|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
เงินขัน

ในห่อผ้าสีธงชาติที่วางชั้นบนของตู้เก่าแก่ใบนั้น มีสมุดปกแข็งคล้ายสมุดทำบัญชีหลายเล่ม เก่ามาก จนถึงค่อนข้างใหม่ ห่อนี้จะถูกเปิดก็ต่อเมื่อเจ้าของบ้านได้รับการ์ดเชิญให้ไปงานที่จัดตามประเพณีของชาวบ้านในแถบนั้น
สมุดหนาหลายเล่มนี้ แต่ละเล่มมีรายชื่อญาติๆและเพื่อนบ้านในช่องหนึ่ง อีกช่องหนึ่งเป็นจำนวนเงิน จำนวนเล่มจะเท่ากับจำนวนงานที่บ้านเราเคยจัดมา นับตั้งแต่งานแต่งงานของพ่อกับแม่ งานโกนจุกลูกสาวคนโต งานศพของย่า งานบวชลูกชายคนแรก งานแต่งลูกสาวคนโต....
สมุดแต่ละเล่มแทนงานแต่ละครั้ง มันเคยถูกกางออกต่อหน้าคนที่รู้หนังสือมาแล้ว เขาอาจเป็นครู หรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนลงรายการชื่อผู้มาร่วมงานและจำนวนเงินที่แขกให้มา บ้านเราเรียกว่าสมุดเงินขัน เข้าใจว่าเจ้าภาพจะมีขันใบใหญ่บนพานรอง ขนาดที่ใช้ใส่ข้าวตักบาตร นำมาใส่เงินช่วยงาน
เราไม่แน่ใจว่าทุกบ้านจะทำบัญชีพวกนี้ไว้หรือไม่ แต่ที่บ้านเราจะต้องมีการสรุปยอดเงินล่าสุดว่าเราเป็นหนี้เขาเท่าไร หรือเขายังค้างหนี้เราเท่าไร เช่น เขาเคยมาช่วยงานบวชลูกชายคนโต ๑๐๐ บาท เมื่อเขามีการจัดงาน เราควรช่วยงาน ๑๒๐ บาท หรือเพิ่มขึ้นสัก ๒๐ เปอร์เซ็นต์ หากหลงลืมเงินใส่ซองน้อยไป เจ้าภาพงานจะเคืองมากถึงกับตัดญาติขาดมิตรกันเลยทีเดียว
เรื่องหน้าตาของคนต่างจังหวัดนี่สำคัญมาก ถึงจะยากดีมีจน ต้องขวนขวายหาเงินมาช่วยงานจนได้ จำนวนเงินไม่ควรจะน้อยหน้าเพื่อนบ้านด้วย แม้จะกู้หนี้ยืมสินเขาก็เอา เราไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในท้องถิ่นชนบท คนมีเงินจึงได้รับการนับหน้าถือตา โดยไม่ได้ดูว่าที่มาของเขาอาจเกิดจากการรีดนาทาเร้นมาจากชาวบ้านในแถบนั้นนั่นเอง
ส่วนแขกที่ได้รับเชิญ หรือญาติ บางครอบครัวมีอาชีพรับจ้าง หาเช้ากินค่ำ คงไม่มีเงินเหลือมาช่วยงาน สังคมชนบทก็ไม่ได้ใจไม้ใส้ระกำ เปิดช่องไว้ นั่นคือ ช่วยด้วยแรงกาย ผู้หญิงช่วยงานในครัว ผู้ชายช่วยงานหนัก เช่น แบกเสา กางเต้นท์ ขนภาชนะต่างๆจากวัดมาบ้าน ซึ่งการช่วยด้วยแรงกายนี้ ทำให้งานคึกครื้นขึ้น เจ้าภาพจะดีใจยิ่งกว่าการช่วยด้วยเงิน
บางครอบครัวมีลูกหลายคน ต้องจัดงานกันหลายครั้ง ใช้หนี้กันไม่จบไม่สิ้น งานบวช งานแต่งลูกคนหลังๆ ต้องวงเล็บไว้ที่การ์ดเชิญว่า งดเงินช่วย หรือ งดเงินขัน เป็นที่รู้กันว่าจะไม่สร้างหนี้ทางสังคมกันต่อไป สบายใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องเสแร้ง ไม่ต้องวัดใจกัน แต่คนรับการ์ดนี่ซิ งงไปพักใหญ่ ไปร่วมงานแบบเหนียมๆ จะช่วยเงินก็กลัวเจ้าภาพไม่รับ จะไม่ช่วยก็เหมือนมากินฟรี ทำตัวไม่ถูกไปตามๆกัน
Create Date : 12 พฤษภาคม 2552 |
Last Update : 14 มิถุนายน 2558 11:25:29 น. |
|
32 comments
|
Counter : 4612 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: Fullgold วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:02:54 น. |
|
|
|
โดย: Fullgold วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:06:14 น. |
|
|
|
โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:39:23 น. |
|
|
|
โดย: sarntee วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:12:32:28 น. |
|
|
|
โดย: กลีบดอกโมก วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:13:42 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.95.196 วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:28:20 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแว่น วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:06:34 น. |
|
|
|
โดย: mutcha_nu วันที่: 13 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:31:28 น. |
|
|
|
โดย: มินทิวา วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:5:58:10 น. |
|
|
|
โดย: Why England วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:6:04:55 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.97.30 วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:55:20 น. |
|
|
|
โดย: Fullgold วันที่: 14 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:29:03 น. |
|
|
|
โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:39:40 น. |
|
|
|
โดย: nathanon วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:7:49:58 น. |
|
|
|
โดย: Jolisa วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:12:03 น. |
|
|
|
โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:30:59 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแว่น วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:11:52:25 น. |
|
|
|
โดย: กลีบดอกโมก วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:28:11 น. |
|
|
|
โดย: bite25 วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:13:58:37 น. |
|
|
|
โดย: อันต้า วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:15:10:47 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.220.213 วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:41:08 น. |
|
|
|
โดย: Fullgold วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:04:18 น. |
|
|
|
โดย: อนันต์ครับ วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:41:54 น. |
|
|
|
โดย: คนชุมแสง วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:1:41:30 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]

|
ความตั้งใจในการทำบล็อกเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เริ่มต้นด้วยการเขียนถึงถิ่นที่อยู่ในวัยเด็ก ต่อมาเป็นเรื่องเครื่องหมายต่างๆ เรื่องศิลปะ ภาพถ่ายในยุคก่อนๆ อาหารการกิน และอะไรต่อมิอะไรที่ประสบพบเห็น สนใจอะไรขึ้นมาก็อยากรู้ให้มากขึ้น กลุ่มเนื้อหาจึงแตกแขนงไปเรื่อยๆ
|
|
|
|
|
|
|
|