Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 
8 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ .. สิ่งที่ไม่ทรงนำมาสอน มีมากยิ่งกว่ามากนัก

.





ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ที่ สีสปาวัน ใกล้กรุงโกสัมพี. ทรงกำใบสีสปาขึ้นหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสถามหมู่ภิกษุว่า ใบสีสปาที่ทรงกำนี้ กับ ที่อยู่บนป่าโน้น, ไหนจะมากกว่ากัน.

เมื่อภิกษุกราบทูลว่า ที่อยู่บนป่าโน้นมากกว่ามากแล้ว จึงตรัสว่า :-

ภิกษุ ท. !
ฉันใดก็ฉันนั้น, สิ่งที่ยังอยู่มากกว่ามาก ก็คือสิ่งที่เรารู้ยิ่งแล้ว แต่ไม่นำมาสอนพวกเธอทั้งหลาย.

เพราะเหตุไรเราจึงไม่สอนสิ่งนั้นแก่พวกเธอเล่า ?

เพราะว่าสิ่ง ๆ นั้น ..
- ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
- ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
- ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน;

เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่สอนสิ่งนั้น แก่พวกเธอทั้งหลาย.
.
.
.
มหาวาร. สํ ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒.


หมายเหตุ จขบ.

ประเด็นนี้เองที่เป็นประเด็นของสิ่งที่รู้ด้วยตนไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ .. หากเอามาบอกมากล่าวแก่ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติแล้วก็จะฟั่นเฝือ เชื่องมงาย และฟุ้งซ่าน กันไปอย่างไม่มีประโยชน์ต่อการดับทุกข์ในจิต ..

ประการหนึ่ง เรื่องของการรับรู้ที่เกินไปกว่าอายตนะ6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) จะสามารถสัมผัสกระทบได้โดยตรง

ประการหนึ่ง เรื่องของอำนาจจิต - เจโตวิมุติ

ประการหนึ่ง เรื่องการอุบัติหรือจุติของสัตว์

ประการหนึ่ง เรื่องโอกาสโลก (แผ่นดิน แผ่นฟ้า แผ่นน้ำ ดวงดาว)

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากสำหรับชนส่วนใหญ่ที่จะรู้ จะเข้าใจได้ หากเอามาพูดบอกต่อ ก็มองไม่เห็น จินตนาการไม่ได้ ก็จะกลายเป็นภาวะของความเชื่องมงาย .. คือ เชื่อตามคำที่มีผู้มาบอกแต่ไม่สามารถเข้าใจหรือรับรู้หรือสัมผัสภาวะที่ได้ฟังนั้นได้เลย

เป็นต้นว่า ผู้ฝึกจิตด้วยความหักโหมในระดับ "ทุกรกิริยา" อย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะกระทำเมื่อออกแสวงหาหนทางพ้นทุกข์หลังจากอำลาสำนักอุทกดาบสแล้วนั้น .. สามารถมีผลพลอยได้เป็นฤทธิ์ทางใจได้ เช่น อภิญญา 6

อภิญญา, อภิญญาณ [อะพินยา, อะพินยาน] น. (ป.; ส. อภิชฺญา, อภิชฺญาน). ''ความรู้ยิ่ง'' ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ
๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกําหนดใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้
๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทําอาสวะให้สิ้นไป.

ข้อ ๑ ถึง ๕ เป็นเรื่องทางโลก .. โลกียญาณ
ข้อ ๖ ถึงจะนับเป็นอริยะญาณ

และ โลกียญาณ นั่นเองเป็นที่มาของ อวดอุตริมนุสสธรรม .. เป็นข้ออ้างในการหลอกลวง"คนโง่เขลา" ให้เชื่อใน "คุณวิเศษที่ไม่มีในตน"

เพราะมันพิสูจน์ไม่ได้ .. รู้ไม่ได้ .. ว่าใครมีหรือไม่มี .. เพราะคนรับฟังนั้นไม่มีคุณสมบัตินั้น

ทำนองเดียวกับเรื่องการ จุติ อุบัติ ของสัตว์ ที่คนที่ไม่มีคุณวิเศษในตนย่อมไม่อาจรู้ได้เลย ไม่มีทาง .. จึงได้แต่จำเขามาพูดต่อ และฟุ้งกันน้ำลายแตกฟอง .. แล้วจิตนั้นๆก็ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นในเชิงปัญญา

.
.

เพียงแต่ลูกชาวบ้านบวชเรียนทั้งหลาย ที่มีโอกาสศึกษาร่ำเรียนตามคำของพระพุทธองค์ในพระไตรปิฎกแล้วอาจมีผลพลอยได้เป็นบางเรื่องในคุณวิเศษนั้น เข้าใจเรื่องระดับการรับรู้ที่ต่างกันไม่ได้ .. การที่จะยอมอดกลั้นโดยไม่"อวดแสดง"ออกมาบ้าง เพื่อเรียกศรัทธานั้น ทำได้ยากนัก

ฉันใดฉันนั้นกับ คนที่เคยยากจน .. เมื่อวันหนึ่งต่อมาทำมาหากินร่ำรวย มีเงินใช้จ่าย แล้วย่อมอดไม่ได้ที่จะ"อวดรวย" ออกมาผ่านการครอบครองวัตถุธรรมเช่นบ้าน รถยนต์ เช่นไร .. ก็เช่นเดียวกันสำหรับเรื่องทางจิต

นั่นคือทางผู้พูด ..

ส่วนทางด้านผู้ฟัง ..
ในเรื่องระดับการรับรู้ ให้ลองนึกถึง การที่มีเส้นตรงเส้นหนึ่ง .. ที่เราสามารถหาจุดกึ่งกลางของเส้นนั้นๆได้ไม่ยากโดยการวัดความยาวแล้ว หาร2 .. แล้วใช้จุดกึ่งกลางนั้นเป็นจุดหมุน จากมุม 0 องศา จนถึง 180 องศา .. เราย่อมได้พื้นที่การหมุนเป็นวงกลม

การหาพื้นที่วงกลม จึงเกี่ยวข้องกับ กึ่งกลางของเส้นตรงคือ รัศมี และการหมุนของรัศมีนั้นจะได้พื้นที่วงกลมขึ้นมา .. จึงได้สูตรสำเร้จมาให้เด็กไทย"ท่องจำ"ว่า
สูตรการหาพื้นที่วงกลม = พาย x รัศมี2

และ หากเอาพื้นที่วงกลมนี้มาหมุนอีก 180 องศา โดยใช้แกนกลางเป็นจุดหมุนจะได้เป็น ปริมาตรทรงกลม คือ ลูกโลก ลูกบอล
สูตรการหาปริมาตรทรงกลม = 4/3 x พาย x รัศมี3

เมื่อ พาย = 22/7 = 3.14159

หากเอาเรื่องนี้มาพูดให้นักเรียนมัธยมปลายโปรแกรมวิทย์-คณิต ที่เรียนเรื่อง integration มาแล้วฟัง .. ย่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก จริงไหม

แต่หากเอาไปอธิบายให้ ตาสีตาสา ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ รับฟัง .. จะเข้าใจไหม ?
.
.
.
ดังนั้น แม้จนผู้มีคุณวิเศษดังว่าในตนจริง .. ย่อมไม่ควรพูด กล่าวให้ผู้ที่ไม่มีคุณวิเศษเหมือนตน ได้ยินได้ฟัง เพราะเหตุว่า ..

- ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
- ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์
- ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ ความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน;

ดังนี้แล




 

Create Date : 08 กุมภาพันธ์ 2556
3 comments
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2556 15:44:59 น.
Counter : 1178 Pageviews.

 

มิใช่ท่านมิได้ทรงสอน แต่ท่านสอนตามระดับสติปัญญาของแต่ละบุคคล สอนเรื่องเดียวกันแต่การนำเสนอต่างกันต่างหาก

เสียงเขาว่ากันพรรณนั้น

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 8 กุมภาพันธ์ 2556 8:08:43 น.  

 

สวัสดีครับ
เรื่องบางเรื่องรู้แล้วไม่ได้ประโยชน์ ไม่รู้ก็ได้

 

โดย: จิรโรจน์ 8 กุมภาพันธ์ 2556 8:26:52 น.  

 

แวะเข้ามารับชม และเก็บไปประดับสติปัญญาเพื่อพิจารณาค่ะ
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ณ ปลายฉัตร 8 กุมภาพันธ์ 2556 13:18:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.