Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2561
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
13 มิถุนายน 2561
 
All Blogs
 
”˜อวัยวะที่สำคัญมากๆของมนุษย์และสัตว์♂♀ สมอง



วันนี้อ่านข่าว ด้านวิทยาศาสตร์ เกียวกับเรื่องสมอง.. ใน นสพ มติชน  ลงไว้น่าสนใจมากๆ... เลยนำมาลงบล็อก...ทั้งที่ยังไม่คิดจะอัพบล็อก...ใหม่..ก็มาคิดๆรู้สึกว่าเสียดายหากจะข้ามเรื่องนี้ไป....

สมอง...ขอบคุณภาพ วิกิพีเดีย

สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย

สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

❉1.ระบบประสาทส่วนกลาง

1.1.สมอง (Brain)บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

❉สมองส่วนหน้าผาก (Forebrain)

มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้

    ❖ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) - อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
    ❖ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้

        1.Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
        2.Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
        3.Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
        4.Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส


 ❖ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
  ❖  ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

❖สมองส่วนกลาง (Midbrain)

เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

❖สมองส่วนท้าย (Hindbrain)

ประกอบด้วย

   ❖ พอนส์ (Pons) - อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
   ❖ เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
    ❖ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

มนุษย์มี "สมองที่2" ทำงานเป็นอิสระในลำไส้

มนุษย์มี "สมองที่2" ทำงานเป็นอิสระในลำไส้

ทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการทดลองทางประสาทสรีรวิทยาวิสเซอรัล ในสังกัดวิทยาลัยการแพทย์และสาธารณสุข ของมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส เซาธ์ ออสเตรเลีย ในประเทศออสเตรเลีย ภายใต้การนำของศาสตราจารย์นิค สเปนเซอร์ นักวิชาการด้านประสาทสรีรวิทยา ประสบความสำเร็จในการสังเกตการณ์รูปแบบการทำงานของกระแสประสาทที่เกิดขึ้นภายในช่องท้องของคนเราได้เป็นครั้งแรก โดยอาศัยเทคนิคใหม่ในการสร้างภาพกระแสประสาท ผสมผสานกับระบบการบันทึกกระแสไฟในร่างกาย หรือ “อิเล็กโทรฟิสิโอโลจี เรคคอร์ด” ที่สามารถจับกระแสไฟในกล้ามเนื้อเรียบของคนเราได้

ระบบประสาทที่แยกเป็นอิสระจากการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง (ซีเอ็นเอส) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายคนเราทั้งหมดร่วมกับประสาทไขสันหลังดังกล่าวนั้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานไว้นานแล้วว่ามีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนรวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆด้วย หลังจากตรวจพบระบบประสาทอิสระที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ระบบประสาทของลำไส้” หรือ “อีเอ็นเอส” ในหนู อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยของศาสตราจารย์สเปนเซอร์ ถือเป็นทีมแรกที่ตรวจพบรูปแบบการทำงานของระบบดังกล่าวได้สำเร็จ

“อีเอ็นเอส” ถูกเรียกว่าเป็น “สมองที่ 2” เนื่องจากมันทำงานแยกเป็นอิสระจากซีเอ็นเอสและกระดูกไขสันหลัง โดยสเปนเซอร์ยืนยันว่าจะเรียกได้ว่าลำไส้มีสมองเป็นของตัวเองก็ว่าได้ และถือเป็นอวัยวะภายในชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่สามารถทำงานเป็นอิสระจากระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมองที่อยู่ในหัวของคนเรา

ผลการศึกษาของสเปนเซอร์และทีมงานพบว่าในระบบทางเดินอาหารทั้งหมดของเรามีเซลล์ประสาทอยู่มหาศาลรวมแล้วหลายล้านเซลล์ ทำงานร่วมกันเหมือนตาข่ายระบบประสาทในการควบคุมความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารทั้งหมด และติดต่อสื่อสารกับประสาทส่วนกลาง แต่ทำงานเป็นอิสระ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการสั่งการของระบบประสาทส่วนกลางแต่อย่างใด

เซลล์ประสาทเหล่านี้ทำงานร่วมกันโดยยิงกระแสประสาทประสานงานกันเพื่อทำให้กล้ามเนื้อของลำไส้หดตัว บีบไล่ของเสียหรือส่วนที่เป็นกากอาหารออกจากระบบ กลายเป็นอุจจาระนั่นเอง

สเปนเซอร์ระบุว่า ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครมีข้อมูลมาก่อนว่าเซลล์ประสาทของ “สมองที่ 2” ของคนเราดังกล่าวนี้มีจำนวนมากน้อยเพียงใด และทำงานร่วมกันอย่างไรในการขับของเสียออกจากระบบย่อยอาหาร การวิจัยครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้นศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนี้ ซึ่งในที่สุดสามารถนำไปสู่การเยียวยาปัญหาอย่างเช่นอาการท้องผูก หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติในช่องท้องได้

สเปนเซอร์เชื่อว่า หากเราสามารถทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่า “สมองที่ 2” ของเราทำงานอย่างไร ก็อาจส่งผลให้เกิดแนวทางใหม่ในการรักษาอาการของโรคอย่างภาวะหดหู่ซึมเศร้า หรือกระวนกระวายได้

ทั้งนี้ แม้ว่า “สมองที่ 2” จะไม่ได้ “คิด” ในแบบเดียวกับที่ระบบประสาทส่วนกลางหรือสมองของคนเราคิด แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าสุขภาวะในช่องท้อง ส่งอิทธิพลถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนเราสูงมาก

ถึงระดับที่นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่า สมองกับสมองที่ 2 อันไหนมีอิทธิพลต่ออารมณ์ความรู้สึกมากกว่ากัน

ศาสตราจารย์สเปนเซอร์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าในแง่ของวิวัฒนาการนั้น อีเอ็นเอสถือว่าวิวัฒนาการมาก่อนซีเอ็นเอส และน่าจะถูกเรียกว่าสมองที่ 1 แทนที่จะเป็นสมองที่ 2 ด้วยซ้ำไป
*
*
ขอบคุณ บทความจาก นสพ มติชน


ของแต่งบล็อก// ภาพดุ๊กดิ๊ก ญามี่  // ชมพร // ไลน์ใหม่     ญามี่   // กรอบ   // สีที่ใช้ในบล็อก 







Create Date : 13 มิถุนายน 2561
Last Update : 14 มิถุนายน 2561 3:12:03 น. 0 comments
Counter : 1236 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณตุ๊กจ้ะ, คุณอุ้มสี, คุณยังไงก็ได้ว่ามาเลย, คุณmcayenne94, คุณmoresaw, คุณkae+aoe, คุณสองแผ่นดิน, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณThe Kop Civil, คุณtanjira, คุณเนินน้ำ, คุณJinnyTent, คุณtoor36, คุณschnuggy, คุณmambymam, คุณSweet_pills, คุณเรียวรุ้ง, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณmariabamboo, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณRinsa Yoyolive, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณnewyorknurse


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.