กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
28 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามสากล



170ความงามสากล

  ข้อพึงพิจารณาต่อไป ก็คือ ความงามของธรรมในลักษณะต่างๆ ดังกล่าว เป็นจิตวิสัย หรือ วัตถุวิสัย   พระพุทธศาสนาแสดงว่า  "ธรรมหรือความจริงมีความเป็นหนึ่ง ไม่มีสอง ผู้รู้ความจริง ย่อมไม่วิวาทกันเรื่องความจริงที่รู้นั้น เพราะรู้ตรงกันเหมือนกัน ผู้ที่กล่าวถึงความจริงต่างกัน วิวาทกันเรื่องความจริง ก็เพราะไม่รู้ แต่ต่างกล่าวถึงความจริงนั้นไปตามความนึกคิดของตนเอง" (ขุ.ม.29/553-555/352-3)   ในอีกพระสูตรหนึ่ง   ก็กล่าวถึงการรู้ความจริงไว้นัยเดียวกันว่า "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ตรัสรู้ความจริง คือ อริยสัจสี่เหมือนกัน" (สํ.ม.19/1704/543)

   คำว่า "ความจริงเป็นหนึ่ง" นั้นก็หมายความว่า มีคุณภาพเดียว มีคุณสมบัติเดียว ฉะนั้น ผู้ที่รู้ความจริงแต่ละเรื่องแต่ละอย่างจึงรู้คุณภาพ คุณสมบัติของความจริงนั้นๆ ตรงกันเหมือนกัน ผู้ที่รู้ความจริงนั้นๆ ด้วยกัน  จึงไม่วิวาทกันในเรื่องนั้น  ข้อนี้  แสดงให้เห็นว่า คุณภาพ หรือ คุณสมบัติของความจริงนั้นๆ เป็นวัตถุวิสัย คือ มีอยู่เป็นอยู่ตามสภาพ หรือตามธรรมชาติของมันเอง ดังที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า  "ยถาภูตํ"  มิใช่สิ่งที่มนุษย์คิดเอาเอง หรือคิดขึ้นเอง  ทั้งการรู้ความจริงนั้นๆ ตามหลักของพระพุทธศาสนา ก็มิใช่เป็นการรู้แบบความรู้สึก หรือ รู้ด้วยการคิดเอา (อตกฺกาวจโร) แต่เป็นการรู้ด้วยการเห็น คือ เห็นด้วยญาณ หรือเห็นด้วยจิตที่บริสุทธิ์สะอาด ที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ ฉะนั้น คุณภาพ คุณสมบัติของธรรมหรือความจริง จึงเป็นสิ่งที่รู้ด้วยจิตหรือเห็นด้วยญาณ ดังที่พระพุทธศาสนาใช้คำว่า ทิฏฺฐธมฺโม ปตฺตธมฺโม วิทิตธมฺโม ซึ่งมีความหมายว่า เห็นธรรม ถึงธรรม รู้ธรรม (วินย.มหา. 4/18/23)

   คุณภาพ หรือคุณสมบัติของธรรม คือ อะไร ? พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพรหมยาจนกถาว่า "ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก สงบ ประณีต ไม่อาจคิดเอาได้ ละเอียดอ่อน บัณฑิตเท่านั้น จึงรู้ได้(วินย.มหา.4/7/8)   คุณภาพ หรือคุณสมบัติของธรรมทั้ง ๘ ข้อนี้ จัดได้เป็น ๒ กลุ่มและมีความเกี่ยวโยงกัน คือ (๑) เพราะเป็นสิ่งลึกซึ้ง สงบ ประณีต ละเอียดอ่อน (๒) จึงเห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ไม่อาจคิดเอาได้ บัณฑิตคือผู้มีญาณหยั่งรู้เท่านั้นจึงรู้ได้ นัยในพระพุทธพจน์นี้ ก็สอดคล้องกับพระพุทธจน์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น


   จากคุณภาพหรือคุณสมบัติเหล่านี้เอง ที่ได้ปรากฏออกมาเป็นลักษณะ คือ ความงามของธรรมในระดับต่างๆ ดังที่ได้เรียกว่า อาทิกัลยาณะ มัชเฌนกัลยาณะ ปริโยสานกัลยาณะ และนัยเดียวกัน ผู้รู้ธรรมนั้นไม่ว่าจะเป็นใคร ย่อมมีพฤติกรรมที่เป็นการแสดงออกซึ่งคุณภาพหรือคุณสมบัติของธรรมให้ปรากฏเหมือนกันตรงกัน  ดังพระพุทธพจนที่ทรงเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า "ผ้ากาสีใหม่ก็ดี  กลางเก่ากลางใหม่ก็ดี  เก่าแล้วก็ดี ก็มีสีสวย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี มีศีล มีธรรมอันงาม ความมีศีล มีธรรมอันงามนั้น เรียกว่า ความมีสีสวย ของภิกษุนั้น เช่นกับผ้ากาสีมีสีสวยฉะนั้น" (องฺ.ติก.20/539/319) ความหมายของพระพุทธพจน์นี้ ก็คือ ภิกษุผู้ทรงศีลทรงธรรมนั้นไม่ว่าหนุ่มหรือแก่   ย่อมงาม   บางครั้ง   พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ตรงๆ ว่า  "ผู้บวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว มีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติสม่ำเสมอต่ออุปัชฌาย์อาจารย์ หรือ ผู้อยู่ในปูนอุปัชฌาย์อาจารย์ ชื่อว่างามในธรรมวินัยนี้"  (วินย.มหา.5/8/17)

   นอกจากนี้ พระพุทธศาสนายังแสดงว่า ความงามของธรรมนอกจากจะทำให้คนผู้ทรงศีลทรงธรรมเป็นคนที่งามแล้ว ความงามของธรรมยังทำให้ธรรมชาติ หรือ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกลายเป็นสิ่งที่งามด้วย ดังพระพจน์ในมหาโคสิงคสาลสูตรว่า "โคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุผู้ตั้งปณิธานเจริญสมาธิจนกว่าจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง" (ม.มู.12/382/409) และในสักกสังยุตต์ก็กล่าวว่า "พระอรหันต์อยู่ในที่ใด ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอน ที่นั้น ย่อมร่มรื่นสวยงาม" (สํ.ส.15/921/341)

   ในประเด็นความงามของธรรมนี้ สรุปได้ว่าพระพุทธศาสนาถือว่า  ธรรมหรือความจริงเป็นหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า เป็นสิ่งที่มีคุณภาพ หรือ คุณสมบัติเป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้น ผู้ที่รู้จริงในเรื่องใด ย่อมรู้ตรงกัน และย่อมไม่ทะเลาะกันในเรื่องที่รู้นั้น ทั้งนี้ เพราะความจริงและคุณสมบัติของความจริง เป็นสิ่งมีอยู่อย่างวัตถุวิสัย ที่เรียกว่า "ยถาภูตะ"

 


Create Date : 28 พฤษภาคม 2565
Last Update : 28 พฤษภาคม 2565 19:22:46 น. 0 comments
Counter : 252 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space