นิพพานเป็นความจริงสูงสุดและเป็นความดีสูงสุด เป็นสภาวะที่สมบูรณ์ เป็นสุขนิรันคร์
นิพพานเป็นภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตว่า นิรวาน แปลว่าความดับตัณหา หรือความดับกิเลสและดับทุกข์ นิพพานเป็นความดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และนิพพานเป็นชื่อหนึ่งของนิโรธ ดังนั้นนิพพานกับนิโรธจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จัดว่าเป็นความจริงสูงสุด เป็นสภาวะท่ี่สมบูรณ์ เป็นความดีขั้นสูงสุด เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ และนับว่าเป็นสุขนิรันดร์
ลักษณะสำคัญของนิพพาน๑. ธรรมชาติที่ไม่มีจุติ หมายถึงไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย เพราะการตายจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีการเกิด นิพพานทำลายตัวตัณหาซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดภพต่างๆอย่างหมดสิ้น คือเมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องมีรูปร่าง มีความรู้สึกสุขทุกข์ มีความจำ มีการคิดปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ (สังขาร) และมีจิต (วิญญาณ) แต่ถ้าเกิดเป็นอรูปพรหม ก็มีเพียง ๔ ขันธ์ ขาดรูปขันธ์ เป็นต้น ดังนั้นการไม่เกิดจึงเท่ากับหารไม่มีขันธ์
๒. พ้นจากขันธ์ ๕ หมายถึงเมื่อไม่มีการเกิดขันธ์ ๕ ก็ไม่ปรากฏ เพราะการเกิดคือการปรากฏของขันธ์ ๕
๓. ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยอะไร หมายถึง ธรรมดาสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง คำว่าปรุงแต่งในประเด็นนี้ คือ สิ่งทั้งหลายมารวมตัวกันเป็นกอง เป็นหมู่ เช่น บ้าน เกิดขึ้นเพราะการรวมตัวกันของวัตถุต่างๆ มีทั้งไม้ ปูน เหล็ก กระเบื้อง มนุษย์ก็เกิดจากการรวมตัวของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นมนุษย์เกิดมาก็ต้องรวมกันของธาตุ ๔ ซึ่งเรียกว่าถูกปรุงแต่ง เมื่อนิพพานไม่มีการเกิดจึงเท่ากับไม่มีการปรุงแต่ง นิพพานจึงได้ชื่อว่า อสังขต แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยต่างๆ
นิพพานจำแนกได้ ๓ อย่าง คือ
๑. นิพพาน ๑ โดยสภาวะลักษณะ
๒ นิพพาน ๒ โดยการกล่าวถึงเหตุ
๓. นิพพาน ๓ โดยการเข้าถึง
ผู้เข้าถึงนิพพาน คือ อริยบุคคล ประกอบด้วย
๑ พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ คือ
๑.๑ ความเป็นตัวตน
๑.๒ ความลังเลสงสัย
๑.๓ ความความยึดมั่นในศีลพรต
๒. พระสกทาคามี ละสังโยช์เช่นนพระโสดาบัน แต่เพิ่ม ราคะ โทษะ โมหะ
๓. พระอนาคามี ละสังโยช์เช่นพระโสดาบันและพระสกทาคามี และเพิ่มการละ
๓.๑ ความติดใจในกามคุณ
๓.๒ ความหงุดหงิด ความกระทบกระทั่งทางใจ
๔. พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้หมดทุกข้อ
นิพพานตามความหมายของท่านพุทธทาส
นิพพานตามความหมยของท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อเรื่องหลักธรรมสำคัญในพุทธศาสนา หน้า ๑๘๔ ท่านให้ความหมายที่กระจ่างชัดดังนี้
นิพพาน หมายถึงเย็น หรือ ดับลง เย็นเหมือนไฟที่เย็นลง หรือของร้อนๆอะไรก็ตามเย็นลง นั่นแหละคืออาการนิพพาน...เพราะฉนั้นคำว่านิพพานเป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆ มันหมายถึงของที่ร้อนให้เย็นลงเท่านั้น แต่เราจะหมายความเพียงเท่านั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเรื่องของวัคถุ ส่วนิพพานในเรื่องของธรรมะศาสนาหมายถึงเย็นลงแห่งไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท จึงจะเรียกว่า นิพพาน
ดังนั้นก่อนอื่นจึงควรเข้าใจพระนิพพายอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อนว่าเป็นสภาวะที่ดับกิเลสสหรือกองทุกข์ หรือกล่าวเน้นลงไปได้เลยว่าสภาวะที่ปราศจากอุปาทานทุกข์ อันเกิดขึ้นเนื่องแต่อาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน นั่นเอง เมื่อดับกิเลสจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุข สงบ สงัด อันบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนผลอื่นๆเป็นเพัยงผลข้างเคียงอันอาพึงบังเกิดขึ้นเท่านั้นเอง
"พระนิพพาน" เป็นอสังขตธรรม หรือสภาวธรรม จึงไม่เป็นอนิจจตาและไม่เป็นทุกขตา แต่เป็นอนัตตา และมีคำกล่าวไว้อย่างชัดเจนได้ยินเสมอว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"
นิพพานก็คือสภาวะนิโรธ ที่แปลว่าการดับทุกข์ คือสภาวะที่ไม่คับแค้น ไม่ข้องใจหรือสภาพที่ไม่เร่าร้อน เผาลน กระวนกระวาย อันล้วนเนื่องมาจากไฟของ โลภะ โทษะ โมหะ หรือถ้าพิจาณาในแนวทางปฏิจจสมึปบาท ก็คือ ไม่เร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลส (อาสวกิเลส) ตัณหา อุปาทาน อันยังเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ในชรา อันล้วนเป็นขันธ์ที่ล้วนประกอบ คือ ร่วมด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์หรืความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนอย่างแท้จริง และสามารถดับความเร่าร้อนเหล่านั้นได้ด้วยธรมของพระองค์ท่านจริงๆ
นิพพานธาตุ หมายถึงภาวะแห่งนิพพาน หริอนิพพานธาตุ ๒
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ จึงมีความหมายว่าดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพาของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ดับกิเลสได้คือ โลภะ โทษะ โมหะ
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ สิ้นทั้งกิเลสและสิ้นทั้งชีวิต เป็นนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ
มีนิพพานอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่านิพพานเแพาะกรณี คือ ตทังคนิพพาน นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็ขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบ ใจสบาย มีความสุขเป็นคราวๆนั้น เรียกว่า นิพพานเฉพาะกรณี หยุดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร หมดสิ้นทุกข์การทุกข์ใจ นิพพานเป็นโลกุตรอยู่เหนือสมมุติ อยู่เหนือกระแสโลกไม่อาจพรรณาได้ แต่ก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ไม่ได่สูญสิ้น
สรุปเรื่องนิพพาน
นิพพานเป็นจุดหมายสูงสุดในพุทธศาสนา เมื่อใครเข้าถึงแล้วไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย หยุดการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจอีกต่อไป นิพพานเป็นโลกุตรอยู่เหนือสมมติ อยู่เหนือกระแสโลกไม่อาจบรรยายได้ แต่ก็เป็นสภาวะที่มีอยู่ไม่ได้สูญสิ้น