1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28
บทกวีหลานถิงสวี่ ๒
ภาพจากเวบ patricksiu.wordpress.com Jay Chou 周杰倫【蘭亭序 Lan-Ting-Xu】 VIDEO เมื่อเดือนที่แล้ว คุณสายลมอิสระหลังไมค์มาชวนให้ร่วมกิจกรรมในโครงการ "ร้อยน้ำใจทอความห่วงใย สู่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้" ด้วยการทำการ์ดหรือของทำมือไปประมูล เราอยากร่วมทำบุญด้วยเลยตกปากรับคำ เลือกทำของถนัดคือเขียนพู่กันจีนนี่แหละ เขียนบทกวี "หลานถิงสวี่" ที่ชอบที่สุด หนที่แล้วทำบล๊อคบทกวีหลานถิงไป รู้สึกว่ายังไม่ดีนักเพราะไม่มีคำแปลไว้ มาหนนี้คุณ dingtech ใจดีช่วยแปลให้อย่างเพราะพริ้งเลย ขอบคุณคุณ dingtech ไว้ตรงนี้ด้วยนะคะ งวดนี้หาข้อมูลแล้วได้รู้ศัพท์ใหม่สองคำคือ "ลิปิศิลป์" หมายถึงศิลปะการเขียนพู่กันจีน ส่วนนักเขียนพู่กันจีนเรียกว่า "ลิปิกร" ดูคำแปลในพจนานุกรม "ลิปิ" หรือ "ลิปิกา" แปลว่า การเขียนหนังสือ, การวาดเขียน, ตัวหนังสือ "ลิปิกร" แปลว่า ผู้ที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือ เป็นศัพท์ใหม่ ยังไม่ค่อยคุ้น เลยใช้คำเดิมสลับกับศัพท์ใหม่เป็นระยะ ๆ บทกวีหลานถิงสวี่ ภาพจาก culturalkeys.cn ฝึกเขียนบทกวีนี้บ่อย ๆ อันนี้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดที่เขียน ภาพศาลาหลานถิง วาดในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๙ ภาพจากเวบ wikiwand.com รัชกาลหย่งเหอ ปีที่ ๙ ปีกุ๋ยโฉว่ เพลาย่างเข้าสู่ปลายฤดูวสันต์ ได้พบปะสโมสรกันที่หลานถิง เมืองซานยิน มณฑลไคว่จี เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลซี่ หมู่ปราชญ์เมธีมาถึงหมดถ้วน ทั้งผู้เยาว์ทั้งผู้อาวุโสต่างมาชุมนุมกัน จากที่ตรงนี้มีเทือกเขายอดสูงชะเงื้อมชัน ป่าอันอุดม ดงไผ่งามขจี อีกมีธารน้ำใสไหลถะถั่งเย็นสะท้าน ขับประชันความงามทั้งเบื้องซ้ายขวา เหมาะแก่การเล่นลอยจอกบนสายน้ำคดเคี้ยว นั่งเรียงตามลำดับต่อกันไป แม้จะไร้เครื่องดีดสีบรรเลง ทีละจอก ทีละจอก ก็พอใจได้เจรจาจำนรรจ์อันบานเบิกอยู่ภายใน คือทิวาวารนี้ ท้องฟ้าปลอดโปร่ง อากาศแจ่มใส ลมพัดเรียบรื่นสบาย เชิญทัศนาเวิ้งฟ้าจักรวาลอันไพศาล เมื่อมองลงมาสรรพสิ่งลดหลั่นเป็นชั้นเชิง ดังประสานตา ปลดปล่อยใจ พึงใจยามได้ยลยินแต่สิ่งสุนทรีย์ จากถ้อยคำอันสำราญเริง เพื่อนฝูงคล้อยตามกันมา พักพิงชั่วประเดี๋ยวเดียวในโลกนี้ เปิดอกเผยใจไม่ปิดงำ มีเวลาสนทนากันในห้องหับ ด้วยความวางใจเชื่อมั่น ปล่อยวางเรื่องนอกกาย ละวางเรื่องราวทั้งหลายที่มากมี ทั้งยามมีสมาธิสงบและยามวุ่นวายใจไม่สอดบรรสาน เราต่างมีโอกาสมาพบปะกันอย่างเขษมศานต์ แม้จะเป็นเวลาอันแสนสั้น ผ่านไปอย่างรวดเร็วก็เพียงพอแล้ว ลืมตัวว่าความแก่เฒ่ามาเยือน สังขารจึงอ่อนล้าแต่บัดนั้น เมื่อใจรักโลดไล่ การใดก็เปลี่ยนผัน ให้ไหวหวั่นปริวิตก กลับประสบสิ่งบันเทิงสำเริงรมย์ ขอโค้งขานรับ สำแดงสดับกถาธิบายเอง ครุ่นคำนึงอดีตที่ไม่อาจหวนทวนกลับ ตระหนักว่าชีวิตนั้นสั้นยาวเพียงไหน ถึงวาระสุดท้ายต้องจบสิ้นไป ดังคนโบราณกล่าวไว้ : "เป็นหรือตายฤาเรื่องใหญ่!" ไม่เจ็บปวดไฉนหรือ! ทุกคราที่ไตร่ตรองดู ยังให้ผู้คนในอดีตได้รู้สึก หากเห็นพ้องสอดคล้องกัน ไม่เคยเจอเคยอ่านบทความที่แสนรันทดนัก อดมิได้ที่จะทอดถอนใจ คนเราควรรู้ว่า อันความเป็นความตายนั้นคือมายาไม่มีอะไร เหมือนดั่งว่าอายุสั้นฤายาวล้วนไม่เป็นสาระ คนแต่หนหลังบุราณกาลเห็นคนในยุคปัจจุบัน เหมือนดั่งคนปัจจุบันเห็นคนในอดีต อนิจจา! พวกเราที่มาสนทนาสโมสร บันทึกจารจดไว้เพื่อกล่าวอธิบาย แม้นว่าโลกจะแตกต่างสถานการณ์จะเปลี่ยนแปรไป ด้วยเหตุว่าสิ่งเร้าอารมณ์มนุษย์ เขาสืบทอดมาเพียงแบบเดียวเช่นเดิม คนรุ่นหลังในภายภาคหน้ามาได้อ่านบันทึกบทนี้แล้ว จักเกิดความรู้สึกเช่นกัน ฉะนี้แล หมายเหตุ ๑. เทศกาลซี่ คือ เวลาที่บวงสรวงเพื่อขจัดวิญญาณชั่วร้ายในฤดูวสันต์และฤดูศารท ๒. ลอยจอกบนสายน้ำคดเคี้ยว คือเกมการละเล่นของนักปราชญ์ จอกลอยไปถึงใครก็ต้องเขียนบทกวี แล้วลอยไปต่อ ทำนองประลองปฎิภาณกวี อาณาจักรจีนแต่ครั้งโบราณกาลยกย่องผู้มีความสามารถในเชิงศิลปะอยู่ ๓ ประเภท ประเภทแรกคือ กวีแต่งโคลงกลอน กวีที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ หลี่ไป๋ (李白) ตู้ฝู่ (杜甫) ป๋อจู่อี้ ( 白居易) ซึ่งชาวจีนยกย่องให้เป็นตรีรัตนกวีเอก ทั้ง ๓ ท่านล้วนแต่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเภทที่สองคือ จิตรกร ผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยกย่องกันมากได้แก่ หวูเต้าจื่อ (吳道子) เหยียนลี่เปิ่น (閻立本) (สมัยราชวงศ์ถัง) กู้ข่ายจือ (顧愷之) (สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก) เป็นต้น ประเภทสุดท้าย คือลิปิกรเอก ผู้มีความสามารถทางการเขียนตัวอักษรดังเช่น หวางซีจือ (王羲之) ดังกล่าวไว้เบื้องต้น ก่อนหน้านั้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือเกือบสองพันปีมาแล้ว ได้มีลิปิกรเอกนาม จางจือ (张芝) ผู้ฝึกเขียนอักษรอยู่ริมสระน้ำ ฝึกฝนจนกระทั่งน้ำในสระถูกใช้ล้างพู่กันและที่ฝนหมึกกลายเป็นสีดำ หวาง ซีจือ ได้อาศัย จางจือ เป็นแรงบันดาลใจผลักดันตนเอง ฝึกลายมือริมวาปี จนชลธีเป็นหมึกดำ เฉกเช่นเดียวกัน ท่านกู้ข่ายจือ ภาพจากเวบ zh.wikipedia.org มิเพียงสองท่านที่กล่าวมาแล้ว ประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่าสองพันปีก็ยังมีลิปิกรเอกเกิดขึ้นหลายท่าน เป็นต้นว่า กู้ข่ายจือ (顾恺之) (ยุคสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้แตกฉานทั้ง ๓ ประเภทคือ โคลงกลอน จิตรกรรม ลิปิศิลป์ นอกจากนี้ยังมีปัญญาเป็นเลิศ รวมไปถึงนิสัยบ้า ๆ บ๊อง ๆ เช่นเดียวกับศิลปปินเอกในยามนี้บางท่าน ลายมือเขียนบทกวีหลานถิงสวี่อันล้ำค่านี้ได้เปลี่ยนเจ้าของไปหลายคน จนมาตกอยู่กับหลวงจีนเปี้ยนไฉ ณ เมืองหุ้ยจี พระเจ้าถังไทจงทราบข่าว (เวลานั้นประชุมกวีนิพนธ์มีอายุราว ๓๐๐ปีแล้ว) จึงรับสั่งให้ผู้ตรวจการเซี่ยวอี้ นำของล้ำค่านี้มาถวายให้ได้ ผู้ตรวจการเซี่ยวอี้ต้องปลอมตัวเป็นบัณฑิต เข้าไปพบหลวงจีนเปี้ยนไฉ ใช้กลอุบายหลอกล่อให้หลวงจีนตายใจ จนนำบทกวีหลานถิงที่หวงแหนออกมาอวด ครั้นเมื่อเปี้ยนไฉเผลอจึงได้ขโมยมา แล้วจึงแจ้งให้ทราบทีหลังว่าเป็นพระราชโองการของฮ่องเต้ คุณค่าของลายมืออันล้ำค่าจึงมิได้ต่างจากศิลปกรรมชั้นเยี่ยมเลยหลานถิงสวี่ (蘭亭集序) (หลาน แปลว่า กล้วยไม้ ถิง แปลว่า ศาลา ซวี่ แปลว่า บทนำ, เกริ่นนำ, อารัมภกถา) แปลว่า "คำนำของหนังสือรวบรวมบทกวีหลานถิง" เป็นความเรียงร้อยแก้ว แต่ใช้ถ้อยคำเหมือนแต่งบทกวี ใครชอบเขียนพู่กันจีนก็ต้องรู้จักบทกวีีนี้ดี ประพันธ์โดยลิปิกรเอกของจีน หวางซีจือ (王羲之) ลายมือของท่านเป็นที่ชื่นชอบมากมาย นับตั้งแต่องค์พระจักรพรรดิ์ลงมาถึงคนธรรมดาจนเดี๋ยวนี้ ลายมือต้นฉบับถือเป็นลิปิศิลป์ชิ้นเอกในประวัติศาสตร์จีน พระจักรพรรดิ์ถังไท้จงทรงโปรดลายมือของหวาง ซีจือเป็นพิเศษ พระองค์รับสั่งให้ลิปิกรประจำราชสำนักคัดลอกลายมือของหวาง ซีจือไว้มากมายหลายชุด และมีพระบรมราชโองการให้ฝังลายมือต้นฉบับไปพร้อมกับพระศพของพระองค์ภาพจาก fliggy.com ลายมือต้นฉบับที่เขียนบทกวีหลานถิงสวี่ไม่มีให้เห็นแล้ว เหลือแต่ตัวอักษรที่แกะบนหินที่ยังเก็บรักษาไว้ มีการพิมพ์ด้วยหมึกจากลายมือบนหินนำออกมาเผยแพร่อยู่ ๓ ชุด ผู้รักการเขียนพู่กันจีนนิยมนำมาเป็นตัวอย่างเขียน สไตล์การเขียนของท่านยังมีอิทธิพลสูงต่อการวงการลิปิศิลป์ ลิปิกรที่ดีไม่เพียงแสดงความคิดผ่านปลายพู่กัน แต่จะใส่ชีวิตและความรู้สึกให้กับตัวอักษรด้วย การเขียนพู่กันจีนถือเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ทั้งสมาธิ และการบังคับปลายพู่กันให้มั่นคง ทั้งยังต้องใช้เวลาฝึกฝนยาวนานกว่าจะเขียนได้สวยงาม หินสลักตัวอักษรในศาลาหลานถิง ภาพจาก fliggy.com หวาน ซีจือเขียนบทกวีนี้ในเดือนที่สามของปีที่ ๙ แห่งราชวงศ์จิ๋น ปีคศ. ๓๕๓ อยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ เขียนแบบหวัดแกมบรรจง ตัวอักษรมีทั้งหมด ๓๒๔ ตัว เขียนแบ่งเป็น ๒๘ แถว อักษร 之 (zhi) ปรากฏในบทกวีถึงยี่สิบตัว แต่ละตัวก็เขียนไม่เหมือนกันเลย เนื้อหาบทกวีบรรยายภาพการชุมนุมของนักปราชญ์ ๔๒ คน นั่งเรียงรายสองฝั่งลำธารแล้วลอยจอกเหล้าให้ไหลไปตามน้ำ พอจอกเหล้าไปหยุดอยู่ที่ใครก็ต้องแต่งบทกวี ถ้าแต่งไม่ออกก็ต้องถูกปรับให้ดื่มเหล้า ดื่มเหล้าไปแต่งบทกวีไปกันอย่างรื่นรมย์ใจ วันนั้นนักปราขญ์ ๒๖ คน แต่งบทกวีได้ทั้งหมด ๓๕ บทภาพจาก fliggy.com การได้เสวนากับเพื่อนสนิทและดื่มเหล้าดี ทำให้หวาง ซีจือเกิดอารมณ์สุนทรีย์ สะบัดพู่กันแต่งบทกวีหลานถิงออกมา ว่ากันว่า หลายวันให้หลังท่านพยายามแต่งบทกวีแบบเดียวกันเป็นร้อยเที่ยว แต่ไม่มีสักบทจะเทียบกับบทกวีที่เขียนด้วยอารมณ์แบบฉับพลันอย่างวันนั้นได้เลยศาลาหลานถิงสร้างขึ้นในราชวงศ์ฮั่น อยู่แถวชานเมืองเส้าซิง (紹興) นั่งรถไฟจากเมืองหังโจวราวชั่วโมงครึ่งก็ถึงภาพจาก fliggy.com หวาง ซีจือ ภาพจาก culturalkeys.cn หวางซีจือ นักกวีและปราชญ์แห่งลิปิศิลป์ที่ลือชื่อที่สุดในสมัยราชวงศ์จิ๋น เกิดในปีค.ศ. ๓o๓ ในแคว้นจิ๋นตะวันออก เริ่มเรียนเขียนอักษรเมื่ออายุได้เจ็ดปี ครูคนแรกคือลุงและลิปิกรหญิงชื่อ Wei Shuo หวาง ซีจือเริ่มเขียนด้วยอักษรแบบธรรมดา เมื่อโตขึ้นก็พัฒนาสไตล์การเขียนเป็นของตัวเอง ลักษณะอักษรแบบหวัดแกมบรรจงของท่านเขียนได้ลื่นไหล เปี่ยมด้วยพลังและมีชีวิตชีวา ในวัยเยาว์ หวาง ซีจือหลงใหลการเขียนพู่กันจีนมาก บ่อยครั้งเขียนจนเพลิน ลืมกินข้าวกินปลา บางทีใจลอย ถึงขนาดจุ่มหมั่นโถวลงในจานฝนหมึก เพราะคิดว่ากำลังถือพู่กันอยู่ก็มี และน้ำในสระนอกบ้านกลายเป็นสีดำสนิท เพราะท่านใช้เป็นที่ล้างพู่กันประจำภาพจากเวบ chinapage.com นอกจากนี้ ลูกชายของท่าน หวางเสี้ยนจือ (王獻之) ก็มีชื่อเสียงในด้านการลิปิศิลป์เช่นเดียวกัน ปัจจุบันนี้ ในประเทศญี่ปุ่นยังจัดให้นักเรียนแข่งขันเขียนพู่กันจีนในช่วงเปิดเทอม และทุกสองปีจะมีการจัดงานเขียนพู่กันจีนเพื่อรำลึกถึงบทกวี "หลานถิงซวี่" ทั้งยังมีรางวัล "ซีจือ" ในการประกวดเขียนลายมือระดับชาติอีกด้วยหวาง เสี้ยนจือ ภาพจากเวบ prabook.com ลายมือของหวาง เสี้ยนจือ ภาพจากเวบ wikipedia.org ข้อมูลจากpinprapa.com chinapage.com ของทำมือที่ทำไปร่วมโครงการ กรอบรูปที่ไปจ้างเขาทำ เปี่ยวภาพออกมาได้ถูกใจมาก ตอนแรกเลือกกระดาษสีแดงรู้สึกว่าจะแรงไป แต่พอทำออกมาแล้วสวยดี กล่องทำด้วยกระดาษชานอ้อย ด้านนอกแปะด้วยกระดาษสา ด้านในเป็นกระดาษทำจากป่าน ติดสติกเกอร์สีทองเส้นใหญ่แปะริบบิ้นสีแดงตรงกลางบนกล่อง แล้วติดดอกไม้ผ้าแทนโบว์ กล่องนี้สำหรับหวานใจเรา พอดีพี่ชายมาเมืองไทยเลยทำให้เป็นของขวัญอีกชุดนึง นอกจากเขียนพู่กันจีนแล้วก็ทำการ์ดทำมือด้วย ตัวอักษรที่เขียนเป็นคำมงคลคู่ เรียกว่า "ตุ้ยเหลียน" แบบออกจะเรียบไปหน่อย ทีแรกกะว่าจะเขียนคำว่า "福" ที่แปลว่าความสุขไว้ด้านหน้าการ์ด แต่ลองเขียนแล้วไม่ค่อยสวย อีกอย่าง สีกระดาษค่อนข้างแรง แล้วซองก็เป็นลายอีก เลยทำการ์ดแบบเรียบ แค่แปะกระดาษที่เขียนตัวอักษรแล้วติดสติกเกอร์สีทองรอบ ๆ ก็พอ ตุ้ยเหลียนที่เขียนในการ์ดอีกสี่ใบหวาง ซีจือ วาดโดย Quan Xuan ภาพจาก metmuseum.org ปล. อัพออทั่มตอนที่สองแล้ว ตามไปอ่านได้โลดจ้า รักนี้ชั่วนิรันดร์ ๒ บีจีและไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_HavaiiFree TextEditor
Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 28 กันยายน 2566 9:14:50 น.
43 comments
Counter : 11674 Pageviews.
โดย: Dingtech วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:12:33 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:09:07 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:32:06 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:35:50 น.
โดย: พี่รี่+ต๊อก วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:53:36 น.
โดย: มินทิวา วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:8:57:53 น.
โดย: ณ มน วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:58:40 น.
โดย: KOok_k วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:04:27 น.
โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:38:13 น.
โดย: haiku วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:44:24 น.
โดย: Noshka วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:59:41 น.
โดย: Noshka วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:00:49 น.
โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:57:12 น.
โดย: ลุงแอ๊ด วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:46:17 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:38:01 น.
โดย: สายลมอิสระ IP: 125.26.183.61 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:43:52 น.
โดย: haiku วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:03:42 น.
โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:51:11 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:04:07 น.
โดย: chinging วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:38:09 น.
โดย: cengorn วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:00:08 น.
โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:57:45 น.
โดย: tummydeday วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:36:11 น.
โดย: แร้ไฟ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:21:52 น.
โดย: Dingtech วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:17:55 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:7:26:46 น.
โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:41:06 น.
โดย: ลุงเปา จ้า (หนุมานเฒ่า ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:02:17 น.
โดย: haiku วันที่: 1 มีนาคม 2553 เวลา:21:46:24 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:9:20:10 น.
โดย: จอมมารแห่งหุบเขาคนโฉด (zoomzero ) วันที่: 2 มีนาคม 2553 เวลา:17:07:52 น.
โดย: Yushi วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:0:13:02 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:4:43:07 น.
โดย: ลุงแว่น วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:6:46:44 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:8:20:18 น.
โดย: haiku วันที่: 5 มีนาคม 2553 เวลา:10:13:53 น.
สวยงามยอดเยี่ยมสมใจเลยครับ
ทั้งลายมือ รูปประกอบและเรื่องราวที่เล่า
เป็นอะไรที่ผมเคยบอกว่า
"ได้ถ่ายทอดศิลปกรรมชั้นยอด ที่ตกทอดกันมานานแสนนาน"
แม้ว่าจะตีความยากหน่อย เพราะเป็นภาษาสำนวนโบราณ
แต่ผมว่า อ่านดูดีๆ ก็ยังเข้าใจได้อยู่
ยกให้สองหัวแม่โป้งครับ