happy memories
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
การวาดใบไผ่



การวาดใบไผ่อย่างมีศิลปะเป็นสิ่งสำคัญของการวาดภาพต้นไผ่ที่ประสบผลสำเร็จ "ใบ" บอกถึง "อารมณ์" ของต้นไผ่ และจะมีการวางรูปแบบของใบไผ่ที่แตกต่างกันมากมาย บางครั้งใบไผ่ก็อยู่ใกล้กัน บางครั้งก็ห่างกันและบางครั้งก็ไขว้หรือทับกัน นอกจากนั้นยังมีใบไผ่ที่พัดไหวตามลม และใบไผ่ที่สงบนิ่ง ใบไผ่ที่อยู่ท่ามกลางแสงอาทิตย์และสายฝน มันจะเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป ขอให้เรียนรู้การวาดใบไผ่โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

ในการวาดใบไผ่ให้วาดใบเอียง ๆ และฝีแปรงของพู่กันควรจะมีพลังอารมณ์ที่เด็ดเดี่ยวโดยการวาดครั้งเดียว หากลังเลไม่แน่นอนใจ ใบจะดูหนาและขาดความแหลมคม การวาดใบต้องใช้ความเข้มแข็งของข้อมือในการใช้พู่กัน ไม่ใช่การเคลื่อนไหวนิ้วมือ แต่ละครั้งที่ลงพู่กันไปควรจะมีแรงกดและสร้างความแหลมที่ปลายใบ ให้สังเกตว่าส่วนฐานของใบจะต้องกลมและเต็ม จากนั้นเรียวเล็กลงไปจนถึงจุดตรงปลาย ในการให้ได้ผลเช่นนี้จะต้องวาดพู่กันอย่างรวดเร็ว กดพู่กันลงที่ส่วนฐานของใบ แล้วค่อย ๆ ปล่อยแรงกดขณะที่พู่กันเคลื่อนไปตามใบ และจากนั้นเรียวลงไปจนถึงปลายใบให้สังเกตดังตัวอย่าง





กดพู่กันให้กว้างที่บริเวณฐานและลดแรงกดและความหนาลงจนไปถึงปลาย


การวาดใบไผ่ ให้ใช้หมึกที่มีความเข้มข้นของน้ำหนักสีระดับกลางและโทนสีที่แตกต่างกันตามต้องการ หากกิ่งไผ่เป็นสีเข้ม ใบควรจะเป็นสีเข้มด้วย และหากกิ่งเป็นสีอ่อน ใบก็ควรจะเป็นสีอ่อน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในภาพ ให้แยกลำต้นที่อยู่ด้านหน้าจากต้นที่อยู่ด้านหลัง โดยการใช่ช่องว่างที่เหมาะสม หมึกสีเข้มใช้กับใบที่อยู่ด้านหน้า และหมึกสีอ่อนใช้กับใบที่อยู่ด้านหลัง

ในการวาดภาพใบไผ่ที่อยู่เป็นกลุ่ม ให้ใช้นำ้หนักหมึกสีเข้มกับใบไม้ที่อยู่ด้านหน้า และใช้นำ้หนักหมึกสีอ่อนสำหรับใบที่อยู่ด้านหลัง จากนั้นให้วาดใบที่อยู่กับก่ิงหลักด้านหน้าก่อน แล้วจึงวาดใบที่อยู่ด้านข้างที่ด้้านหลังดังภาพ



การวาดใบอ่อนและใบแก่ของไผ่ได้แสดงไว้ในภาพข้างล่าง ใบอ่อนมีลักษณะแคบและสั้นกว่า ขณะเดียวกันก็ดูอ่อนโยนและมักจะผลิออกจากปลายกิ่ง ส่วนใบแก่จะกว้างและยาวกว่า ตลอดจนมีลักษณะกิ่งใบแข็งแรง



ใบแก่


ภาพบนแสดงให้เห็นว่าใบที่อยู่ติดกับลำต้น ไม่ควรยื่นออกไปมากและควรเชื่อมต่อกัน ในขณะที่ใบที่อยู่ไกลออกไปควรจะคลี่ออกและดูเจริญเติบโต

การวาดใบแบ่งขั้นตอนออกเป็น ๒ ขั้นตอนคือ
๑. ใบชี้ขึ้นข้างบน
๒. ใบชี้ลงข้างล่าง

นอกจากนั้นใบไผ่ในวันที่อากาศสดใสจะชี้ขึ้นข้างบน ขณะที่ใบไผ่ในวันที่ฝนตกมักจะชี้ลงข้างล่างเสมอ





คราวนี้เรามาเรียนรู้การวาดใบไผ่ในวันที่อากาศแจ่มใส จากการลงพู่กัน ๑ - ๗ ครั้ง​ (หนึ่งครั้งต่อใบ ๑ ใบ) และแต่ละลีลาของปลายพู่กันมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป











การลงพู่กันต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดใบไผ่
ต่อไปนี้จะได้เรียนรู้การวาดใบแก่ หรือใบไผ่ที่เห็นในวัันฝนตกเมื่อใบชี้ลง





ด้วยการฝึกฝนคุณจะพบว่า คุณสามารถวาดภาพเหล่านี้โดยเพียงแต่กวาดพู่กันจีนอย่างรวดเร็ว และภาพก็จะเสร็จเรียบร้อยในเวลอันสั้นและรวดเร็ว



ในลักษณะนี้เรียกว่า "หางนกนางแอ่น" ซึ่งมี ๓ สไตล์ด้วยกันคือ ปรกติเอนไปทางขวา เอนไปทางซ้าย (ลงพู่กัน ๓ ครั้ง ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ใบ)







ให้สังเกตการจัดใบเป็นกลุ่มโดยการรวมลักษณะการลงพู่กันข้างต้นเข้าด้วยกันนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างไร ดังภาพที่แสดง



ในการวาดกลุ่มของใบไผ่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้วาดใบไผ่ด้วยการลงพู่กัน ๕ ครั้ง ดังภาพที่แสดงแล้วรวมเข้าด้วยกัน







ภาพนี้เป็นวิธีหนึ่งของการลงพู่กัน ๑o ครั้งในการวาดใบไผ่ ซึ่งใบด้านบนโน้มลงและกลืนไปกับใบด้านล่าง รูปแบบของใบไผ่และกลุ่มของใบไผ่มีมากมายหลายวิธี มันจะช่วยให้จิตรกรมีเสรีภาพในการแสดงออก







ในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกนั้น เราจะต้องพิจารณาจำนวนรูปแบบต่าง ๆ ของใบซึ่งจะช่วยเสริมภาพที่ปรากฏออกมา เช่น การลงพู่กันซึ่งแสดงออกถึงใบที่อยู่ปลายสุดของกิ่งในวันที่ฝนโปรยลงมา ใบเหล่านี้จะถูกวาดให้อยู่ในลักษณะชี้ลงและอยู่ในแนวตั้ง



ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นใบไผ่ที่มีลักษณะเอนอย่างง่าย ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นใบไผ่ที่อยู่ปลายกิ่งขณะที่ลมกำลังพัดอย่างแรง


ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดกระหน่ำทำให้เอนไปด้านขวา


ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดเบา ๆ ทำให้เอนไปทางด้านซ้าย


ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นถึงการลงพู่กันอย่างง่าย ๆ (ทั้งในแนวดิ่งหรือเอนไปทางซ้ายหรือเอนไปทางขวา) รวมทั้งแสดงว่าใบที่ปลายกิ่งมีรูปแบบอย่างไรในวันที่อากาศแจ่มใส ใบต้องดูสวยงามและสดชื่น คุณควรจะรู้แบบฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ เพราะมันจะทำให้คุณสามารถวาดรูปได้หลากหลาย




รูปแบบของใบไผ่ที่สดชื่นมีความเป็นประกาย จะพบได้ที่ปลายกิ่งไผ่ในวันที่อากาศอบอุ่นกำลังสบาย ในการวาดใบไผ่ไม่ควรปฏิบัติดังนี้

ห้ามวาดใบไผ่ที่มีลักษณะเหมือนกับใบพืชที่มีลักษณะกลมมน หรือเมื่อวาดให้เรียวก็ใช้การวาดแบบรวดเร็ว ดังภาพที่แสดง



ใบไผ่มีลักษณะพิเศษในตัวมันเอง ซึ่งจะต้องคงลักษณะนี้ไว้ ใบไผ่ไม่ควรจะวาดแยกออกมาแบบแข็ง ๆ เหมือนนิ้วมือทั้งห้านิ้วของเราเอง หรือว่าสานกันไปมาดังภาพที่ได้แสดง







การจัดใบไผ่ขั้นพื้นฐานมี ๒ อย่างคือ ในแนวนอนกับแนวตั้ง ซึ่งการผสมผสานของการจัดกลุ่มใบเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดความสง่าและสวยงาม ก่อนอื่นเราจะศึกษาการจัดใบในแนวนอน ซึ่งใบต่าง ๆ จะอยู่รวมกลุ่มในแนวนอน ใบหนึ่งอยู่เหนืออีกใบหนึ่ง ดังภาพแสดงการจัดกลุ่มใบด้านล่าง



ในการจัดกลุ่มให้สวยงามเช่นนี้ จะต้องวาดใบตามลำดับดังแสดงไว้ในภาพต่อไปนี้



ขั้นแรก ต้องวาดใบแถวบน (หนึ่งถึงสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ A
ขั้นสอง ให้วาดใบในแถวที่สอง (ห้าถึงแปด) ดังแสดงไว้ในภาพ B
ขั้นสาม ให้วาดใบในแถวที่สาม (เก้าถึงสิบสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ C
จากนั้นการจัดรูปแบบใบเป็นอันสมบูรณ์





ให้ทำความเข้าใจด้วยว่าส่วนประกอบของต้นไผ่ ขึ้นอยู่กับการที่ใบไผ่ตัดกันไปมาในแนวตั้ง กลุ่มใบที่นำมาเป็นรูปแบบจะเลือกมาจากการประกอบของใบไผ่ในแนวนอนแล้วนำมาประกอบในแนวตั้ง กลุ่มใบกลุ่มหนึ่งเหนือกลุ่มใบอีกกลุ่มหนึ่งเป็นลำดับ ใบที่วาดลงไปต้องมีความแตกต่างเช่น กลุ่มใบบางกลุ่มแยกออกไปเป็นลักษณะตัว Y บางกลุ่มก็แยกออกจากกันและกันและอื่น ๆ แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า การจัดกลุ่มใบโดยทั่วไปนั้นจะต้องชัดเจนและไม่สับสนต่อสายตา ใบที่วาดออกมาควรจะมีความเด่นและตัดกันไปมาเพื่อแสดงสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดในกลุ่ม



ในการจัดกลุ่มใบให้เป็นยอดดังภาพ ต้องวาดตามขั้นตอนด่อไปนี้





การจัดกลุ่มใบในแนวนอน (เป็นชั้น) สามารถจัดแถวได้ถึง ๕ แถว และหลังจากจัดใบให้ซ้อนกันเป็นชั้นได้ ๓ หรือ ๔ ชั้นในแนวตั้ง แถวสุดท้ายควรจะทำให้สมบูรณ์โดยให้ใบอยู่ในลักษณะห้อยลงตามธรรมชาติของต้นไผ่ ภาพต่อไปนี้แสดงการจัดกลุ่มใบที่สมบูรณ์ ภาพ A - E แสดงขั้นตอนในการวาด

ขั้นแรก ให้วาดใบไม้แถวบนสุดในแนวนอนก่อน (๑-๔) โดยลงพู่กัน ๔ ครั้ง ดังแสดงไว้ในภาพ A
ขั้นที่สอง วาดใบไม้ในแถวที่สอง (๔-๘) ใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" โดยให้เอนไปด้านซ้ายและขวาดังที่แสดงไว้ในภาพ B
ขั้นที่สาม วาดใบไม้แถวที่สาม (๙-๑๔) ใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" เช่นเดียวกัน ดังแสดงไว้ในภาพ C
ขั้นที่สี่ วาดใบไม้แถวที่สี่ (๑๕-๑๘) ใช้ "หางนกนางแอ่น" เช่นกัน ดังแสดงไว้ในภาพ D วาดใบที่ ๑๗ และ ๑๘ ให้กระดกขึ้นเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความพุ่งให้แก่กลุ่ม
ขั้นที่ห้า วาดใบไม้แถวที่ห้า (๑๙-๒๔) โดยใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" ดังแสดงไว้ในภาพ E ให้ตกแต่งใบในแถวนี้เล็กน้อย เพื่อให้กลุ่มใบไผ่มีความสมบูรณ์

การจัดกลุ่มใบในแนวตั้งได้แสดงไว้ในภาพล่าง


การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง ได้แสดงไว้ในภาพ
โดยการวาดใบตามขั้นตอนจาก ๑ - ๑๒ จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์



การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง เริ่มต้นวาดใบที่ ๑ และ ๒ (ด้านซ้้ายใช้การลงพู่กันแบบ "หางปลา") แล้วเพ่ิมใบที่ ๓ ลงไป จากนั้นให้วาดใบที่ ๓ ลงไป จากนั้นให้วาดใบที่ ๔ และ ๕ โดยลงพู่กันแบบ "หางปลา" แล้วเพิ่มใบที่ ๖ ใบที่ ๗ ไปจนถึง ๑o เป็นการผสมการวาดใบแบบหางปลาคู่เข้าด้วยกัน สุดท้้ายให้จบด้วยการวาดใบแบบหางปลาที่ส่วนบนเพือให้ภาพที่สมบูรณ์

ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์ พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย ราคา ๑๑o บาท






เอาคลิปวาดไผ่มาฝากอีก คนวาดยังกะเสก ปาดพู่กันเร็ว ๆ ภาพออกมางามขนาดเลย
https://www.youtube.com/watch?v=Q8LhJxOAupI



คลิปวาดไผ่แบบลงสี
>https://www.youtube.com/watch?v=yB11lzu14UE



คลิปนี้ก็วาดสวย เห็นชื่อจิตรกรแล้วน่าจะเป็นคนอิตาเลียน วาดได้งามไม่แพ้คนจีนเลย
https://www.youtube.com/watch?v=4RCL6sVN2N8




บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com

ไลน์จากคุณเนยสีฟ้า

Free TextEditor





Create Date : 06 ตุลาคม 2551
Last Update : 7 ธันวาคม 2552 11:43:51 น. 50 comments
Counter : 11148 Pageviews.

 
บล๊อคยาวมากเพราะบทนี้เนื้อหาเยอะที่สุดในเล่ม ทีแรกว่าจะแยกเป็นสองบล๊อค แต่คิดไปคิดมา เอาไว้บล๊อคเดียวกันดีกว่า ยังเหลืออีกบล๊อคเดียวก็จบแล้วค่ะ


โดย: haiku วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:21:38:00 น.  

 
เคยแต่วาดมั่วๆอ้ะค่ะ..

ช่างซับซ้อนและสวยงามจิงๆเรย..



โดย: pink_plumeria วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:22:08:45 น.  

 
น่าทึ่งกับภูมิปัญญาในการสะบัดพู่กัน
แค่หมึกสีดำ
ก็สามารถเนรมิตใบไผ่ได้มากแบบ

สุดยอดเลยครับ

ว่างๆสงสัยผมต้องลองเอามาประยุกต์กับการเขียนพู่กันเดียวบ้างแล้วล่ะครับ




โดย: กะก๋า ฮา 3 สายสะพาย (กะว่าก๋า ) วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:22:20:29 น.  

 
สุดยอดเลยยยยยยย

แฟงอยากลองวาดมั้งจัง
แต่คงออกมาไม่ดีแน่ๆ


โดย: d_regen วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:22:57:44 น.  

 
หายไปไหนมาตั้งนาน ( อีกแล้ว )

สบายดีนะจ๊ะ


โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:3:03:52 น.  

 
เป็นงานที่เห็นแล้วแบบว่า ทำได้ไงคะเนี่ย สร้างสรรค์ได้หลากหลายรูปแบบจริงๆ ยิ่งดูการเขียนจากวิดิโอ ได้รวดเร็ว แม่นยำ น้ำว่าคงต้องอาศัยการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญจริงๆ ถ้าไม่เคยวาดมาก่อนการลงน้ำหนัก จังหวะต่างๆ คงไม่ได้ดังใจ เผลอๆอาจไม่เป็นใบเป็นต้นไผ่


โดย: liefie วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:5:26:42 น.  

 
น่าทึ่งจริงๆค่ะ

ใช้เวลาเพียงนาทีกว่าก็สามารถวาดภาพออกมาได้อย่างสวยงาม

ชื่นชมจริงๆค่ะ


โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:8:28:53 น.  

 
โห น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ
สงสัยต้องกลับไปอ่านบทอื่นย้อนหลังด้วย


โดย: grappa วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:9:51:24 น.  

 
โอ้..อย่างละเอียดเลยอ้ะ

เห็นแล้วชักเริ่มอยากวาดอย่างจริงๆ จังๆ 555+


เราว่า ถ้าผู้ใหญอ่านก็จะได้บางอย่างที่จะแตกต่างไปจากที่เด็กจะได้เมื่ออ่านค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:10:39:03 น.  

 
เฉพาะแค่ใบนี่ก็มีหลายแบบมากเลย
ทั้งใบอ่อนใบแก่ ทั้งใบแบบขนนก แบบจันทร์เสี้ยว ยังมีแบบหางปลาอีก

สรุปดูไฮกุวาดดีกว่า


โดย: ณ มน วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:11:21:00 น.  

 
โห... น่าทึ่งมากๆเลยค่ะ


โดย: Charlotte Russe วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:13:07:58 น.  

 
บลอกนี้ละเอียดมาก ขอเซฟเก็บไว้ดูเลยนะครับ


โดย: ลุงแอ๊ด วันที่: 7 ตุลาคม 2551 เวลา:21:39:21 น.  

 
อย่างนี้ต้องจีบชาจีนไป วาดไป


โดย: ตาพรานบุญ วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:1:20:54 น.  

 

เอาสายลมมาพัดพาให้หายเหนื่อยงับ


โดย: พลังชีวิต วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:15:30:06 น.  

 
หม่อมป้า จะแวะมาบอกว่า"หมาย่าง" มีปัญหากับบล็อกของพจน์มานานแระ อิอิ



โดย: โจเซฟิน วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:20:10:48 น.  

 
pink_plumeria ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ คุณpinkรู้หลักแล้วก็ลองวาดดูใหม่ ได้ผลเป็นไงก็แวะมาบอกกันมั่งน้า

คุณก๋า...วิธีวาดไผ่ของคนจีนน่าทึ่งนะคะ เราก็เพิ่งจะรู้เหมือนกันว่ามีวิธีวาดใบเยอะขนาดนี้ แถมมีชื่อเรียกโดยเฉพาะด้วย วิธีวาดต้นไผ่ก็เหมือนกัน ดูในคลิป เวลาวาดไผ่แต่ละปล้อง เขากะจังหวะได้พอดี ๆ แล้วสีของหมึกตอนที่ปาดแต่ะปล้อง มีสีเข้ม อ่อน จนขาดหายไป ทำให้ไผ่ดูกลมและมีแสงเงาสวย

น้องแฟง...อยากรู้ก็ต้องลองวาดดู ไม่แน่อาจจะชอบก็ได้นะจ๊ะ

ความเจ็บปวด...แฮะ แฮะ ว่อบไปแว่บมา เล่นบล๊อคได้ตามเวลาที่มีแหละค่า

คุณน้ำ&คุณยุ้ย...ต้องฝึกเยอะ ๆ ถึงจะวาดได้คล่องและสวยขนาดนั้น คนที่วาดในคลิป ฝีมือเยี่ยมยุทธ์จริง ๆค่ะ ตวัดพู่กันแบบเร็ว ๆ แต่ออกมาสวยมั่ก ๆ

สาวไกด์กะลุงแอ๊ด...ต้องยกความดีให้หนังสือที่เอามาทำบล๊อคค่ะ บอกทั้งวิธีแล้วก็มีรูปประกอบสวยแล้วก็เยอะดี สาวไกด์รู้วิธีแล้ว ถ้าอยากวาดก็ลุยโลดเลยจ๊ะ

ณ มน...เราว่า ใบไผ่เป็นการแสดงอารมณ์ของภาพต้นไผ่และอารมณ์ของศิลปินด้วย มีหลากหลายแบบแถมชื่อก็เพราะดี

ณ มนคงรออีกนานกว่าจะได้เห็นฝีมือวาดใบไผ่ของเรา ถ้าไงก็ดูลายมือเขียนอักษรจีนไปก่อนละกันนะจ๊ะ

ตาพรานบุญ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ...อืมม จิบชาจีนไป วาดไป ฟังแล้วได้อารมณ์สุนทรีย์ดีจริง ๆ

พลังชีวิต...แหม ดีจัง ได้จิบชาแล้ววาดใบไผ่แล้ว ได้กังหันสีสวยมาช่วยให้หายเหนื่อยหายร้อนด้วย

หลานพจ...เป็นเง็ง "หมาย่าง" นี่หมายฟามว่าไรหว่า เดี๋ยวต้องตามไปถามที่บล๊อคให้รู้ความ

grappa&Charlotte...ขอบคุณสองสาวที่แวะมาเยี่ยมนะคะ


โดย: haiku วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:21:28:39 น.  

 
แฟงไปวันที่ 13 นี่แหละค่ะพี่ไฮกุ
แล้วยังไงแฟงจะถ่ายรูปมาฝากเยอะคร้า...


โดย: d_regen วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:22:51:05 น.  

 
ถ้าเขียนจริงๆ
อาจจะเขียนไมไ่ด้ครับ
เพราะว่าพู่กันเดียวต้องตวัดทีเดียวจบ
เพียงแต่ผมชอบเทคนิคการปล่อยน้ำหนักจาก
หนักไปสู่ค่อย

อันนี้ยากครับ
เพราะส่วนใหญ่ผมจะแนบพู่กันไปที่กระดาษตลอดครับ

แต่น่าลองครับ อิอิอิ




โดย: ก๋า เก็กเสียง (กะว่าก๋า ) วันที่: 8 ตุลาคม 2551 เวลา:23:11:14 น.  

 
โด่ หม่อมป้า หมาย่างคือ Firefox ไง๊


โดย: โจเซฟิน วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:10:02:11 น.  

 
เข้ามาดูคลิปอีกแล้วครับ

ต้นไผ่อันแรกดูอ่อนโยนมากๆ
อันที่สองผมชอบนะ ได้เห็นสีอื่นบ้างนอกจากสีดำ
เขาผสมสีเขียวอ่อนเขียวแก่ได้กลมกลืนมากครับ
อันที่สามมองไม่ออกว่าเขาแสตมป์รูปอะไรลงไป ดูคล้ายๆ แกะ

อยากดูคลิปจากคุณไฮกุมั้งครับ


โดย: พลทหารไรอัน วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:14:46:32 น.  

 


โดย: ดราก้อนวี วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:17:15:46 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ขอบคุณค่ะที่นำมาฝากค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 9 ตุลาคม 2551 เวลา:23:52:19 น.  

 
ตอนเด็กๆ ซัก4-5 ขวบ เตี่ยเคยวาดให้หมูดู แต่หมูไม่เอาอ่าวเรื่องศิลปเลย พอมาเห็น เสียดายจัง น่าหัดกับเตี่ย โฮ โฮ


โดย: หมุตัวน้อย (mr.pure.fon ) วันที่: 10 ตุลาคม 2551 เวลา:1:01:11 น.  

 
แวะมาทักทายก่อนจะเข้านอนค่ะ


โดย: liefie วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:6:05:30 น.  

 


โดย: ลุงแอ๊ด วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:12:34:12 น.  

 
แวะมาบอกว่าคิดถึงก่อนแฟงไปเที่ยวคร้าพี่ไฮกุ


โดย: d_regen วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:12:45:39 น.  

 
พอมีวิธีอย่างละเอียดแล้วมันดูง่ายขึ้นนะเนี่ย....แต่ก็คงไม่ได้ลองอยู่ดี เพราะไม่มีหมึกกะพู่กัน..


มาอาศัยแอบดูเอาตามบล๊อกไฮกุนี่แหล่ะ..


เพิ่งกลับมาจากบ้านนอกจ้า

มาชวนไปดูชายแก่ที่บล๊อกเพื่อน

Meet&Greet with "Richie Jen" Promotion concert in KL


โดย: กวางตุ้งหวาน วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:12:57:12 น.  

 
น้องแฟง...มะรืนจะไปทำบุญแล้วนี่นา ถ้าไม่ลืม วันออกเดินทางจะแวะไปส่งที่บล๊อคนะจ๊ะ

คุณก๋า...วิธีวาดใบไผ่กะเขียนพู่กันเดียวต่างกันจริง ๆ แหละ เราก็ยังคิดอยู่ว่าคุณก๋าจะคิดเทคนิควาดได้ยังไง แต่ลองดูก็ดีน้า อยากเห็นค่ะ

หลานพจ...ป๊าดโธ่ นึกว่าอะไรซะอีก เข้าบล๊อคคนอื่นก็ใช้หมาย่างได้หมด พอมาบล๊อคหลานพจทีไรต้องเปลี่ยนเป็นsafariทุกที แถมทั้งสองbrowserก็ไม่เห็นภาพในกล่องเม้นท์อีกตะหาก

คุณพลตะหาน...เราชอบวิธีวาดใบไผ่ในคลิปอัันแรกที่สุดค่ะ ใบไผ่ดูแล้วทั้งหวานทั้งเข้มเลย วิธีวาดไผ่สีก็สวย เขาผสมสองสามสีในคราวเดียวแล้วปาดพู่กัน สีผสมกันออกมาสวยดี คลิปที่สามตอนท้ายเขาปั๊มตราประทับค่ะ แต่ไม่น่าจะใช่ตราประทับชื่ออย่างของคนจีน คงเป็นตราที่แกะรูปมากกว่า แต่มันเล็กจัดเลยไม่แน่ใจว่าเป็นรูปอะไร

ถ้าเขียนตัวหนังสือก็พอจะเขียนได้ แต่วาดไผ่นี่ยังไม่ได้เริ่มหัดซักกะที ที่จริงก็อยากทำคลิปเขียนอักษรจีนของตัวเองเหมือนกัน แต่ไว้รอให้อิฉันทำคลิปเป็นก่อนนะฮ้า

ป้าวี...ไฮกุเพราะจังค่ะ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ อ่านแล้วอยากเอื้อมมือเข้าไปแตะหยดฝนบนยอดหญ้าเลยฮ่ะ

ขอบคุณป้าวีมากนะคะ ขออนุญาตแฮ่บเก็บไว้เหมียนเดิมค่า

คุณอุ้มกะคุณน้ำ...ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ

คุณหมูตัวน้อย...ยินดีต้อนรับเพื่อนใหม่ค่า

ป่่าป๊าคุณหมูก็วาดรูปไผ่ด้วยเหรอคะ นี่ถ้าตอนนู้นคุณหมูหัดวาดไผ่แล้วชอบ ป่านนี้คงวาดได้งามไม่แพ้ศิลปินในคลิปก็ได้น้า

ลุงแอ๊ด...การ์ดสวย สีหวานดีแท้ แถมข้อความก็เพราะด้วย ขอบคุณค่า


ตุ้ง...อ้าว นึกว่าจะบอกว่าวาดยากขึ้นซะอีก ที่จริงวาดไผ่มีองค์ประกอบไม่เยอะ จะยากตรงที่วาดยังไงให้สวยแล้วเป็นธรรมชาติอ่ะนะ

ที่แท้หนีเที่ยวนี่เอง มิน่าล่ะ ถึงหายไปหลายวัน แล้วจะแวะไปกรี๊ดเฮียตามคำชวนจ๊ะ


โดย: haiku วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:18:12:46 น.  

 
สวัสดีครับ

เอ่อ...เค้าเป็นชาโจ้นะครับ
ไม่ใช่ขาโจ๋ หุหุหุ

อายุ 58 แล้วครับ

ก็คงอีกนานกว่าจะคุยกันเรื ่องที่ผมจะไปญี่ปุ่น
หรือไม่ไป ยังไม่รู้เลยครับ

เอาหมิงหมิงว่าครับ

ถ้าไม่ได้ไปโชว์รูป
ก็คงต้องไปเอง เพราะนี่เป็นประเทศที่มาดามใฝ่ฝัน
ว่าต้องไปเที่ยวให้ได้ครับ







โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:20:48:50 น.  

 
อืม...แฟงว่างานบุญบ้านแฟงสิ้นเดือนนี้นะพี่ไฮกุ ( สนใจรับซักซองป่าวอ่ะ)
ส่วนวันพรุ่งนี้แฟงไปเที่ยวเฉยๆ
หาเรื่องหนีงานไป เฮ้ย..ไม่ช่าย....

พอดีนัดกับเพื่อนานแล้ว ผิดสัญญามันไม่ดี ส่วนงานบุญบ้านแฟงก็เตรียมๆงานเกือบๆเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่เรื่องของผู้ใหญ่เค้าอ่ะ

ยังไงแฟงจะเที่ยวเผื่อเก็บรูปสวยๆมาอวดจ้า...


โดย: d_regen วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:21:57:44 น.  

 
เสียงฝนตกคืนนี้ น่าจะช่วยให้นอนหลับสบายนะคะ คุณไฮกุ

ขอให้ฝันดีค่ะ


โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:22:27:37 น.  

 
ได้ศึกษาเทคนิคการวาดภาพจีน ที่ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย และเส้นสายล้วนมาจากสมาธิ และใจที่นิ่ง แค่ดูการวาดแทบสัมผัสอารมณ์ของผู้วาดได้ทีเดียว

ผมยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะทดลองครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:8:40:24 น.  

 



โดย: โสดในซอย วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:16:19:04 น.  

 
สวัสดีอีกรอบจ้ะ

ใช่ค่ะ เราก็ว่าเค้าดูแลได้ค่อนข้างดีเลย ไม่สกปรกเลยค่ะ น่าไปเดินเล่นบ่อยๆ มากๆ

เสียแต่ว่า ไกลไปหน่อยอะค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:8:34:13 น.  

 
มาอ่านหลายรอบแล้วค่ะ คุณไฮกุ
ขอบคุณมากๆ
ไม่ต้องเสียตังค์ซื้อหนังสือ ดีจัง คริคริ
นึกถึงกะว่าก๋าเลย เขาก็ใช้พูกันเดียวได้งามจริงๆนะคะ


โดย: ยิปซีสีน้ำเงิน วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:10:09:19 น.  

 
ขอบคุณจ้าที่ไปร่วมแสดงความยินดีกับหนังสือใหม่ของเฮา ^ ^


โดย: ณ มน IP: 58.10.84.105 วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:11:11:34 น.  

 
คือตอนแรกดูเค้าสอบวิธีตวัด วิธีวาดทิศทางแล้วมันเหมือนจะง่ายอ่ะนะ แต่คิดอีกทีถ้าให้วาดจริงๆ เราว่าก็คงยากแหล่ะ...เพราะพู่กันมันดิ้นได้


โดย: กวางตุ้งหวาน วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:17:11:14 น.  

 
ขอแอดไว้ฝึกวาดใบไผ่นะคะ จิงๆชอบวาดดอกไม้ใบไม้อยู่แร้วอ้ะค่ะ แต่มั่วๆเอาซะโดยมาก แหะ แหะ


โดย: pink_plumeria วันที่: 13 ตุลาคม 2551 เวลา:22:57:44 น.  

 
ทึ่งกับคนที่วาดเป็นและวาดออกมาได้สวยมืออาชีพเลยล่ะคะ
เห็นแล้วพร้อมจะชมกันเต็มที่ เพราะเชื่อแน่ว่าถ้าลองเอง
อาจจะหาศิลปะไม่เจอก็ได้คะ เพราะว่าเส้นวาด หนักเบา
ของเค้าพริ้วจริงๆ ...

................

หายจากบล็อกไม่ถึงอาทิตยืก็กลับมาแล้วค่ะ เพราะว่าเน็ตใช้ได้
แถมอ่านหนังสือหมดไปบ้างแล้วเลยแวะเข้ามาบล็อก
สลับกับการอ่านหนังสือน่ะคะ จะได้แบบว่าคลายเครียด
ไม่เบื่อวิธีการน่ะคะ เพราะอ่านหนังสือตลอดก็ไม่ไหว
เหมือนกันนะคะ เข้าบล็อกบ้าง เผื่อว่าจะได้ไม่ลืมทางเข้าน่ะคะ
ยิ่งตอนนี้อายุอานามเริ่มมากขึ้น ลืมกันได้ง๊ายง่ายค่ะ


โดย: JewNid วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:5:41:36 น.  

 



ไก่วาไปเที่ยวที่ San Remo Itlay ค่ะ บรรยากาศจริงๆดีมาก แดดใสไม่ร้อน


โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:18:10:47 น.  

 
สวัสดีึครับคุณไฮกุ


แวะมาทักทายยามเช้าครับ




โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:7:43:36 น.  

 


ป้าวีเคยซื้อหมึกจีนมาวาดนั่งใบไผ่แบบเนี้ยค่ะ
ใช้กระดาษปฎิทินเก่าๆวาด...มันส์ดีค่ะ...


โดย: ดราก้อนวี วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:10:12:26 น.  

 
คุณก๋า...โห อายุเกือบหกสิบแล้วเหรอ ขออำภัยที่อ่านผิดฮ่ะ

ฟังคุณก๋าเล่าเรื่องจะได้ไปจัดนิทรรศการภาพพู่กันเดียวที่ญี่ปุ่นแล้วตื่นเต้นค่ะ แต่เสียดายที่ยังไม่สบโอกาส แต่ทางโน้นติดต่อกะคุณก๋าแล้ว ยังไงสักวันก็คงได้ไปแน่ ๆ เอาใจช่วยค่ะ

น้องแฟง...ดีจัง ได้ไปเที่ยวทะเลด้วย สงสัยคงกะลังเล่นน้ำเพลินแล้ว เอ หรือว่ากลับมาแล้วหว่า ไว้จะรอดูรูปนะจ๊ะ

Insignia_Museum...วิธีวาดภาพจีนเป็นแบบที่คุณว่าจริง ๆ แหละค่ะ ถ้ายังกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะลองวาดรูป จะฝึกเขียนตัวอักษรก่อนก็ได้นะคะ เพราะมีแบบให้เขียนตาม

สาวไกด์...ยังไม่เคยไปเลย แต่เห็นรูปแล้วน่าไปเที่ยวจังค่ะ ตลาดที่โน่นยังรักษาสภาพและบรรยากาศเก่า ๆได้ค่อนข้างดีมาก

คุณยิปซี...แฮะ แฮะ ยังไม่มีอารมณ์เขียนบล๊อคใหม่ เลยต้องให้ดมกลิ่มตุ่ย ๆ ของบล๊อคไปก่อนนะฮ้า

ณ มน...ดีใจจะได้อ่านนิยายเล่มใหม่ของณ มนอีก ถูกใจคนออกแบบปกของแจ่มใสจัง ออกแบบปกได้สวย สมกับคอนเซ็ปต์ของหนังสือเลย ว่าแล้วก็ต้องโคสะนาให้ตามระเบียบ

หนังสือนิยายเล่มใหม่ของณ มน วางแผงแล้ว เพื่อน ๆ ซื้อมาอ่านกัันได้เลยจ้า


ตุ้ง...คนที่วาดในคลิปฝีมือจริง ๆ เราว่าใบไผ่วาดไม่ยากเท่าไหร่หรอก ยากตรงประกอบเป็นต้นไผ่นี่แหละ แถมยังต้องลงน้ำหนักอ่อนเบาด้วย แล้วไอ้น้ำหนักอ่อนเบานี่ต้องใช้น้ำผสมอย่างเดียว กะไม่ค่อยถูกว่าต้่องผสมนำ้แค่ไหน น้ำหนักถึงจะอ่อนแก่ได้อย่างใจอ่ะนะ ไม่เหมือนเขียนอักษร จุ่มหมึกแล้วเขียนได้เลย

555 ขำที่ตุ้งพูดว่าพู่กันดิ้นได้ ที่จริงก็เป็นแบบนั้นอ่ะนะ ตัวหวัดไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะเขียนเร็ว ๆ ถ้าเป็นแบบบรรจง ต้องจับมุมพู่กันให้พอเหมาะ เวลาลากเส้น ตัวหนังสือจะมีเหลี่ยมมุมสวย เหมือนใช้ปากกาปากตัด(เรียกถูกหรือเปล่าหว่า)เขียนเลย พูดถึงแล้วอยากเขียนตัวอักษรอีกแระ ไว้ลอกบทกวีหยกใสฯทำบล๊อคอีกสักรอบดีฝ่า

หนูลี...แวะไปชมฝีมือวาดรูปของหนูลีแล้ว ฝีมือไม่เบาเลยน้า ป่าป๊าของหนูลีก็วาดรูปได้งามสุด ๆ เลยจ๊ะ

คุณนิด...ดีใจที่คุณนิดกลับมาเล่นบล๊อคได้แล้ว พักนี้เราก็ไม่ค่อยว่างแถมเจอเรื่องที่ทำให้อารมณ์บ่จอย ร่ำ ๆ จะเลิกเล่นบล๊อค เลยหายศีีรษะไปหลายวัน เข้าบล๊อคมาเจอเพื่อนแล้วอารมณ์ค่อยดีขึ้น แต่ขออนุญาตดองเปรี้ยวบล๊อคไปอีกนิดละกันน้า

ปล. คุณนิดอย่าพูดถึงวัยซิฮ้า ฟังแล้วบาดหัวจายยยยย

คุณsweety...อิจฉาจัง ได้ไปเที่ยวอีกแล้ว ไว้จะตามไปดูรูปค่า

ป้าวี...ดีจัง ได้ไฮกุแสนเพราะของป้าวีมารวบรวมไว้ในคอลเล็คชั่นอีกแล้ว ขอบพระคุณมากค่า

ขอบคุณคุณยุ้ยกะคุณวีที่แวะมาเยี่ยมนะคะ

ช่วงนี้ขอพักสมองสักสองสามวันแล้วค่อยอัพบทสุดท้ายให้อ่านกันนะจ๊ะ


โดย: haiku วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:21:55:15 น.  

 
สวัสดีครับคุณไฮกุ

ขอบคุณสำหรับการทำบุญด้วยกันนะครับ






โดย: ก.วรกะปัญญา (กะว่าก๋า ) วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:23:15:11 น.  

 

ขอขอบคุณผู้บริจาคมอบให้วัดหนองขาม มีดังนี้

1. คุณจิราพร วิเสโส : บริจาค 100.-บาท
2. คุณทวี วิเสโส : บริจาค 100.-บาท
3. คุณบ้านอุ่นรัก : บริจาค 200.-บาท
4. คุณ catt.&.cattleya..: บริจาค 5,000.-บาท
5. พ.ท.คำ วิเสโส : บริจาค 111.-บาท
6. คุณยายฉวี วิเสโส : บริจาค 101.-บาท
7. คุณคนผ่านทางมาเจอ : บริจาค 300.-บาท
8. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม : บริจาค 200.- บาท
9. คุณลุงแอ๊ด : บริจาค 309.- บาท
10. คุณ kaebonbon : บริจาค 102.- บาท
11. คุณซซ : บริจาค 200.- บาท
12. คุณ Litchi : บริจาค 500.- บาท
13. คุณสอระ : บริจาค 100.- บาท
14. คุณบ้านดินริมสวน : บริจาค 250.- บาท
15. คุณ vanilla_ole : บริจาค 509.- บาท
16. คุณครูเอก : บริจาค 500.-บาท
17. คุณ aitai : บริจาค 500.-บาท
18. คุณพยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง : บริจาค 500.-บาท
19. คุณ yyswim : บริจาค 500.-บาท
20. คุณมดทิพย์ & คุณฟ้าสดใส ทะเลสีคราม : บริจาค 1,000.-บาท
21. คุณน้องผิง : บริจาค 120.-บาท
22. คุณ doctorbird : บริจาค 1,000.-บาท
23. คุณหอมกร : บริจาค 300.-บาท
24. คุณแฟนคลับพยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง : บริจาค 555.-บาท
25. คุณ big-lor : บริจาค 500.-บาท
26. คุณ haiku : บริจาค 1,000.-บาท

รวมเป็นเงินตอนนี้ : 14,557.-บาท


โดย: อุ้มสี วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:23:39:23 น.  

 
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมค่ะ คุณไฮกุ

ช่วงนี้ไม่อยู่บ้านหลายวัน

เช้านี้จะไปภูเก็ต

แต่แอบมานั่งเช็คเมล์ก่อน

หวังว่าพรุ่งนี้จะได้กลับบ้านเสียที


โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 19 ตุลาคม 2551 เวลา:7:25:59 น.  

 
สวย ซึ้ง อมตะ
โอย...บอกไม่ถูก
ให้อารมณ์อ่อนโยน ได้ล้ำลึก
ขอบคุณ คนทำบล๊อกนี้ จริง
...
ข้าน้อย ขอคารวะ
(เห็ฯทีต้องไปหัดวาดใบไผ่จริงๆ จัง)


โดย: Rain So Cool IP: 203.157.198.5 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:11:32:18 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะคะ

ได้หนังสือดีมาเลยเอาความรู้เรื่องวาดไผ่มาเผื่อแผ่เพื่อนๆ ดีใจที่คุณชอบนะคะ


โดย: haiku วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:13:39:13 น.  

 
ชอบจังค่ะ... ไว้จะแวะมาอีก
ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้


โดย: namfaseefoon วันที่: 19 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:32:18 น.  

 
ยินดีต้อนรับเพื่อนบล็อคคนใหม่ค่ะ ดีใจที่รู้จักกันนะคะ ถ้าว่างก็แวะมาคุยได้ทุกเมือเลยค่ะ


โดย: haiku วันที่: 19 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:19:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.