กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
26 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ความงามของธรรม(จบ)



   พระพุทธพจน์ และคำอธิบายในอรรถกถาทั้งหมดดังกล่าวมา สรุปได้ว่า พระพุทธศาสนาถือว่า ธรรมหรือความจริงนั้น มีลักษณะคืองาม และความงามของธรรมนั้น มองหรือกล่าวได้ในหลายมิติ และหลายระดับ กล่าวคือ

   - ในมิติแห่งเนื้อหา ก็งามด้วยหลักธรรมคำสอน เช่น เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์ คือ ถูกต้องครบถ้วนทั้งอรรถ (ความหมาย) และพยัญชนะ (ข้อความ - ถ้อยคำ)

   - ในมิติแห่งการปฏิบัติ   ก็งามด้วยลำดับ หรือขั้นตอนของการปฏิบัติ คือ เริ่มแต่ศีล การพัฒนาพฤติกรรมทางกายวาจา   สมาธิ    การพัฒนาพฤติกรรมทางจิต  และปัญญา   การพัฒนาศักยภาพทางปัญญา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาจากง่ายไปหายาก จากหยาบไปหาละเอียด จากภายนอกไปสู่ภายในตามลำดับอย่างมีความสัมพันธ์กันทุกขั้นตอน

  - ในมิติแห่งผลของการปฏิบัติ   ก็งามด้วยผลในทุกขั้นตอน คือ ผลขั้นต้นทำให้ข่ม หรือระงับกิเลสได้ชั่วคราว ผลขั้นกลาง ได้รับความสุขจากความสงบอันเกิดจากสมถะ และวิปัสสนา ผลขั้นสูงสุด คือ ความเป็นผู้คงที่อันเป็นผลจากการบรรลุนิพพาน

   - ในมิติแห่งคุณค่าต่อชีวิต ก็งามในทุกด้าน คือ ด้านเป็นที่พึ่งของชีวิต ด้านให้ประโยชน์ต่อชีวิต ด้านชี้แนะหรือแสดงหน้าที่ วิธีการอันถูกต้องบริบูรณ์แก่ชีวิต ซึ่งกล่าวโดยรวมก็คือ ให้ความอนุเคราะห์ (อนุกัมปะ) ให้ประโยชน์ (อัตถะ) ให้ความเกื้อกูล (หิตะ) ให้ความสุข (สุขะ) ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์

   - ในมิติแห่งระดับ   ธรรมก็มีความงามเป็น ๓ ระดับ คือ งามระดับต้น งามระดับกลาง งามระดับสูงสุด ซึ่งมีความหมายว่า งามเหมือนกันแต่มากน้อยต่างกัน หรือลดหลั่นกันไปตามลำดับ


   กล่าวโดยสรุปว่า พระพุทธศาสนาถือว่าธรรม เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น เป็นสิ่งที่เป็นที่พึ่ง ให้ประโยชน์ และให้หน้าที่หรือให้วิธีการที่ถูกต้องบริบูรณ์แก่มนุษย์และเทวดา และจากที่พึ่ง ประโยชน์และหน้าที่นี้เองที่ก่อให้เกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติ คือ ข่มกิเลสได้ ก่อให้เกิดสุข และทำให้พ้นทุกข์ (คือนิพพาน) ในที่สุด และทุกลักษณะ หรือทุกขั้นตอนของธรรมดังกล่าวนี้เอง ถือว่าเป็นความงามของธรรม

   ความงามของธรรม ตามนัยดังกล่าวมา จึงมิใช่งามเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือ ตอนใดตอนหนึ่ง แต่งามครบถ้วนทุกส่วนหรือทั้งกระบวนการ  ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า งามทั้งในหลักการ วิธีการ การปฏิบัติ และผลที่ตามมา

   แต่ในบางครั้ง   พระพุทธองค์ก็ตรัสถึงความงามของธรรมโดยไม่แยกประเด็น คือ ตรัสในภาพรวม ดังพระพุทธพจน์ในสุคตสูตรว่า   "เมื่อพระสุคตก็ดี สุคตวินัย  (คือ คำสอนทั้งระบบของพระพุทธองค์) ก็ดี  ยังประดิษฐานอยู่ในโลก นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขแก่คนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกุล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย" (อํ.จตุ.21/160/197) ในพระพุทธพจน์ดังกล่าวนี้ ดูเหมือนจะทรงเน้นว่าคุณค่าของธรรมที่มีต่อชีวิตคือ ความอนุเคราะห์ ความมีประโยชน์ ความเกื้อกูล และความสุขนั้นเอง คือ ความงามของธรรม

   ในบางพระสูตร พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงความงามของธรรมโดยทรงชี้ไปที่พฤติกรรมที่แสดงออกมาให้ปรากฏของคน  ดังพุทธพจน์ในนวสูตรที่ว่า "ภิกษุนวกะ ก็ดี ภิกษุมัชฌิมก็ดี ภิกษุเถระ ก็ดี หากเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว เรากล่าวความทุศีลความมีธรรมอันเลวของภิกษุนี้ว่า เป็นความมีสีไม่สวย เหมือนผ้าเปลือกไม้ที่มีสีไม่สวย ฉันนั้นนั่นแหละ  ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี  ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี  เรากล่าวความมีศีล  มีศีลธรรมอันดีของภิกษุนี้ว่าเป็นความมีสีสวยของภิกษุเหมือนผ้ากาสีที่มีสีสวย ฉะนั้น"  (องฺ.ติก.20/539/318-9)

   ตามนัยของพระพุทธพจน์ข้างต้นนี้ ดูเหมือนจะทรงแสดงความงามของธรรมโดยทรงชี้ไปที่คุณภาพของธรรมที่แสดงออกทางพฤติกรรมของคนคือภิกษุ โดยทรงเปรียบเทียบกับความงามหรือไม่งามของผ้าเปลือกไม้กับผ้ากาสี


 


Create Date : 26 พฤษภาคม 2565
Last Update : 26 พฤษภาคม 2565 17:57:46 น. 0 comments
Counter : 221 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space