365วันของฉันมีแต่เรื่องการเดินทาง
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
19 พฤษภาคม 2565

เที่ยวไทยไร้คาร์บอนมาแรงรับเทรนด์โลก ทุกฝ่ายขับเคลื่อนกระบี่โกกรีน


กองทุนส่งเสริมววน. สกสว. และบพข. สนับสนุนท่องเที่ยวไทย ไร้คาร์บอน รองรับเทรนด์โลก ผนึกกำลังนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วไทย วิจัยภาคการท่องเที่ยวทั้งบนบกและในทะเล ขับเคลื่อนจุดหมายแรกเต็มตัวจากกระบี่โกกรีน สู่การท่องเที่ยวมูลค่าสูง ด้านดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภาชี้ผลวิจัยครั้งนี้ จะสามารถรวมกันเป็นแผนท่องเที่ยวชุดใหม่ของชาติได้เป็นอย่างดี ขณะที่ผู้ว่ากระบี่ร่วมหนุนกระบี่เมืองสีเขียว รู้เรื่องกรีน ฟินเรื่องเที่ยว

 
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบไร้คาร์บอน หรือการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเบียดเบียนธรรมชาติน้อยที่สุด ทั้งช่วยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนที่สำคัญ
 
ในเวทีรับฟังแผนการดำเนินงานท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ที่จังหวัดกระบี่ ด้วยการนำเสนอแผนงานจากนักวิชาการชั้นนำทั่วไทย ซึ่งนับเป็นอีกจุดเปลี่ยนประเทศไทย
 
#เคลื่อนไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม
#สกสว
#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
 
ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวปาฐกถาในงานว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เดินมาถูกทางในการมองยุทธศาสตร์ในเรื่องท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน ซึ่งการรวมตัวของนักวิชาการที่นำเสนอแผนในวันนี้ทำให้ได้แผนงานที่ชัดเจนมาก นักวิชาการทุกท่านได้เข้าถึงพื้นที่และทำงานศึกษารายละเอียดรอบด้าน จนน่าจะรวมกันเป็นแผนท่องเที่ยวชุดใหม่ของชาติได้เป็นอย่างดี กระบี่โกกรีนน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวไร้คาร์บอนก่อนจะขยายไปยังที่อื่นๆของประเทศนับจากนี้เป็นต้นไป
 
โดยหากจะทำให้งานวิจัยได้ผลดีขึ้น ควรสร้างทีม Content Marketing ขึ้นมาสื่อสาร มีการใช้เครื่องมือ Communication Tools เพื่อนำไปสู่การสร้าง Supply Chain หรือกระบวนการจัดการผลิตเพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือบริการขึ้นมาในอนาคต  ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างลงตัวหรือเข้าสู่ Comfort Zone และในที่สุดคือ Collaboration หรือผลผลิตจากการร่วมมือกันของทุกฝ่าย   
 
ดร.ฉัตรฉวี คงดี  ผู้ช่วยผู้อำนวยการหน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ปัจจุบันสกสว. มีทีม Content Marketing เพื่อสื่อสารให้คนไทยเข้าใจในงานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งสกสว. จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกๆโครงการสื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบ ตลอดจนนำโครงการจากงานวิจัยต่างๆไปใช้ประโยชน์ให้เห็นผลได้จริง ภายใต้คอนเซ็ปท์ ขับเคลื่อนไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม
 
สำหรับนักวิชาการที่ร่วมศึกษางานวิจัยท่องเที่ยวไทย ไร้คาร์บอนและนำเสนอในเวทีนี้มีหลายหัวข้อเช่น 1. ข้อเสนอเส้นทางสู่ Net Zero ของการท่องเที่ยวไทย ภายใต้แผนงานการขับเคลื่อนคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดย ศ.ดร.วิสาขา ภู่จินดา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
 
2. จากกระบี่โกกรีน สู่ การท่องเที่ยวคุณค่าสูง มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่ ภายใต้แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์สำหรับเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน โดย ผศ.ดร. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอนในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ภายใต้โครงการการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวทางทะเลคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย โดย รศ.ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
 
4. เจาะตลาด ปั้นยอดขาย เที่ยวไทยไร้คาร์บอน นำผลผลิตจากโครงการวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง ภายใต้แผนงานยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการตลาดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ มุ่งสู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูง (ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครปฐม สมุทรสงครามและพื้นที่เชื่อมโยง ) : เจาะตลาด เพิ่มยอดขาย เที่ยวไทยไร้คาร์บอน" โดย คุณนิพัทธ์พงษ์ ชวนชื่น และคุณปาริชาต สุนทรารักษ์ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA)
 
5. ต้นแบบการบริหารจัดการ WellHotel เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ โดย ศ.ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ศ.ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ผศ.ดร.สัจจา ไกรศรรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
 
6. GPS เรือรถกู้ชีพ ภายใต้โครงการระบบการติดตามอาสาสมัครท่องเที่ยวไทย (อสทท.) เพื่อการจัดการท่องเที่ยวไทยอย่างบูรณาการผ่านระบบ Entry Thailand โดย รศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ รศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
 
7. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในกลุ่มทะเลอันดามัน โดย ผศ.ดร.จิตศักดิ์ พุฒจร มหาวิทยาลัยศิลปากร
 
8. อาสาสมัครท่องเที่ยวและกีฬา (อสทก.) ภายใต้แผนงานแนวทางการบริหารจัดการองค์กรอาสาสมัครการท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืน (ร่วมประชุมผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom) โดย ดร.นิทัศน์ บุญไพศาลสถิต สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ และ ดร.กาญจนา สมมิตร สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
 
ในการนำเสนอครั้งนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว.และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. พร้อมด้วย รศ.ดร.ธงชัย สุวรรณสิชนณ์ รองผู้อำนวยการ  บพข. , ผศ.ดร.เกศรา สุกเพชร ผู้ประสานงานสำนักประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. และดร.ฉัตรฉวี คงดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการหน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ สกสว.เข้าร่วมรับฟังด้วย
 
โครงการวิจัยต่างๆนี้ได้รับทุนวิจัยจากบพข. งบประมาณจากสกสว.กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)


ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้แทนบพข.และสกสว.ยังได้หารือกับนายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดงาน มหกรรมกระบี่เมืองสีเขียว รู้เรื่องกรีน ฟินเรื่องเที่ยว หรือกระบี่กรีนซิตี้อีกด้วย
 
นายพุฒิพงศ์กล่าวว่า เพื่อเป็นการฉลอง 150 ปีเมืองกระบี่ เมืองที่ได้ชื่อว่าเมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก กระบี่ได้ก้าวสู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นความยั่งยืนและเป็นเสน่ห์ของกระบี่ โดยจะก้าวสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัว ลดมลภาวะ เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคง ในฐานะที่กระบี่เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก
 
ด้านผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ และ ผศ.ดร.จิตศักดิ์ พุฒจร จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หัวหน้าทีมวิจัยจากกระบี่โกกรีน สู่ การท่องเที่ยวคุณค่าสูง มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่

ยังได้พาคณะนำชมบ้านไหนหนัง ชุมชนประมงพื้นบ้านในตำบลคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ชมการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมถึงชมการเลี้ยงผึ้งชันโรง และทานอาหารถิ่น

และยังได้เข้าชมโรงแรม Aonang Princeville Villa Resort & Spa ที่พักที่ได้รับการรับรอง (SHA Extra Plus) และ Zero Carbon Resort โดย Green Leaf Foundation
 
อีกทั้งยังได้มาตรฐานสากล Well Hotel และ GBAC STAR ซึ่งเกิดจากการผลักดันร่วมกันของคุณอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก , คุณกุสุมา กิ่งเล็ก และคณะนักวิจัยชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. นำโดย ศ.ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล และ ศ.ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์


ทั้งยังได้ร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทุ่งหยีเพ็ง ชุมชนที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นลบเพราะมีการรักษาผืนป่าชายเลน ปล่อยป่าให้ฟื้นฟูตนเอง เป็นแหล่งกักเก็บ Blue Carbon ร่วมกิจกรรมทำชาลำเพ็ง และสานตะกร้าจากทางมะพร้าวอีกด้วย



Create Date : 19 พฤษภาคม 2565
Last Update : 19 พฤษภาคม 2565 10:17:35 น. 1 comments
Counter : 1236 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96, คุณnewyorknurse


 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 22 พฤษภาคม 2565 เวลา:5:00:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelistaนักเดินทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




Travelista นักเดินทาง หรือสาธิตา โสรัสสะ อดีตหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจเครือเนชั่น เป็นนักข่าวสายท่องเที่ยวยาวนานเกือบ 40 ปี เดินทางมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีผลงานเขียนพ็อคเก็ตบุ๊คท่องเที่ยว 34 เล่ม ปัจจุบันเป็นอุปนายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย และประธานมีเดียแอนด์บล็อกเกอร์ คลับ (คลับของบล็อกเกอร์) เคยได้รับรางวัลบล็อกเกอร์ยอดเยี่ยมปี 59 ,ช่างภาพหญิงยอดเยี่ยมจากจีนปี 60 , สื่อมวลชนยอดเยี่ยมปี 64 และผู้บริหารสื่อออนไลน์ยอดเยี่ยมปี 65 ไอดีไลน์ tatravel โทร 081-817-2805
[Add travelistaนักเดินทาง's blog to your web]