กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
11 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ศรัทธาเริ่มต้นให้แล้วไปจบที่ปัญญา



ตัดมาจากหัวข้อใหญ่


227ความสำคัญของศรัทธาในระบบของพุทธธรรม ดังนี้

    ๑. ศรัทธาเป็นเพียงขั้นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญา  และกล่าวได้ว่าเป็นขั้นต้นที่สุด

    ๒. ศรัทธาที่ประสงค์ ต้องเป็นความเชื่อความซาบซึ้งที่เนื่องด้วยเหตุผล คือมีปัญญารองรับ และเป็นทางสืบทอดส่งต่อแก่ปัญญาได้ มิใช่เพียงความรู้สึกมอบตัวมอบความไว้วางใจให้สิ้นเชิง โดยไม่ต้องถามหาเหตุผล อันเป็นลักษณะทางฝ่ายอาเวค (emotion) ด้านเดียว

    ๓. ศรัทธาที่เป็นความรู้สึกฝ่ายอาเวคด้านเดียว ถือว่าเป็นความเชื่อที่งมงาย เป็นสิ่งที่จะต้องละเสีย หรือแก้ไขให้ถูกต้อง ส่วนความรู้สึกฝ่ายอาเวคที่เนื่องอยู่กับศรัทธาแบบที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่นำมาใช้ในกระบวนการปฏิบัติธรรมให้เป็นประโยชน์ได้มากพอสมควรในระยะต้นๆ แต่จะถูกปัญญาเข้าแทนที่โดยสิ้นเชิงในที่สุด

    ๔. ศรัทธาที่มุ่งหมายในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้น อาจให้ความหมายสั้นๆว่า เป็นความซาบซึ้งด้วยมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนมองเห็น คือมั่นใจตนเอง โดยเหตุผลว่า จุดหมายที่อยู่เบื้องหน้านั้นเป็นไปได้จริงแท้ และมีค่าควรแก่การที่ตนจะดำเนินไปให้ถึง เป็นศรัทธาที่เร้าใจให้อยากพิสูจน์ความจริงของเหตุผลที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้านั้นต่อๆยิ่งๆขึ้นไป เป็นบันไดขั้นต้นสู่ความรู้ ตรงข้ามกับความรู้สึกมอบใจให้แบบอาเวค ซึ่งทำให้หยุดคิดหาเหตุผลต่อไป

    ๕.เพื่อควบคุมศรัทธาให้อยู่ในความหมายที่ถูกต้อง   ธรรมหมวดใดก็ตามในพุทธธรรม ถ้ามีศรัทธาที่เป็นส่วนประกอบข้อหนึ่งแล้ว จะต้องมีปัญญาเป็นอีกข้อหนึ่งด้วยเสมอไป* และตามปกติ   ศรัทธาย่อมมาเป็นข้อที่หนึ่ง    พร้อมกับที่มีปัญญาคุมเป็นข้อสุดท้าย   แต่ในกรณีที่มีปัญญา ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงศรัทธาเลย

    ดังนั้นปัญญาจึงสำคัญกว่าศรัทธา   ทั้งในฐานะเป็นตัวคุม และในฐานะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็น แม้ในแง่คุณสมบัติของบุคคล    ผู้ที่ได้รับยกย่องสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็คือผู้มีปัญญาสูงสุด เช่น พระสารีบุตรอัครสาวก เป็นต้น   ไม่ได้ถือเอาศรัทธาในศาสนาเป็นเกณฑ์


*สัมปรายิกัตถะ.   สัทธาสัมปทา   สีลสัมปทา   จาคสัมปทา  ปัญญาสัมปทา

วุฒิธรรม.    สัทธา   ศีล   สุตะ   จาคะ   ปัญญา

พละ อินทรีย์.   สัทธา   วิริยะ   สติ   สมาธิ   ปัญญา

เวสารัชชกรณธรรม.   สัทธา   ศีล   พาหุสัจจะ   วิริยารัมภะ   ปัญญา

อริยทรัยพ์.   สัทธา   ศีล   หิริ   โอตตัปปะ   พาหุสัจจะ   จาคะ   ปัญญา ฯลฯ



 


 



    ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ   ความซาบซึ้ง   ไม่ใช่ความรู้   แต่อาจเป็นทางเชื่อมไปสู่ความรู้ได้ เพราะศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง และอาศัยความรู้ของผู้อื่น หรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นำแก่ตน ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จักใช้ปัญญาของตนเป็นทุนประกอบไป   ศรัทธานั้น   ก็สามารถนำไปสู่ความเจริญปัญญา และการรู้ความจริงได้   เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้นหรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะให้รู้จักใช้ปัญญา   แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด  ไม่ใช้ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง   ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วยชี้แนะ  หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรงข้าม   นำไปสู่ความหลงผิด   ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น


   ปัญญา    แปลกันว่า    ความรอบรู้. เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถืงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริง ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการ หรือดำเนินการอย่างไรๆ แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือ ความเข้าใจ (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้) เป็นการมองทะลุสภาวะ หรือ มองทะลุปัญหา


* ปัญญา    มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

 




 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 18 มกราคม 2567 17:47:44 น.
Counter : 338 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space