กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
4 พฤษภาคม 2565
space
space
space

จิตตะ,วิมังสา



    ๓. เอาใจฝักใฝ่    คือ   คิดถึงเรื่องนั้นอยู่บ่อยๆ.   ยกตัวอย่างเหมือนกับเรารักผู้หญิงนะ  คิดถึงบ่อยๆนั่งก็คิดถึง นอนก็คิดถึง กินข้าวก็คิดถึงเธอ นั่นละฝักใฝ่ละไอ้แบบนั้น แต่ว่าฝักใฝ่แบบนั้นมันวุ่นวาย ยุ่ง มันเป็นทุกข์ ไม่เห็นหน้าเจ้ากินข้าวไม่ลงคอ เห็นหน้าเจ้ากินข้าวหมดหม้อ มันเป็นทุกข์ ทีนี้ เรามาคิดถึงเรื่องงานเรื่องการว่า เราจะทำอะไรต่อไป วางแผน เรียกว่าวางแผน สมัยนี้ เขาเรียกว่าวางแผนงานว่า เราจะไปทำอะไรต่อไป ให้งานมันก้าวหน้าต่อไป วางแผนอยู่ตลอดเวลา ใจจดใจจ่ออยู่กับเรื่องนั้น ตื่นอยู่แล้วก็ต้องคิดต้องทำ วางแผนงาน เรียกว่า เอาใจใส่

   ๔. วิมังสา    นี่หมายความว่า    หาเหตุหาผลในเรื่องนั้น   เพราะว่ามันมีอุปสรรคขัดข้อง  เราก็ต้องค้นคว้าหาเหตุผล   จะปรับปรุงงานอย่างไรให้งานก้าวหน้ากว่านี้  ให้ผลิตผลมันเพิ่มขึ้นไปกว่านี้ ให้รวดเร็วกว่านี้   ต้องคิดต้องค้นควบคู่กันไป   เรื่องคิดค้นนี่เป็นเรื่องสำคัญ  บริษัทใหญ่ๆ ที่เขาทำงานใหญ่ๆ เขาเอากำไร ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของกำไรเพื่อการค้นคว้า  ให้มีการค้นคว้าต่อไป ไม่มีการค้นคว้าแล้วมันไม่เจริญ   ต้องค้นคว้า  วิมังสา  นี่คือการค้นคว้าอะไรต่างๆ เราทำการเพาะปลูกก็ต้องมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องข้าว   เรื่องข้าวโพด  เรื่องเลี้ยงไก่  มันมีอะไรเป็นอย่างไร มันกินอะไรดี มันกินอะไรไม่ได้   มันเป็นโรคอะไร   เราควรจะรักษาอย่างไร  ตาต้องดู  หูต้องฟัง มือต้องไปจับไปต้อง เอามาตรวจมาสอบสวนมาพิจารณาว่ามันมีอะไรเป็นอย่างไร  ต้องตรวจอยู่ตลอดเวลา นี่ค้นคว้า เพราะฉะนั้น ในสำนักงานใหญ่ๆ เขามีแผนกเรียกว่า แผนกพิสูจน์ พิสูจน์เรื่องงาน ผลิตผลที่ออกมาเป็นอย่างไร เอามาพิสูจน์ดูมันมีอะไร ควรแก้ไขบ้าง มีอะไรควรปรับปรุงต่อไป นี่คือการค้นคว้า มันเป็นเหตุให้เกิดปัญญา เกิดความก้าวหน้าในหลักวิชาที่จะใช้บริหารการงานของเราต่อไป เพราะฉะนั้น  ในการปฏิบัติงานเราก็ต้องค้น  เอาใจใส่  มีอุปสรรคขึ้นอย่าไปกลัว ต้องคิดค้น มีปัญหาต้องคิดค้น  คิดคนเดียวไม่ได้  ต้องไปถามคนอื่นผู้ชำนาญการที่เขาเกี่ยวข้อง  เดี๋ยวนี้นักวิชาการมันแยะ ผู้ชำนาญเยอะ เราก็ไปปรึกษาหารือ เรื่องนี้เป็นอย่างไร ต้องค้นคว้าเรื่อยไปจึงจะได้ความรู้ และทำให้งานก้าวหน้า



   สี่ประการนี้   มันสัมพันธ์กัน คือ ต้องมีความรัก - ฉันทะ   จึงจะมีความเพียร  แล้วเอาใจใส่ ตัวสุดท้ายคือวิมังสา นี่ขาดไม่ได้  ขาดตัวสุดท้ายนี่ล้มไปเลย ห้างล้ม กิจการล้มเลย วิมังสาตัวนี้แหละสำคัญ แม้ว่าเราจะรักงาน ขยันงาน เอาใจใส่ ทำทื่อๆ ไปอย่างนั้น มันได้เรื่องอะไร ไม่ก้าวหน้า ต้องมีวิมังสาคอยกำกับเป็นตัวสุดท้าย   วิมังสานี่เหมือนกับหางเสือ   เพื่อเรือไปเอียง ไม่ล่ม ไม่จบ โต้คลื่นลมไปถึงฝั่งเรียบร้อย ขาดตัวนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ให้ถือเป็นตัวสำคัญ การไตร่ตรองค้นคว้าหาเหตุผลในเรื่องที่เราจะทำ เช่น เราค้าขายขาดทุน ต้องค้นคว้าแล้ว ทำไมจึงขาดทุน เราดำเนินการอย่างไร ผิดพลาดในเรื่องใด ซื้อมาอย่างไร การติดต่อของเราบกพร่องในเรื่องใด มันจึงได้ขาดทุนลงไป ต้องค้นคว้า

   ได้คุยกับคนคนหนึ่งเขาค้าขาย ขายอาหาร เขาบอกว่าต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอ ส่งอาหารไปโต๊ะนั้น แล้วเขาส่งกลับคืนมา ต้องตรวจสอบทันทีมันบกพร่องเรื่องใด ไม่ตรงกับคำสั่ง หรือว่าตรงแล้วแต่ว่าอาหารไม่มีรสชาติ ไม่อร่อย ต้องคิดแก้ไขปรับปรุง มีอะไรเกิดขึ้นบกพร่อง ต้องคิดปรับปรุงแก้ไข

ถ้าเราทำงานคนเดียวก็คิดคนเดียว แต่ถ้าทำงานหลายคนก็ต้องมีการประชุมกัน เช่นว่า อย่างน้อย ๗ วัน ประชุมกันเสียที เพื่อปรึกษาหารือในเรื่องงานเรื่องการว่ามีอะไรบกพร่อง มีอะไรควรแก้ไขปรับปรุงกันต่อไป นี่คือการค้นคว้า

ถ้าไม่มีการประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว ไม่รู้ว่างานไปอย่างไร มีอะไรบกพร่อง มีอะไรขาดเกินแก้ไขไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องมีตัวนี้เข้าไปใช้ในวงงานตลอดเวลา ทุกเรื่องไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องมีวิมังสา การไตร่ตรองค้นคว้าหาเหตุผลกำกับ งานนั้น จึงจะก้าวหน้าเป็นไปด้วยดี

สี่ประการนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่เป็นบันไดให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จ ให้จำไว้ให้ดีแล้วนำไปใช้ ถ้าใช้หลัก ๔ ประการนี้แล้ว งานก้าวหน้าเป็นไปด้วยดี ไม่หยุดไม่ยั้ง

 




 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2565
0 comments
Last Update : 18 มกราคม 2567 17:13:30 น.
Counter : 152 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space