กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2565
space
space
space

หลักความดี(ต่อ)


   พระพุทธศาสนาถือว่า ความชั่วทั้งปวงนั้นมาจากรากเหง้าที่สำคัญ ๓ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งรวมเรียกว่า อกุศลมูล ไม่ว่าจะเป็นความชั่วขั้นหยาบ ขั้นกลาง หรือ ขั้นละเอียด ก็ล้วนเนื่องมาจากกิเลสที่สำคัญ ๓ ตัวนี้ทั้งนั้น ฉะนั้น ศีลธรรม คุณธรรมทั้งปวง ซึ่งเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือละกิเลสหรือความชั่ว  กล่าวโดยสรุปก็คือเพื่อละ โลภะ โทสะ โมหะ นั้นเอง กล่าวคือ

   ธรรมขั้นศีล    เป็นเครื่องมือสำหรับละโลภะ โทสะ โมหะ ขั้นหยาบ ที่ล้นออกมาเป็นพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา

   ธรรมขั้นสมาธิ    เป็นเครื่องมือสำหรับละโลภะ โทสะ โมหะ ขั้นปานกลาง ซึ่งเป็นสิ่งคอยรบกวนจิตใจให้วุ่นวาย ยุ่งเหยิงอยู่ตลอดเวลา

   ธรรมขั้นปัญญา   เป็นเครื่องมือสำหรับละโลภะ โทสะ โมหะ ขั้นละเอียด ซึ่งตามปกติดูเหมือนจะไม่มี แต่มันมีอยู่ในส่วนลึกของจิตใจต้องใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบจึงจะมองเห็นและกำจัดมันได้

   ถ้ากล่าวโดยหลักใหญ่แล้ว   พระพุทธศาสนาแสดงหลักความดี หรือหลักศีลธรรมไว้ ๒ ระดับ คือ ศีลธรรมระดับทั่วไป กับ ศีลธรรมระดับสูง ศีลธรรมระดับทั่วไปก็เพื่อผลดีหรือความดีระดับพื้นๆ หรือ ความดีสำหรับคนทั่วไปจะพึงมี  ส่วนศีลธรรมระดับสูงก็เพื่อผลดีหรือความดีระดับสูงอันเป็นเป้าหมายสูงสุดทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคนบางคนหรือคนที่มุ่งหวังผลขั้นสูงสุดของชีวิตเท่านั้นจึงจะทำได้


   ศีลธรรมระดับทั่วไป ก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติทางกาย ๓ ทางวาจา ๔ และทางใน ๓ ดังนี้

๑.ไม่ฆ่าสัตว์   (มนุษย์)
๒.ไม่ลักทรัพย์
๓.ไม่ประพฤติผิดทางกาม   (กายสุจริต)   ศีล
๔.ไม่พูดเท็จ
๕.ไม่พูดส่อเสียด
๖.ไม่พูดคำหยาบ
๗.ไม่พูดเพ้อเจ้อ  (วจีสุจริต)          ศีล
๘.ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น
๙.ไม่พยาบาท
๑๐.มีความเห็นชอบ   (มโนสุจริต)     ธรรม.   ทั้งหมด = ศีลธรรม

 
  ศีลธรรมขั้นสูง ก็คือ อริยมรรค มีองค์ ๘ ซึ่งประกอบด้วยข้อทั้งที่เป็นศีล และเป็นธรรมเช่นกัน คือ
๑.มีความเห็นชอบ
๒.มีความคิดชอบ     ปัญญา   (ธรรม)
๓.พูดชอบ
๔.ทำการงานชอบ
๕.เลี้ยงชีพชอบ     ศีล   (วจีสุจริต+กายสุจริต)
๖.เพียรชอบ
๗.ระลึกชอบ
๘.ตั้งใจไว้ชอบ      สมาธิ   (ธรรม)   ทั้งหมด = ศีลธรรม

   จะเห็นได้ว่าหลักความดีระดับทั่วไปนั้น ประกอบด้วยหลักธรรมทั้งที่เป็นขั้นศีล และขั้นธรรม และมีขอบเขตของการปฏิบัติครอบคลุมทั้งเรื่องของกาย วาจา และใจ

   หลักความดีระดับสูงก็เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยหลักปฏิบัติทั้งขั้นศีล และขั้นธรรม และหากพิจารณาดูก็จะพบว่า หลักความดีหรือหลักศีลธรรมระดับสูงนั้น ก็รวมไว้ซึ่งหลักศีลธรรมระดับทั่วไปทั้งหมดด้วย พร้อมทั้งมีหลักธรรมที่ละเอียดอ่อนอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะเป็นหลักปฏิบัติเพื่อผลที่ละเอียดอ่อนหรือผลดีขั้นสูงสุด แต่ในภาพรวมก็คงเป็นเรื่องของศีลและธรรมอยู่นั่นเอง

   เพราะฉะนั้น  หลักความดีในพุทธศาสนาแม้ว่าจะมีระดับต่างกัน มีข้อปฏิบัติมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ก็มีลักษณะร่วมคือ เป็นเรื่องของศีลธรรมสำหรับควบคุมและพัฒนากายและใจเหมือนกัน และมีวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเป็นอันเดียวกัน คือ เพื่อลดละกิเลสหรือแก้ปัญหาของชีวิตเหมือนกัน

 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2565
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 18:31:32 น. 0 comments
Counter : 143 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space