กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
6 พฤษภาคม 2565
space
space
space

เจริญสมาธิตาหลัก วิริยะ จิตตะ




     ๒. วิริยะ     ความเพียร    ได้แก่   ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก   เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง  ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่าจุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมาก หรืออาจใช้เวลายาวนานเท่านั้นปี เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทาย ที่จะเอาชนะให้ได้ ทำให้สำเร็จ

   ในพุทธกาล   มีนักบวชนอกศาสนาหลายท่าน เมื่อสดับพุทธธรรมแล้วเลื่อมใส ขอบรรพชาอุปสมบท ครั้นได้รู้ว่า ผู้เคยเป็นนักบวชนอกศาสนาจะต้องประพฤติวัตรทดสอบตนเองก่อน เรียกว่าอยู่ปริวาส  (ติตถิยปริวาส เป็นเวลา ๔ เดือน ก็ไม่ท้อถอย กลับกล้าเสนอตัวประพฤติวัตรทดสอบเพิ่มเป็นเวลาถึง ๔ ปี)

   ส่วนผู้ขาดความเพียร   อยากบรรลุความสำเร็จเหมือนกัน แต่พอได้ยินว่าต้องใช้เวลานานเป็นปี ก็หมดแรง ถอยหลัง ถ้าอยู่ระหว่างปฏิบัติ ก็ฟุ้งซ่าน จิตใจวุ่นวาย ปฏิบัติได้ผลยาก

   คนที่มีความเพียร   เท่ากับมีแรงหนุน   เวลาทำงาน หรือปฏิบัติธรรมระดับใดก็ตาม จิตใจจะแน่วแน่ มั่นคง พุ่งตรงต่อจุดหมาย สมาธิก็เกิดขึ้นได้ เรียกว่า เป็นวิริยสมาธิ พร้อมทั้งมีปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์เข้าประกอบคู่ไปด้วยกัน


    ๓. จิตตะ    ความมีใจจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่   ได้แก่   ความมีจิตผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน   ถ้าจิตตะเป็นไปอย่างแรงกล้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง  คนผู้นั้นจะไม่สนใจ  ไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ใครจะพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ แต่ถ้าพูดเรื่องนั้น งานนั้น จะสนใจเป็นพิเศษทันที  บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้น ขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่สนใจ  เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน

   ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำให้สมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำ มีกำลังมาก เรียกว่า เป็นจิตตสมาธิ พร้อมนั้นก็เกิดปธานสังขาร คือความเพียรสร้างสรรค์ร่วมสนับสนุนไปด้วย

172 172 172

  เมื่อได้หลักดังนั้นแล้ว   เอาไปเทียบกับการทำงานทำการได้ทุกเรื่อง   แม้กระทั่งเรื่องการปฏิบัติธรรม  การปฏิบัติกรรมฐาน  การภาวนา  การทำสมาธิ  นั่งสมาธิ  เดินจงกรม  มีอะไรอีกก็เติมเข้าไปได้หมด  11  

พอดีได้หลักให้เทียบ 450


การจงใจกำหนดรู้ ทุกสิ่งเป็นสิ่งสำคัญ หรือสารพิษในการภาวนาครับ

เคยฟัง หลวงปู่เหรียน หรือ ท่าน ก  เขาสวนหลวง สอนภาวนา สองท่านนี้ ให้ความสำคัญกับการเพ่งกำหนดรู้มาก

ฟัง ท่านปราโมท สันตินัน ท่านสอนไปอีกเเนว  ว่าให้หลีกเรี่ยงการกำหนดรู้   เพราะเป็นการเพ่งทำให้การภาวนาเเข็งทื่อ ไม่รู้ตามจริง

https://pantip.com/topic/41413314


   นำสองความเห็นนี้ไปเทียบกับการทำงานของเราเองสักอย่าง เช่น ตอกตะปู  ยิงธนู   งานอะไรก็ได้  เราต้องกำหนดเป้าหมายต่อสิ่งที่เราทำให้ชัด จิตใจต้องแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำลังทำจนแทบจะลืมหายใจเลยทีเดียว   ถ้าทำเหยาะแหยะๆ  ลังเลใจเอาไงก็ไม่เอา   กำลังตอกตะปูอยู่เดี๋ยวก็ตอกนิ้วตอกเล็บตัวเองเล็บถอดอีก  ยิงธนูก็ออกไปนอกเป้าไปตกไหนก็ไม่รู้  ตีกอล์ฟก็ตกน้ำตกท่า   110  

ทีนี้ก็พอมองออกว่าใครพูดเข้าหลักไม่เข้าหลัก   

เทียบหลักนี่อีก

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=15-07-2021&group=1&gblog=41




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 18 มกราคม 2567 17:37:19 น.
Counter : 291 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space