หกคว่ำลงเปนอันฉับพลัน
เหตุว่าหาศิลาจะกดท้องเปนอับเฉามิได้นั้นแล



อธิบายว่า
ให้บรรทุกแต่เบานั้น
คือห้ามมิให้บรรทุกหนัก
แลบรรทุกหนักนั้นคือ
อกุศลธรรมทั้งปวง
อันมีมิจฉาวิตก
แลราคะโทสะโมหะเปนอาทินั้นแล
อกุศลธรรมทั้งหลายนี้
ครั้นและยังบังเกิดเปนอันมากในสันดาน
ก็จะเที่ยวอยู่ในสงสารสิ้นกาลช้านาน
ดุจสำเภาอันบรรทุกสินค้าอันหนัก มีอาทิ
คือดีบุกแลทองแดงทองเหลือง
เหล็กศิลากดท้องเปนอับเฉานั้น
แม้นลมมีกำลังมาต้องใบกระโดงนั้นก็ดี
สำเภาอันบรรทุกหนักนั้นก็มิได้ล่ม
ก็ท่องเที่ยวไปมา
อยู่ในท้องทเลนั้นสิ้นกาลช้านาน



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาสั่งสอนพระภิกษุทั้งหลายดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าสำเภาเที่ยวไปในท้องมหาสมุท
แลทลุเปนช่อง ๖ แห่ง
แลน้ำในมหาสมุทร
ก็ไหลเข้าไปตามช่อง ๖ แห่งนั้น
สำเภานั้นก็เปนอันหนัก
ด้วยน้ำอันรั่วเข้าไปนั้น
ก็ไปในท้องทะเลนั้นเปนอันช้า
พานิชทั้งหลายก็ปิดช่อง
๖ แห่งนั้นไว้ มิให้รั่วเข้าได้
ก็วิดน้ำในสำเภสนั้นเสียให้สิ้น
สำเภาอันพานิขวิดน้ำเสียแล้วนั้น
ก็บังเกิดเปนอันเบาก็ไปถึงท่าสำเภา
อันปรารถนานั้นด้วยฉับพลัน



แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าสำเภาอันกล่าวคือ
อาตมาภาพแห่งท่านทั้งหลาย
ก็เปนอันหนักด้วยน้ำคือ
มิจฉาวิตกทั้ง ๓ คือ
กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก นั้นเสียแล้ว
แลท่านทั้งหลาย จงตัดเสีย
ซึ่งราคะแลโทสะอันผูกไว้ในสงสาร
ดุจเชือกแลพวนอันผูกสำเภานั้น
ให้ขาดจงสิ้น
ท่านทั้งหลายก็จะถึงอรหรรตผล
อันชื่อสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เหตุว่าเปนกิเลสนิพพาน
คือ กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘
นั้นดับสิ้นแล้ว
แลยังแต่เวทนา ขันธ์สัญญา
ขันธ์สังขาร ขันธ์วิญญาณ
ขันธ์อันเปนวิบาก
เมาะว่าเปนผลแห่งกุศลากุศล
อันได้กระทำแต่ชาติก่อนนั้น
ให้บังเกิดนั้นให้เหลืออยู่นั้นแล้ว
ท่านทั้งหลายก็จะถึง
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อันมีวิบากขันธ์กตัตตารูปบมิเหลือนั้น
ในกาลเมื่อสิ้นอายุ
แห่งท่านทั้งหลายนั้นแล้ว ประการหนึ่ง



ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
จงตัดเสียซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ๕ ประการ
คือ ทิษฐิสังโยชน์ ๑ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๑
สีลพัตตปรามาสสังโยชน์ ๑
กามราคสังโยชน์ ๑ พยาบาทสังโยชน์ ๑
แลสังโยชน์ ๕ นี้
ย่อมผูกสัตว์ไว้ในอบายทั้ง ๔
ดุจเชือกอันผูกในบาทา
แลชักไปสู่อบายอันภาคเบื้องต่ำนั้น
ท่านทั้งหลายก็พึงตัดเสีย
ซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการนี้
ด้วยมรรคญาณทั้ง ๓ คือ
โสดามรรคญาณ สกิทาคามิมรรคญาณ
อนาคามิมรรคญาณให้ขาด
ดุจบุรุษอันตัดซึ่งเชือก
อันผูกเท้าทั้งสองให้ขาด
ด้วยดาบอันคมนั้นแล้ว



ท่านทั้งหลายก็พึง
ตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการ
รูปราคสังโยชน์ ๑ อรูปราคสังโยชน์ ๑
มานสังโยชน์ ๑ อุทธัจจสังโยชน์ ๑
อวิชชาสังโยชน์ ๑
สังโยชน์ ๕ ประการนี้
ก็ย่อมผูกสัตว์ให้ไปบังเกิด
ในสวรรค์เทวโลกอันเปนภาคเบื้องบน
ดุจเชือกบ่วงผูกคอ
แลชักขึ้นไปสวรรค์เทวโลกนั้น
ท่านทั้งหลายก็พึง
ตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ นี้ให้ขาด
ด้วยอรหรรตมรรคญาณ
ดุบุรุษอันตัดเชือกบ่วงผูกคอนั้น
ให้ขาดด้วยดาบอันคมนั้น



และท่านทั้งหลายจงเจริญ
อินทรียธรรม ๕ ประการ
นั้นคือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑
สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
ท่านทั้งหลายจงล่วงข้ามเสีย
ซึ่งธรรมทั้งหลาย ๕ ประการนี้
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ
อันเปนกังวลให้ข้องอยู่ในวัฏสงสาร



อันว่าบุคคลผู้ใดแลตัดเสีย
ซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการเบื้องต่ำ
แลตัดเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ ประการเบื้องบน
แลเจริญอินทรียธรรม ๕ ประการ
แลล่วงข้ามเสียซึ่งกังวล ๕ ประการดังนี้
อันว่าบุคคลผู้นั้น
พระตภาคตตรัสเทศนาว่า
ข้ามโอฆะทั้ง ๔ ประการได้แล้ว
ก็ถึงนฤพานอันเปนเที่ยงแท้แล
อาตมาภาพขอถวายวิสัชนาสัตตมปัณหา
ด้วยธรรมเทศนานี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็ม
สำหรับสำเภาเภตรา คือ
พระบวรอาตมา พระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาสัตตมปัณหาปฤษณาครบ ๗ สำเร็จแล้วแต่เท่านี้




 

Create Date : 29 กันยายน 2553    
Last Update : 29 กันยายน 2553 8:55:44 น.
Counter : 497 Pageviews.  

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๖


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ





อาตมาภาพ ขอถวายวิสัชนา
ในอัฏฐมปัณหาปฤษณาคำรบ ๖ ซึ่งว่า
ถ้า จะให้เปนลูกให้เอาไฟสุมต้น นั้น
อันว่าลูกนั้นคือ
ผลทั้งสี่ คือ
โสดาผล ๑ สกิทาคามิผล ๑
อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑
อันว่าไฟนั้นคือ
มรรคญาณทั้ง ๔ คือ
โสดามรรค ๑ สกิทาคามิมรรค ๑
อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑
อันว่าต้นนั้นคือ
กิเลสธรรม อันมี
อวิชชาตัณหาเปนมูลนั้นแล



เหตุการณะ ดังนั้น
อันว่าโยคาวจร
ผู้ปรารถนาจะข้ามสมุทสาคร
คือ วังสารวัฏ
จะเอาโสดาผลให้ได้ดุจใจปรารถนา
อันว่าโยคาวจรผู้นั้น
ก็พึงเจริญวิปัสนากรรมฐาน
แลเผาเสียซึ่ง กิเลสธรรม
เปนสังโยชน์ ๓ ประการคือ
ทิฏฐิสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์
สีลพัตตปรามาสสังโยชน์
ให้ไหม้เสียด้วยเพลิง คือ
โสดาปัตติมรรคญาณแล้ว
ก็จะได้้ตั้วอยู่ในโสดาปัตติผล
บังเกิดเปนอริยสาวก อันเปนประถม
เหตุเผาเสียซึ่ง
ทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลพัตตปรามาส นั้นแล
เหตุว่าทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลพัตตปรามาสนี้
เปนต้นแห่งโสดาปัตติผล
เหตุว่าทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลพัตตปรามาส
ยังอยู่ในสันดานนั้น
โสดาปัตติผลมิได้บังเกิด
เมื่อใดทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลพัตตปรามาส
หามิได้ในสันดาน
โสดาปัตติผลจึงบังเกิดได้



ก็มีอุปไมยดุจชาติไม้
อันเผาไฟสุมต้นแล้วจึงเปนลูกนั้นแล
อันว่าโยคาวจรผู้ได้โสดาผลแล้ว
จะปรารถนาเอาสกิทาคามิผลนั้น
ก็พึงเจริญวิปัสนากรรมฐาน
เผากามราคพยาบาทอันหยาบนั้นเสีย
ให้ขาดด้วยเพลิงคือ
สกิทาคามิมรรคญาณ
ก็จะได้สกิทาคามิผลนั้นแล
เหตุว่ากามราคพยาบาทยังอยู่ในสันดาน
สกิทาคามิผลจะบังเกิดมิได้
เมื่อไรกามราคพยาบาท
อันหยาบหามิได้ในสันดาน
สกิทาคามิผลจึงบังเกิดได้
ดุจชาติไม้อันเผาไฟสุมต้น
จึงเปนลูกนั้นแล



อันว่าโยคาวจรได้สกิทาคามิผลแล้ว
แลปรารถนาจะเอา อนาคามิผล
ก็พึงเจริญวิปัสนากรรมฐาน
เผากามราคพยาบาทอันสุขุมนั้นเสีย
ด้วยเพลิงคือ
อนาคามิมรรคญาณ
ก็จะได้อนาคามิผล
เหตุว่า
เมื่อกามราคพยาบาทอันสุขุม
ยังไปมิขาดจากสันดาน
อนาคามิผลจะบังเกิดมิได้
เมื่อใดกามราคพยาบาทอันสุขุมนั้น
ขาดจากสันดานแล้ว
อนาคามิมรรคผลจักบังเกิดได้
ก็มีดุจชาติไม้อันเผาไฟสุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุุมต้น
จึงเปนลูกนั้นแล



อันว่าโยคาวจรได้อนาคามิผลแล้ว
แลปรารถนาเอาอรหรรตผล
ก็พึงเจริญวิปัสนากรรมฐาน
เผาเสียซึ่ง สังโยชน์ ๕ ประการ
คือ รูปราคสังโยชน์ ๑ อรูปราคสังโยชน์ ๑
มานะสังโยชน์ ๑ อุทธัจจะสังโยชน์ ๑
อวิชชาสังโยชน์ ๑ ด้วยเพลิง คือ
อรหรรตมรรคญาณแล้วนั้น
จึงจะได้อรหรรตผลเปนอริยบุคคล
คำรบ ๔ อันประเสริฐยิ่ง
ยิ่งกว่าอริยบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น
เหตุเผาเสียได้แล้วซึ่งกิเลสธรรม
คืออวิชชาตัณหา
อันเปนต้นเปนมูลเเห่งวัฏสงสารนั้น
ขาดสิ้นทุกประการแล้ว
อรหรรตผลจึงบังเกิดได้
ดุจชาติไม้อันเอาไฟสุมต้นจึงเปนลูกนั้นแล

อธิบายว่า
เมื่อกิเลสธรรมอันเปนมูลเหตุแห่งสงสารนั้น
ยังหมั้นคงอยู่ในสันดาน
ผลทั้ง ๔ ประการนั้น ก็จะบังเกิดมิได้



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้าตรัสเทศนาดังนี้ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อรากไม้อันหาอันตรายมิได้
แลยังหมั้นคงอยู่
อันว่าไม้นั้นแม้นบุคคลตัดขาดแล้ว
ไม้นั้นก็งอกขึ้นเล่า
แลมีดุจใด
ในเมื่อตัณหานุไสย
แลยังไปมิขาดเสียได้นั้น
อันว่าทุกข์ทั้งปวงก็บังเกิดเนืองๆ
ก็มีดุจไม้อันตัดแต่กิ่งแลลำ
แลมิได้ขุดรากนั้นเสีย
และงอกขึ้นได้นั้นแล



ภิก์ขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าน้ำอันไหลไปในสถานที่ใด
อันว่าเครือเชือกเถาก็งอกขึ้นในสถานที่นั้น
แลมีดุจใด
อันว่าตัณหาไหลไปในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น
มีรูปารมณ์เปนอาทินั้น
อันว่ามูลแห่งตัณหาก็งอกในอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น
และท่านทั้งหลายเล็งเห็นมูลแห่งตัณหา
อันเกี่ยวพันรัดรึงผ่านขึ้นไปในอารมณ์ทั้ง ๖
ดุจเครือเชือกเถาอันเกี่ยวพันรัดรึง
ผ่านขึ้นไปในต้นไม้ทั้งหลายนั้น
ก็พึงตัดพึงเผามูลแห่งตัณหานั้นเสีย
ให้ขาดด้วยปัญญาแห่งท่านทั้งหลายนั้นเถิด



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาสั่งสอนภิกษุทั้งหลาย
ให้ตัดให้เผามูลแห่งตัณหานั้นเสีย
ด้วยปัญญาดังนี้
ก็มีดุจว่าให้เอาไฟสุมต้นไม้นั้นเสียแล
อาตมาภาพถวายวิสัชนา
ในฉัฏฐมปฤษณาด้วยพระธรรมเทศนานี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็มสำเภาเภตรา
คือบวรอาตมาพระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาฉัฏฐมปัณหาปฤษณา
คำรบ ๖ สำเร็จเท่านี้ฯ




 

Create Date : 28 กันยายน 2553    
Last Update : 28 กันยายน 2553 12:53:43 น.
Counter : 2312 Pageviews.  

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๕


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ




อาตมาภาพ ขอถวายวิสัชนา
ปัญจมปัณหาปฤษณาคำรบ ๕ ว่า
ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง นั้น

เหตุว่าช้างทั้งหลายนี้มิได้ยินดีจะอยู่ในเมือง
และช้างทั้งปวงนี้ย่อมยินดีอยู่ในป่า
ปฤษณานี้เปนอุปมาต่่อโยคาวจร
อันเจริญวิปัสนากรรมฐาน
แลปัญญาอันชื่อนิพพิทาญาณนั้น
มีในบาฬี พระคัมภีร์วิสุทธิมัคค ดังนี้



อันว่าพระยาช้างฉัททันต์ตัวนั้น
อันขาวล้วนถ้วนทั่วตัว
แลมีที่ตั้งเจ็ดแห่ง
คือ เท้าทั้ง ๔ แลงาสองข้างแลงวง
แลมีฤทธิ์อานุภาพ
เหาะเหินเที่ยวไปในอากาศ
แลพระยาช้างฉัททันต์นั้น
มิได้ยินดีจะอยู่ภายในเมือง
แลพระยาช้างฉัททันต์นั้นก็ยินดีใน
ฉัททันต์สระในหิมวันตประเทศนั้น

แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าพระยาช้างก็คือ
โยคาวจรอันได้นิพพิทานุปัสนาญาณแล้วนั้น
มิได้ยินดีในสังขารธรรมทั้งปวง



แลช้างสารคือ
โยคาวจรนั้นก็ยินดีในฤพาน
อันรงับดับกิเลสธรรม
อันให้เดือดร้อนกระวนกระวายนั้นเสียแล้ว
แลบังเกิดเปนอันเย็น
อันเล็งเห็นด้วยไนยเปน
อาทิว่า ฯ อนุป์ปาโทเขมํ อุปปาโทภยํ
อันว่ามิได้บังเกิดนั้น เปนอันเขษม
ปราศจากไภยทั้งปวง
คือชาตไภย ชราไภย
พยาธิไภย มรณไภย



อันว่าบังเกิดนั้นกอประด้วย
ชาตไภย ชราไภย
พยาธิไภย มรณไภย
แลใจแห่งโยคาวจรนั้น
ก็โน้มไปสู่นฤพาน
อ่อนไปสู่นฤพาน
เงื้อมไปสู่นฤพาน
ก็มีอุปไมยดุจพระยาช้างฉัททันต์
อันบมิยินดีจะอยู่ในเมือง
แลยินดีในฉัททันต์สระ
ในหิมวันตประเทศนั้น



เหตูการณะดังนี้
อันว่าโยคาวจร
ผู้ปรารถนาพ้นจากวัฏสงสาร
ก็พึงเจริญวิปัสนากรรมฐาน
ให้ได้นิพพิทานุปัสนาญาณ
อันหน่ายในสังขารธรรม
แลมิให้จิตรผูกอยู่ใน
สังขารธรรมทั้งปวง
แลให้จิตรยินดีในนฤพาน
อันนี้ชื่อว่า
ช้างสารอย่าผูกไว้กลางเมืองนั้นแล



อันว่ากลางเมืองนั้นคือ สังขารธรรม
อันว่าช้างสารนั้นคือ โยคาวจร
อันว่าอย่าผูกนั้นคือ
นิพพิทานุปัสนานั้นแล

สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาโปรด
อุคเสนเศรษฐีบุตร ดังนี้
ดูกรอุคเสนเศรษฐีบุตร
ท่านจงอย่าผูกจิตรไว้ในสังขารธรรมคือ
ปัญจขันธ์อันล่วงไปแล้วในอดีตกาลนั้นก็ดี
ท่านจงอย่าผูกจิตรไว้ในสังขารธรรมคือ
ปัญจขันธ์อันจะบังเกิดในอนาคตกาลนั้นก็ดี
ท่านจงอย่าผูกจิตรไว้ในสังขารธรรมคือ
ปัญจขันธ์อันเปนปัจจุบันนี้ก็ดี



แลท่านจงละเสียอย่าผูกจิตรไว้ในสังขารธรรมคือ
ขันธะธาตุอายตนะอันมีในอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ท่านจงถึงซึ่งฝั่งแห่งภวสาคร
ด้วยปัญญา ๓ ประการ
คือ ญาตปริญญา ติรณปริญญา ปหานปริญญา
ท่านจงอย่าถึง
ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์
สืบไปเบื้องกว่านั้นเลย
อุคเสนเศรษฐีบุตร ลุถึงอรหรรตแล้ว
ก็บวชในพระศาสนานี้แล



อาตมาภาพ
ถวายวิสัชนาปัญจมปัณหาปฤษณาที่ห้า
ด้วยพระธรรมเทศนานี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็มสำหรับสำเภาเภตราคือ
พระบวรอาตมา พระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาปัญจมปัณหาปฤษณา
คำรบ ๕ สำเร็จแล้วแต่เท่านี้แล




 

Create Date : 27 กันยายน 2553    
Last Update : 28 กันยายน 2553 12:53:16 น.
Counter : 578 Pageviews.  

พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๔


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ





อาตมาภาพ ขอถวายวิสัชนาจตุตถปัณหาคำรบ ๔ ซึ่งว่า

ไม้โกงอย่าทำกงวานนั้น
อธิบายว่า
ให้เอาไม้ตรงนั้นอันซื่อนั้นทำกงวาน
ปฤษณานี้เปนอุปมา
เหตุดังนั้นอาตมาภาพจะถวายวิสัชนา
เปนอุปมาอุปไมยให้แจ้งในพระญาณ
สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ประเสริฐ



ชื่อว่ากงวานทั้งปวงนี้ก็เปนอุปการแก่สำเภา
ให้แข็งให้มั่นคงมิให้ไหวจุลาจล
อันว่าสำเภาอันหากงวานมิได้นั้น
มิอาจทนทานกำลังระลอกในท้องทะเลนั้นได้
แลมิอาจข้ามทะเลไปได้
ก็จะแตกทำลายในทะเลนั้น
เหตุว่าสำเภานั้นหากงวานมิได้



อันว่าสำเภาอันใด
มีกงวานอันหมั้นคงสามารถ
สำเภาลำนั้นก็จะอาจเพื่อจะทนทาน
กำลังระลอกในท้องทะเลนั้นได้
ก็จะข้ามทะเลนั้นไปรอดฝั่งถึงฝั่งข้างโพ้น
ตามความปรารถนาแห่งวานิชผู้เป็นเจ้าสำเภานั้น



แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าอาตมาแห่งโยคาวจร
ผู้ปรารถนาจะข้ามสงสารสาครนั้น
ก็มีอุปไมยดุจสำเภานั้นแล

อันว่ามิตรแลอำมาตย์แลทาษกรรมกร
อัันเปนอุปการปฏิบัติรักษาโยคาวจรนั้น
ก็มีอุปไมยดุจไม้อันเปนกงวาน
แลเปนอุปการรักษาสำเภานั้น



เหตุดังนั้น
อันว่าโยคาวจรผู้มีปัญญา
ปรารถนาเพื่อจะข้ามสงสารสาครนั้น
ก็พึงพิจารณาดูคนทั้งหลายด้วยปัญญา
เล็งเห็นคนหมู่ใดอันมิซื่อมิตรง
แลคดด้วยกาย คดด้วยวาจา คดด้วยจิตร
โยคาวจรอย่าเอาคนหมู่นั้นมาเปนมิตร
เปนอำมาตย์ เปนทาษ กรรมกร
ให้ปฏิบัติรักษาอาตมา
อันนี้ชื่อว่าไม้โกงอย่าเอาทำกงวานนั้นแล



อันว่าโยคาวจรผู้มีปัญญานั้น
พึงเลือกเอาแต่คนอันซื่อ อันสัตย์ อันตรง
มิได้คดด้วยกาย มิได้คดด้วยวาจา
มิได้คดด้วยจิตร
นั้นมาเปนมิตร เปนอำมาตย์
แลเปนทาษ กรรมกร
ให้เปนอุปการปฏิบัติรักษา
อาตมาแห่งโยคาวจรนั้น

อันนี้ชื่อว่าให้เอาแต่ไม้อันซื่อ
มาทำกงวานนั้นแล
เหตุอันใดจึงว่าอย่าให้โยคาวจรเจ้า
เหตุว่าคนอันคดอันมิซื่อนั้น
เปนคนอสัปบุรุเปนคนพาลคนบาปแล



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้าตรัสเทศนาดังนี้ฯ
อธิบายว่าอันว่าบุคคลผู้ใด
เว้นเสียซึ่งความสัตย์แลกล่าวคำมุสาวาท
แลเห็นแต่ประโยชน์ในอิธโลกนี้
แลมิได้เล็งเห็นประโยชน์ในปรโลก
อันว่าบุคคลผู้นั้นจะว่ามิกระทำบาปนั้นหามิได้
เมาะว่าบุคคลผู้นั้นกระทำบาป
เปนคนบาปเที่ยงแท้แล
อันว่าอยู่ด้วยคนบาปคนพาล
อันมิซื่อสัตย์นั้นก็เปนทุกข์ยิ่งนักหนา

สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่าฯ
อันว่าบุคคลหมู่ใดแลมีปรกติ
ท่องเที่ยวไปด้วยคนพาลนั้น
อันว่าบุคคลหมู่นั้น
ก็จะบังเกิดทุกข์โศกาดูรสิ้นกาลช้านาน
เหตุว่าฟังถ้อยคำคนพาลและกระทำบาปนั้น
อันว่าอยู่กับด้วยคนพาลนั้น
อยู่เปนทุกข์นักหนาดุจอยู่ด้วยข้าศึกนั้นแล



แลอธิบายว่าบุคคลอันอยู่กับด้วยข้าศึก
อันมีมือถือดาบจะฆ่าอาตมานั้นก็ดี
อยู่ด้วยงูอสรพิษอันจะตอดอาตมานั้นก็ดี
แลบุคคลผู้นั้นก็อยู่เปนทุกข์ในกาลทั้งปวง
แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าบุคคลผู้อยู่ด้วยคนพาลนั้น
ก็อยู่เปนทุกข์ในกาลปวง
ดุจอยู่ด้วยข้าศึกแลอยู่ด้วยงูอสรพิษนั้นแล
เหตุดังนี้จึงว่าอย่าให้โยคาวจร
เอาคนพาลมาเปนอุปการ
แก่อาตมาภาพนั้นแล
ประการหนึ่ง
ซึ่งว่าโยคาวจรเอาคนซื่อสัตย์
มาเปนอุปการนั้น
ด้วยว่าคนซื่อสัตย์นั้นเปนคนสัปบุรุษ
แลอยู่ด้วยคนสัปบุรุษนั้นเปนศุขเที่ยงแท้แล



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้าตรัสเทศนาดังนี้
อันว่าอยู่ด้วยบุคคลผู้สัปบุรุษนั้น
ก็เปนศุขในกาลทุกเมื่อ
แลอย่าว่าอยู่ด้วยเลย
แม้นแต่เล็งเห็นบุคคลผู้เปนสัปบุรุษนั้น
ก็เปนศุขเที่ยงแท้นักหนาแล
แม้นว่าอยูด้วยนักปราชญ์
ผู้มีปัญญานั้นก็เปนศุขยิ่งนักหนา
ดุจอยู่ด้วยญาติกาแห่งอาตมานั้นแล
เหตุดังนี้จึงให้โยคาวจร
เอาคนซื่อเปนสัปบุรุษนั้น
เปนอุปการแก่อาตมาภาพนั้นแล
ประการหนึ่ง



สมเด็จพระสรรเพ็ชพุทธเจ้าตรัสเทศนา
ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อันว่าท่านทั้งหลายจะบำเพ็ญสมณธรรม
ปรารถนาจะพ้นจากวัฏสงสาร
ถ้าท่านทั้งหลายได้กัลยาณมิตรเปนกุศล
อันกอประด้วยปัญญา
แลมีปรกติอยู่เปนศุขอันดี
อันจะบำเพ็ญสมณธรรม
ด้วยอาตมาและกัลยาณมิตรนั้น
ผจญเสียซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
มานะทิฏฐิอันเปนไภยนั้นเสียแล้ว
แลกัลยาณมิตรดังนี้
ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญสมณธรรม
กับด้วยกัลยาณมิตร ผู้นั้นเกิดเหตุดังนั้น
ท่านทั้งหลายจงสร้องเสพ
ซึ่งกัลยาณมิตรอันมีเพียร
แลมีปัญญา แลเปนพหูสูตร
แลกอประด้วยศีลวัตรปฏิบัตินั้นเถิด



อันว่าพระจันทร์อันเสพซึ่งอากาศ
อันเปนทางแห่งดาวทั้งหลาย
แลเปนอันรุ่งเรืองงามหนักหนา
แลมีอุปมาดุจใด
อันว่าท่านทั้งหลายอันสร้องเสพ
ซึ่งกัลยาณมิตรอันกอประด้วยคุณเห็นปานดังนั้น
ท่านทั้งหลายก็จะรุ่งเรืองงามดุจพระจันทร์นั้นแล



อธิบายปฤษณานี้ว่า
โยคาวจร อันปรารถนาจะข้ามสงสาร
ให้ถึงนฤพานนั้น
อย่าได้สร้องเสพด้วยคน
อันคดอันเปนอสัปบุรุษนั้น
แลให้สร้องเสพด้วยคนอันซื่อเปนสัปบุรุษนี้
จึงจะข้ามสงสารถึงนฤพานตามปรารถนา
ดุจสำเภาเภตรา
อันมีกงวานอันสามารถนั้นแล
อันว่าอาตมาโยคาวจรนั้นดุจสำเภา

อันว่ากัลยาณมิตรอำมาตย์ทาษกรรมกรนั้น
ดุจกงวานสำเภา
อันว่าจิตรแห่งโยคาวจรนั้น
ดุจพานิชสำเภานั้นแล



ขอถวายพระพรอาตมาภาพ
วิสัชนาจตุตถปัณหา
ด้วยพระธรรมเทศนานี้
ขอจงเปนต้นหนแลนายเข็มสำหรับสำเภาเภตรา
คือพระบวรอาตมาพระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาจตุตถปัณหาปฤษณาคำรบ ๔
สำเร็จแล้วแต่เท่านี้แล




 

Create Date : 26 กันยายน 2553    
Last Update : 28 กันยายน 2553 12:52:00 น.
Counter : 457 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

จันทร์ไพลิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




********
********


ขอขอบคุณcodeและรูปสวยๆ
กรอบและlineน่ารักมากมาย
จาก
คุณ Kungguenter,
คุณLosocat,
คุณยายกุ๊กไก่,
และป้าเก๋า ชมพรค่ะ

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จันทร์ไพลิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.