กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
2 พฤษภาคม 2565
space
space
space

อปัณณกปฏิปทา(จบ)


    ข้อที่ ๓ เรียกว่า ชาคริยานุโยค.   ชาคริยะ   อนุโยค ๒ ศัพท์มารวมกัน ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก   ชาคริยะ แปลว่า  ตื่น   อนุโยค แปลว่า ประกอบ การประกอบซึ่งความตื่น หมายความว่า ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ นอนน้อยๆ ตื่นมากๆ
แล้วก็ตื่นอยู่น่ะทำอะไร ?   คุมจิตใจของเรา   คอยคุมจิตใจเราให้สะอาดหมดจด จากเครื่องเศร้าหมองใจ ชำระอยู่บ่อยๆ งานนี้ มันเป็นงานสำคัญเหมือนกัน ว่างจากงานอื่นก็มาควบคุมจิตของเรา หัดควบคุมไว้บ่อยๆ ไม่ให้เกิดอะไรขึ้นในทางเสีย เรียกว่ามีความเพียรเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลส ทำให้จิตใจของเราดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้นตามสมควรแก่ฐานะ

   เรื่องนอน นี่ก็ต้องพอดีเหมือนกัน นอนพอดีๆ เต็มความต้องการของร่างกาย อย่าให้เกินความต้องการ ร่างกายมันต้องการขนาดไหน สมมติว่า นอนไปแล้วมันตื่น นี่แสดงว่า มันเต็มแล้ว ร่างกายพอแล้ว พอความต้องการ  ทีนี้   นิสัยเรา สมมติว่า เป็นคนขี้เกียจ พอตื่นแล้วไม่ลุก นอนต่อแล้วก็นอนเรื่อยไป นี่เกินแล้ว เกินความต้องการ สมมติว่าเรานอน ๓ ทุ่ม ราวตี ๔ มันตื่น หรือว่าตี ๓ ตื่นแล้ว แปลว่า ร่างกายมันอิ่มด้วยการนอนแล้ว มันก็ตื่น ตื่นให้ลุกขึ้นเลย ลุกขึ้นทำความเพียรต่อไป อ่านหนังสือก็ได้  ไม่อ่านหนังสือก็เดินจงกรม หรือก็นั่ง  นั่งตัวตรงหลังตรง  กำหนดดูอาการของจิต อือ   ตื่นขึ้นดึกๆ   เอ็งจะคิดอะไรบ้าง   ข้าจะดูเอ็ง คิดอะไรมั่ง บางทีก็คิดไปตามเรื่อง ฟุ้งไปคิดถึงนั่น คิดถึงนี่ เราก็ต้องบอก อือ นอกเรื่องแล้ว ออกไปนอกเขตกำแพงแล้ว ออกไปนอกขอบเขตของผ้าเหลืองแล้ว คอยดุมัน ไม่เอา อย่าไปคิดเรื่องนั้น  ให้คิดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เท่าที่เราจะพึงคิด

ถ้าไม่คิดอะไรก็ให้มันสงบๆ คอยกำหนดรู้ไว้ อาการกำหนดรู้คือการไม่คิด เพียงแต่รู้ไว้คุมมันไว้ตลอดเวลา  หัดคุมไว้   เดินก็ควบคุมได้    นั่งที่ไหนก็ควบคุมใจได้  นั่งรถไป เราก็นั่งควบคุมใจ นั่งเฉยๆ ตาดูอะไรก็ดูไปตามเรื่อง สักแต่ว่าดู ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน อย่าให้มันก่อเรื่องสร้างอะไรขึ้นในใจของเรา เราคอยคุมความคิดของเราไว้ อย่างนี้ เรียกว่าประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่หลับใหล ไม่มัวเมา  ถ้าทำอย่างนี้มากๆ จิตมันก็ก้าวหน้า เพราะเราคอยบังคับมันไว้ คอยตรวจมันไว้ มันก็ก้าวหน้า เพราะคอยบังคับมันไว้ คอยตรวจมันไว้ มันก็ก้าวหน้า ไปในทางที่ดี

  ถ้าไม่ควบคุมอย่างนั้น เราคิดตีปัญหาธรรมะก็ได้ เอาหนังสือสวดมนต์แปลมานั่งดู ว่าอย่างนี้ หมายความว่าอย่างไร คิดแล้วจะเอาใช้ได้อย่างไรบ้าง ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรในข้อนี้ เอามาคิดนึกตรึกตรองในปัญหานั้นๆ เหมือนกับว่า เจริญวิปัสสนา แต่ว่านี่คิดค้นในเรื่องธรรมะ  หรือว่าคิดค้นในเรื่องธรรมะต่างๆ หรือคิดค้นในเรื่องตัวเรา แยกแยะตัวเราให้เห็นในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้ เรียกว่า เป็นการพิจารณา เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสร้ายมันเกิดขึ้นในใจ นี่ก็ได้

   ทีนี้   ถ้าว่าเราเป็นคนมีภาระ   มีหน้าที่การงานจะต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวันอยู่ ตอนนอนก็นอนมันเสีย อย่าไปกังวลมัน อย่าไปกังวลเอามือก่ายหน้าผาก คิดแล้วทีนี้ มันไม่ได้เรื่อง  เราต้องรู้จักแบ่งเวลา เวลานอนก็ต้องนอน เรื่องคิด เอาไว้คิดเวลาตื่น  คนเราที่เป็นโรคประสาทนี่ก็เพราะเรื่องนี้ เวลานอนก็อุตส่าห์ไปคิด มันเรื่องอะไร คิดให้นอนไม่หลับ มันเรื่องอะไร เมื่อจะนอนแล้วก็ทำใจให้มันว่างจากอะไร ปิดหมด ปิดประตูฉันจะนอน ประตูใจ ไม่ใช่ประตูบ้าน ประตูบ้านก็ต้องปิดเหมือนกัน ขโมยมันจะเข้า แล้วเราก็นอนหลับ ทำใจให้ว่าง หายใจตามปกติ คอยกำหนดว่าหลับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วมันก็หลับไป
ตื่นขึ้นพอร่างกายนอนเต็มตื่น เราก็ตื่น ยกปัญหาขึ้นมานั่งคิดวางแผน มันเงียบดี คนอื่นเขาไม่ตื่น เราตื่นคนเดียว วางแผนพรุ่งนี้จะทำอะไร ทำอย่างไร วางแผนที่จะทำงานต่อไป วางแผนว่าจะทำอะไร เขียนเป็นตารางไว้เลยว่าจะทำอะไรวันพรุ่งนี้ แล้วก็คิดว่า ควรจะทำในรูปใดมันจึงจะสำเร็จได้ประโยชน์ตามที่เราต้องการ วางโครง วางเรื่อง เอามาพิจารณาทบทวนมันจะดีไหม มีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้างไหม ทำอย่างนี้ วางแผนเรียบร้อย ตื่นเช้าไปทำงานตามหน้าที่ ทำไปด้วยใจสงบ ใจเยือกเย็น ไม่มีปัญหา

   คนที่มันมีปัญหา มันมีเรื่องเดียว “เรื่องเห็นแก่ตัว” ไม่ใช่เรื่องอะไรดอก ทำอะไรก็เห็นแก่ตัว มันก็มีปัญหา ปัญหาว่าจะได้สักเท่าไร จะได้เร็วหรือจะได้ช้า ในกรณีนี้มีปัญหาแล้ว พอเห็นแก่ตัวก็มีปัญหา  ถ้าลำพังงานมันไม่มีอะไร   อย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องให้มันมาก  เอาแต่สติปัญญา ความสามารถเข้าไปใช้ในงานแล้ว  เราก็ทำด้วยใจสบาย  เสร็จงานแล้วก็หมดเรื่อง มานอนได้ กลับบ้านได้  มีอะไรก็คิดตอนใกล้รุ่ง  ฝากไว้นั่น  ไว้ทีหลัง   ถ้าทำอย่างนี้แล้วก็จะสะดวกในการดำเนินชีวิต   จิตใจปกติ  ร่างกายปกติ การงานก้าวหน้าเรียบร้อย ไม่มีอะไรยุ่งยาก มันอยู่ที่การทำใจ

   ที่เราบวชเข้ามา ก็เพื่อมาฝึกเรื่องนี้ด้วย เรื่องให้รู้จักควบคุมตัวเองทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ ควบคุมร่างกายให้มีปกติ แล้วก็ควบคุมจิตใจให้เป็นปกติ ควบคุมความคิดให้อยู่ในแนวที่ถูกที่ชอบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครๆ แล้วเราไปสู่สนามรบ ฝึกหัดแล้วเราไปอยู่ในสนามรบ มันก็ต้องสู้ต่อไป เราพอมีกำลังภายในพอสมควรที่เราสะสมไว้เอาไปสู้ ถ้ามีข้าศึกแปลกๆมา เราก็ต้องมาสงบใจเสียหน่อย วันอาทิตย์กลับมาสงบใจ มีปัญหามีอะไรๆ มาคิดแก้กันใหม่ มานั่งเงียบๆ คิดแก้ปัญหาต่อไป

บัณฑิตเนห์รู   เวลาแกยุ่งมากๆ   แกหนีขึ้นภูเขา   แกไปแคชเมียร์  มิสซูเรีย แกไปนั่งมองยอดจากขุนเขาหิมาลัย ดูหิมะ นั่งคนเดียวไม่ยุ่งกับใคร นั่งเงียบๆ ๗ วัน แล้วก็ลงมา พอลงจากภูเขาแล้ว มีเรื่องแล้ว มีงานแล้ว ที่จะต้องทำกันแล้วละ ไปวางแผนไปอยู่ที่เงียบๆ  คนอินเดียนี่เขารู้จักพักผ่อนใจ เขาเป็นนักศาสนา นักธรรมะ เขารู้จักพักผ่อนใจ รู้จักทำความสงบใจ เพราะฉะนั้น งานการของเขามันก้าวหน้า แล้วก็ดีอีกอย่างคือไม่เสพของเสพติดของมึนเมา คนของเขาเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น งานเขาเรียบร้อย เราก็ควรจะดำเนินชีวิตแบบนั้น

   ควรเอาหลักนี้ไปใช้ คือ สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในอาหาร ทำความเพียรเพื่อขูดเกลาสิ่งชั่วร้ายอันมีอยู่ในใจให้หมดไป ชีวิตจะเรียบร้อยก้าวหน้าเป็นไปด้วยดี.
 




Create Date : 02 พฤษภาคม 2565
Last Update : 2 พฤษภาคม 2565 19:00:51 น. 0 comments
Counter : 280 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space